วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

การบริหารแบบคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
(Total Quality Management TQM)
ความหมาย
การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คือ แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย
ความเป็นมาของ TQM
TQM เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำทางด้านการผลิตอุตสาหกรรม และสินค้าของสหรัฐเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐจึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ในด้านการผลิต โดยไม่รู้ตัวว่าคุณภาพของสินค้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม
ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง
Dr.Deming ได้ริเริ่มวงจรเดมมิ่ง “Deming Cycle” เพื่อแสดงถึงหลักการทำงาน Plan – Do – Check – Action เพื่อการบริหารที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีจะต้องมีการวางแผน หรือพัฒนาเป้าหมายสำหรับแผนงานและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามแผน หลังจากนั้นแผนต้องถูกนำไปปฏิบัติผล การปฏิบัติจะต้องถูกตรวจสอบหรือทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด และในที่สุดผู้บริหารจะต้องพิจารณาดำเนินการหรือตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไป
วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
• เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
• เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
• เพื่อความอยู่รอกขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
• เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
• เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
• เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้อดีของการบริหารคุณภาพโดยรวม TQM
1 มีระบบทำงานที่ดี
2 มี “มาตรฐานการทำงาน” ที่สามารถตรวจสอบได้
3 ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้า
4 ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง
5 มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงาน
6 มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Top-Down and Buttom-Up)
7 มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจน
8 มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
9 ทุกคนทำงานโดยใช้ PDCA อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง
แนวคิด (Concept ) ของการบริหาร TQM
1 เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
2 ลูกค้าคือหน่วยงานที่ถัดไป (ทั้งภายในและภายนอก)
3 เชื่อมั่นในคุณค่าของคน (บริหารแบบมีส่วนร่วม)
4 P D C A พื้นฐานการบริหารงาน
5 ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจมากกว่าความรู้สึก (SQC)
6 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (CQI / Kaizen)
ข้อเสียของ TQM
• การที่พนักงานบางคนหรือบางกลุ่มอาจจะบกพร่องหรือขาดในเรื่องวินัยเกี่ยวกับคุณภาพ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ยอมมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ
• ความไม่พร้อมต่อการบริหารระบบ ดังเช่น ภายในองค์กรขนาดใหญ่ การพัฒนาระบบ TQM จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสนับสนุนและติดตามความก้าวหน้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การเน้นเฉพาะส่วนของกรมวิธีและข้อมูลทางสถิติมากเกินไป
ข้อจำกัดสำหรับ TQM
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1

• TQM มีคำจำกัดความหรือมีความหมายมากมายตามความคิดเห็นและประสบการณ์ของปรมาจารย์แต่ละท่าน
• ไม่มีคำจำกัดความที่ดีที่สุดเพียงคำจำกัดความเดียว
• ไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว
• แม้คำจำกัดความหรือวิธีการจะแตกต่างกัน แต่ปรัชญาแนวความคิด หลักการสำคัญและวิธีการปฏิบัติจะคล้ายกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเหมือนกัน และให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตไปอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักคุณภาพ เป็นแกนหลักในการบริการการจัดการ
โครงสร้างของ TQM ตามทัศนะของ Dr.Kano (Kano House of Quality)
1. ฐานราก
- เทคโนโลยีของธุรกิจ
- มูลเหตุจูงใจที่ชัดเจน
2 โครงสร้างบ้าน
- วิธีการบริหาร
- แนวคิด
- วิธีการและเทคนิค
3 หลังคาบ้าน
- การประกันคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
6. เทคนิคที่ใช้ใน TQM
1 7 tools
2 SPC
3 JIT
4 TPM
5 QCC
ประโยชน์ที่จะได้รับจาก TQM
1. ช่วยให้ผู้บริการและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริง
2. ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน
3. พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
4. พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ
5. มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์กร ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

http://www.pantown.com/board.php?id=17667&area=3&name=board1&topic=23&action=view

ที่มาที่ไปของ TQM

องค์การถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้วัตถุประสงค์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ต้องการกำไรสูงสุด (Maximize Profit) แต่หากมองเพียงแค่นี้บางครั้งองค์การเองก็ตกม้าตายได้ การมองภาพผลลัพธ์สุดท้าย (Outcome) จึงน่าจะเป็นประเด็นที่ผู้บริหารองค์การต้องมองให้ทะลุมากกว่า เช่น
- การมีสินค้าที่มีคุณภาพพูดกันติดปาก
- ชื่อเสียงบริษัท
- การเป็นมิตรกับสังคม
และการได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะทำการบริหารการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพ ต้นทุนของสินค้าต่ำ หรือบริการดี และราคาขายของสินค้าหรือบริการนั้นๆเหมาะสม ผลประโยชน์ที่ให้กับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ

การได้มาของสินค้าหรือบริการจำต้องมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากความต้องการของผู้ซื้อ โดยอาศัยกระบวนการภายในขององค์การ เช่นเปลี่ยนความต้องการของผู้ซื้อให้รู้ว่าต้องใช้วัตถุดิบอะไร ใช้เครื่องจักรแบบไหน ใช้แรงงานมากน้อยแค่ไหน ใช้พลังงานเท่าไหร่ ใช้กระบวนการผลิตอย่างไร เพื่อให้ได้สินค้า หรือบริการที่เป็นที่พึงพอใจของผู้ซื้อ

