วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
ใช้การบริหารงานวงจรคุณภาพ PDCA
P(Plan) การวางแผน
- ศึกษามาตรฐานการศึกษาของชาติ
- ศึกษานโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
- ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณภาพการศึกษา
- สร้างจิตสำนึกและค่านิยมแก่บุคลากร
- กำหนดวิสัยทัศน์
- จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
D(Do) ดำเนินตามแผน
- บริหาร จัดการ ส่งเสริม สนับสนุน
- กำกับ ดูแล
- ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในการจัดการเรียนการสอน และรับผิดชอบ
แผนงาน/โครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
C(Check) ตรวจสอบ
- ก่อนดำเนินการ
- ระหว่างดำเนินการ
- สิ้นสุดโครงการ
- เครื่องมือในการตรวจสอบ
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การเขียนรายงานการประเมินตนเอง
A(Action)
- นำผลการไปใช้ในการวางแผนกำหนดเป้าหมายในปีต่อไป
- ปรับปรุงพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จ
บทบาทของบุคลากรในสถานศึกษา
1. เตรียมการ
- ศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง
- ทำความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
- ศึกษาการดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
- ร่วมกับผู้บริหารวางแผนจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ

- ข้อมูลนักเรียน
- ข้อมูลผู้ปกครอง
- แหล่งเรียนรู้
2. ดำเนินการ
2.1 การวางแผน
- ร่วมกับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- กำหนดภารกิจ กิจกรรม โครงการ
2.2 การปฏิบัติตามแผน
- ดำเนินการตามแผน
- ประสานความร่วมมือ
- จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวย
- กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ขอองนักเรียนในห้องเรียน นอกห้องเรียน
2.3 ตรวจสอบและประเมินผล
- ดำเนินการประเมินตนเอง
- เครื่องมือการประเมินตนเอง
- วิเคราะห์ข้อมูล
- ประเมินผล
- เขียนรายงานการประเมินตนเอง
2.4 การปรับปรุงและพัฒนา
- นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง
- วางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป
บทบาทของชุมชน
- ร่วมกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์
- สนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- แหล่งเรียนรู้
- ทรัพยากร
- บุคลากร
- รับทราบรายงานการประเมินตนเอง
- มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
บทบาทของผู้ปกครอง
- ร่วมกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์
- ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน
- ดำเนินกิจกรรมตามแผน
- รับทราบรายงานการประเมินตนเอง
- ข้อมูลย้อนกลับการจัดการเรียนการสอน และคุณภาพนักเรียน
http://www.thai-school.net/view_da.php?ID=46
ประกันคุณภาพคืออะไร

ประกันคุณภาพ คือ การวางแผนและการปฏิบัติของหน่วยผลิตที่มุ่งจะผลิตสิ่งที่มีคุณภาพ

ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ผลผลิต ดังนั้น การประกันคุณภาพทางการศึกษาจึงเป็นกระบวน

การวางแผน และ กระบวนการจัดการของผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคม

เชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร

และตรงกับความมุ่งหวังของสังคม

®ทำไมต้องประกันคุณภาพการศึกษา

เป็นความคิดที่ตรงกับ คำว่า รับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) ที่สังคมมีสิทธิจะ

เรียกร้องให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาได้เพียรพยายามจะให้การศึกษา

พัฒนาบุตรหลานของเขาอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด เพื่อให้บุตรหลานของเขามีความรู้

ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล

สนองความสนใจ ความต้องการและความถนัดที่แตกต่างกัน และข้อสำคัญทุกคนมีคุณสมบัติ

ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไปนี้ไม่ว่า

ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนไหน เขาทวงสิทธิว่าบุตรหลานของเขาจะต้องได้

รับการศึกษาที่มีมาตรฐานคุณภาพสูงเท่ากับการวิ่งเต้นไปฝากบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนดังๆ

ระบบประภันคุณภาพจะยอมไม่ได้ ถ้าบุตรหลานของเขาเสียเวลามารับการศึกษาครบเวลาแล้ว

ไม่มีคุณภาพ

®ใครเป็นผู้ประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตจากโรงงาน จะประกันโดยคณะบุคคลผู้บริหารจัดการโรงงาน

และหุ้นส่วนฉันใด คุณภาพของการจัดการศึกษาจะประกันโดยสถานศึกษาและหุ้นส่วน ผู้ประกัน

โดยตรง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู บุคลากรในสถานศึกษา หุ้นส่วนที่ร่วมรับผิดชอบ

คือ คณะกรรมการโรงเรียนที่มีผู้แทนชุมชนและผู้ปกครองเป็นหลัก รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระดับอำเภอ จังหวัด เขต กรมเจ้าสังกัด และกระทรวง

® ใครเป็นฝ่ายทวงสิทธิ์การประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้ทวงสิทธิ์ของคุณภาพสินค้า คือ ผู้บริโภค ผู้ทวงสิทธิ์ของการประกันคุณภาพการศึกษา