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป การผลิตสินค้าที่มีรูปแบบเดิมๆ คือผลิตเท่าที่มีความสามารถ (Product- Out) ก็เริ่มกลายเป็นผลิตตามคำสั่ง (Market-in) องค์การเองจำต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การบริหารของผู้บริหารในองค์การก็มีความยากลำบากมากขึ้น แนวทางการบริหารที่ออกคำสั่งแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำพาองค์การฝ่ามรสุมทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้

องค์การจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทุกๆคน ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามลำดับชั้นการบริหาร นั่นคือองค์การจำต้องหาเครื่องมือทางการบริหารแบบใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับ

นิยาม

TQM เป็นรูปแบบการบริหาร (Management Model) รูปแบบหนึ่งในหลายๆรูปแบบ โดยมีปรัชญาว่า “หากองค์การสามารถผลิตสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าที่พึงพอใจได้แล้ว ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการ” แต่แนวคิดนี้จะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกระดับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน

ดร.โนริอากิ คาโน่ ได้สร้างโมเดลจำจองการบริหารออกมาเป็นรูปบ้าน เพื่อสรุปแนวคิดการบริหาร โดยอาศัย
- ช่องทางการบริหารนโยบายผ่านผู้บริหารระดับสูง
- ช่องทางการบริหารงานประจำวันผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้น
- ช่องทางการบริหารงานข้ามสายงานผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้น และซุปเปอร์ไวซ์เซอร์
- ช่องทางการแก้ไขปัญหาผ่านผู้บริหารระดับต้น/ซุปเปอร์ไวเซอร์/หัวหน้างาน
- และช่องทางกิจกรรมล่างสู่บนผ่านพนักงานหน้างาน

ทั้งนี้พนักงานทุกระดับต้องมีแนวคิดต่างๆเช่น การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ การยึดว่ากระบวนการถัดไปเป็นลูกค้าของเรา การใช้วงจรการบริหาร P-D-C-A คุณภาพสร้างได้ที่กระบวนการ การใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง การจัดลำดับความสำคัญ การบริหารกระบวนการ การกำหนดมาตรฐาน และการป้องกันปัญหาเกิดซ้ำ อีกทั้งใช้เครื่องมือช่วยต่างๆเช่น QC 7 Tools , New QC 7 Tools, วิธีทางสถิติ ตลอดจนเครื่องมือต่างที่จะหยิบมาใช้เมื่อมีความจำเป็นและเหมาะสม

http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=137eee2daccae912373b1d2bbcea40ac&bookID=93&read=true&count=true
การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร(TQM) กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาที่ มีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้สถานศึกษาทุกแห่งจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพการศึกษา ดังนั้นในบทความนี้จึง

มุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไปมุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไป
คุณภาพการศึกษาคืออะไร

มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามนิยามความหมายของคำว่า “คุณภาพการศึกษา” ไว้ ดังเช่น Baumgart (1987 : 81 - 85) ได้กล่าวถึงความหมายของคุณภาพการศึกษาว่าขึ้นอยู่กับมุมมองในการให้คำนิยาม หากเป็นมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ก็จะต้องมองว่าคือ ผลผลิตบัณฑิตที่ จบการศึกษาออกไปเป็นความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด หากไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก็นับว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งถือว่ามีคุณภาพต่ำ ส่วนมุมมองทางด้านสังคมวิทยาจะพิจารณาว่าสถาบันการศึกษาได้ตอบสนองให้กับสังคมได้ดีเพียงใด สถาบันที่ มีชื่อเสียงจึงเป็นสถาบันที่ มีคุณภาพ สำหรับในมุมมองของนักการศึกษาจะพิจารณาจากความสามารถของผู้จบการศึกษาในการแก้ปัญหา และการวิเคราะห์วิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่ มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ Whatmough (1994 : 94 - 95) ที่ กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาเป็นการพิจารณาคุณภาพจากทัศนะของบุคคล2 กลุ่ม นั่นคือ ผู้มารับบริการ และนักการศึกษา หากการจัดการของสถานศึกษาสามารถทำให้ผู้มารับบริการเกิดความพึงพอใจ ก็หมายความว่ามีคุณภาพตามทัศนะที่ หนึ่ง นอกจากนั้นการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการ และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาอีกด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจตามทัศนะของนักการศึกษา

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจนั่นเอง



คำสำคัญ: นวัตกรรมการบริหาร
สร้างเมื่อ: 2009-02-09 19:50:17 แก้ไขเมื่อ: 2009-02-09 19:50:17

http://portal.in.th/inno-arun/pages/1055/การบริหารการศึกษาแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร (TQM in Education)
TQM คือ ระบบการบริหารจัดการองค์การที่ เน้นคุณภาพในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ กิจกรรมขององค์การ โดยบุคลากรทุกคนในองค์การให้ความร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง


การจัดการคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า “การจัดการ” และคำว่า “คุณภาพการศึกษา” ดังนั้นการจัดการคุณภาพการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทุกคนที่ เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาซึ่งเป็นที่ เชื่อมั่นหรือเป็นที่ พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย


การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร(TQM) กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษาพิจารณาได้จากสิ่งใด
การจัดการคุณภาพการศึกษา คืออะไร
วิธีการที่ สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการศึกษา http://portal.in.th/inno-arun/pages/1054/
TQM คืออะไร
คำสำคัญ: นวัตกรรมการบริหาร
สร้างเมื่อ: 2009-02-09 19:45:13 แก้ไขเมื่อ: 2009-02-09 19:45:13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น