เรียงตามลำดับ คือ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมประเทศชาติ นั่นคือทุกคนที่ได้รับ

ผลกระทบจากคุณภาพของนักเรียนที่จบจากสถานศึกษา

® โรงเรียนที่มีระบบประกันคุณภาพต่างกับโรงเรียนที่ไม่มี



ประกันคุณภาพ
ไม่ประกันคุณภาพ



1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้านสูง

ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ


1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แน่นอน สูงต่ำ

ผันแปรตามปัจจัยต่างๆ



2. นักเรียนทุกคนได้มาตรฐาน-สม่ำเสมอ




2. นักเรียนบางคนได้มาตรฐานในบางด้าน

ผันแปรไม่แน่นอน



3. นักเรียนและผู้ปกครองรู้ล่วงหน้าว่าจะได้

รับผลอะไรจากการเรียนในสถานศึกษา

และเป็นผลที่ตรงกับความต้องการ


3. ไม่รู้ล่วงหน้าชัดเจน แต่คาดการณ์ได้

จากลักษณะของโรงเรียน และจากศิษย์เก่า

ที่ไปศึกษาต่อหรือทำงาน



4. ผู้ปกครอง ชุมชน ครู หน่วยจัดการศึกษาในท้องถิ่น

มีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพที่ผสม

กลมกลืนระหว่างมาตรฐานสากล มาตรฐานชาติ

และมาตรฐานท้องถิ่น
4. ครูสอนตามหนังสือมากกว่าการคิดถึงมาตรฐาน

คุณภาพ

5. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำการจัดการเพื่อ

ควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยผนึกกำลัง

กับครู คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง

ชุมชน วางแผนการยกระดับคุณภาพการ

จัดการเรียนการสอน เพื่อให้บังเกิดผลที่

เด็กนักเรียนตามมาตรฐาน มีการตรวจสอบ

ยอมรับในแผนดำเนินงานของโรงเรียน
5. ส่วนใหญ่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของ

ผู้บริหาร และครูบางคนที่จะจัดการเรียน

การสอนอย่างมีคุณภาพบ้าง มักไม่

สามารถแสดงแผนการบริหารการจัดการ

และแผนการจัดการเรียนการสอนที่ได้

มาตรฐานครบถ้วนทั่วถึง ชุมชนไม่มีส่วน

ร่วมทั้งการวางแผน และการตรวจสอบ

เห็นชอบกับแผน

6. ครูได้รับการพัฒนาและจูงใจให้วางแผน

จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลาง เน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้

นำไปสู่การบรรลุมาตรฐานคุณภาพการ

เรียนรู้อย่างครบถ้วน ให้ผู้เรียนทุกคนเรียน

เต็มศักยภาพ ผู้บริหารและคณะกรรมการ

โรงเรียนติดตามตรวจสอบการเรียนการสอน

และช่วยให้มีคุณภาพอย่างเป็นระเบียบระบบ
6. ผู้บริหารและครูไม่สนใจ การวางแผน

การสอน มักสอนโดยยึดเนื้อหา และ

หนังสือเรียน ครูเป็นศูนย์กลาง ครู

บางส่วนมีความสามารถเฉพาะตัวช่วย

ผู้เรียนบางส่วนที่มีความพร้อมมากให้

บรรลุมาตรฐาน คุณภาพ การกำกับ

ติดตาม ตรวจสอบ ไม่ชัดเจน ผู้เรียน

แต่ละบุคคลไม่ได้รับการส่งเสริมให้

เรียนรู้เต็มศักยภาพ ไม่มั่นใจว่าผู้เรียน

ทุกคนจะบรรลุมาตรฐานคุณภาพ

7. มีระบบการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง

มุ่งตรงต่อการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ และ

บันทึกลงแฟ้มผลงานที่ผู้บริหารและครู

ตรวจสอบผลการเรียนและบันทึกผล นำผล

มาใช้เพื่อการพัฒนาและรายงานสู่ชุมชน

สม่ำเสมอว่าจัดการเรียนการสอน ทำให้

บังเกิดผลตามเป้าหมายคุณภาพการเรียนรู้

ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ดีเพียงใด
7. มีการวัดผลประเมินผลตามระเบียบ ไม่ได้

มุ่งตรงต่อมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้

ไม่มีการเอาใจใส่กำกับพิจารณาผลการ

เรียนรู้ของผู้เรียน มักปล่อยปละละเลยใน

คุณภาพการเรียนการสอน เมื่อประเมินผล

ปลายภาคเรียนจึงไม่เห็นผลสำเร็จใน

คุณภาพการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่ต้องการ

ได้ทั่วถึงผู้เรียนทุกคน

8. มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก เช่น

คณะกรรมการโรงเรียน หรือหน่วยงานใน

อำเภอ จังหวัด เพื่อกำกับการวางแผนการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น