วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการใช้ผังความคิดเพื่อพิชิต A


แผนที่ความคิด(MIND MAP)

Mind Map คือ อะไร
Mind Map หรือ แผนที่ความคิด เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้าง และที่ชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆทั้งสิ้น เป็นการเขียนตามความคิด ที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเขียนมีลักษณะเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้าน สาขาออกไปเรื่อยๆ ทำให้สมองได้คิดได้ทำงานตามธรรมชาติอย่างและมีการจินตนาการกว้างไกล
แผนที่ความคิด ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกความคิดของการอภิปรายกลุ่ม หรือการระดมความคิด โดยให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็น และวิทยากรจะทำการ จดบันทึกด้วยคำสั้นๆ คำโตๆ ให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเข้าหากิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรวบรวมความคิดที่หลากหลายของทุกคน ไว้ในแผ่นกระดาษแผ่นเดียว ทำให้ทุกคนได้เห็นภาพความคิดของผู้อื่นได้ชัดเจน และเกิดความคิดใหม่ต่อไปได้

ความเป็นมาของ Mind Map
แผนที่ความคิด เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุด นาย ธัญญา ผลอนันต์ เป็นผู้นำความคิดและวิธีการเขียนแผนที่ความคิดเข้ามาใช้ และเผยแพร่ในประเทศไทย ผู้คิดริเริ่มคือโทนี บูซาน (Tony Buzan) เป็นชาวอังกฤษ เป็นผู้นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้เพื่อการเรียนรู้ของเขา โดยพัฒนาการจากการจดบันทึกแบบเดิมที่ เป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด ๆ เป็นแถว ๆ ใช้ปากกาหรือดินสอในการจดบันทึก เปลี่ยนมาเป็นบันทึกด้วยคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่รัศมี ออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของ กิ่งไม้ โดยใช้สีสัน การเขียนแผนที่ความคิดของโทนี บูซาน เป็นการบันทึกในทุกๆเรื่อง ทั้ง ชีวิตจริงส่วนตัวและการงาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การช่วยจำ การแก้ปัญหา การ นำเสนอ และการเขียนหนังสือ เป็นต้น การบันทึกแบบนี้เป็นการใช้ทักษะการทำงานร่วมกัน ของสมองทั้งสองซีก คือ ซีกซ้าย วิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับ ความเป็นเหตุ เป็นผล ส่วนสมองซีกขวา จะทำหน้าที่สังเคราะห์คิด สร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีแถบเส้นประสาทคอร์ปัสคอโลซั่มเป็นเสมือนสะพานเชื่อม

หลักการเขียน Mind Map
การเขียน Mind Map ใช้กระดาษแผ่นเดียว การเขียนใช้สีสันหลากหลาย ใช้โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง ใช้เส้นโยง มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมอง


วิธีการเขียน Mind Map
1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี
ความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อม
กรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน

ข้อดีของการทำแผนที่ความคิด
1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

สรุป Mind Map เป็นแผนที่ความคิดที่อัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่ การจดจำ การเรียบเรียง การจัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติ การทำงานของสมองตั้งแต่ต้น นั่นหมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ในภายหลัง จะทำได้ง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม





Mind Map การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map)

การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map)
(เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้จัดระเบียบความคิด จำได้ทนนานนักแล....)
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map)
ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป
การสร้างแผนที่ความคิด
ขั้นตอนการสร้าง Mind Map

1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ
เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น
กฏการสร้าง Mind Map
1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถ ประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น
6. ใช้สีทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
วิธีการเขียน
Mind Map โดยละเอียดอีกวิธีหนึ่ง

1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้นซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
การนำไปใช้
1. ใช้ระดมพลังสมอง
2. ใช้นำเสนอข้อมูล
3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
แผนที่ความคิด(mind maps) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราคิดและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ข้อความที่จะอ่านต่อไปนี้จะอธิบายให้เรารู้ว่า เราจะทำแผนที่ความคิดได้อย่างไร และในแต่ละส่วนที่นำเสนอในที่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการศึกษา, ในการเรียนรู้, ในการเขียนบทความ, ในการอ่าน, ในการฟังบรรยาย, ในการสัมมนา, และการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งหากได้มีการฝึกฝนจนชำนาญแล้ว เราจะพบว่า การทำแผนที่ความคิดจะเป็นประโยชน์แก่เรามาก
How to do Mind Map : จะเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิดอย่างไร
แผนที่ความคิด(Mind Mapping or Concept Mapping) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจดบันทึกแก่นของไอเดียและความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงไอเดียหรือความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งไอเดียหลักขึ้นมาที่กลางหน้ากระดาษ(แนวนอน-landscape)ก่อน แล้วบันทึกไอเดียต่างๆกระจายออกเป็นกิ่งๆ รายรอบออกจากศูนย์กลางของไอเดียหลักที่กลางหน้ากระดาษนั้น
ดังนั้น กฎข้อแรกก็คือ การโฟกัสลงไปที่ไอเดียต่างๆที่เป็นกุญแจสำคัญ โดยการจดลงไปที่กลางหน้ากระดาษด้วยคำพูดของเราเอง, และต่อจากนั้นก็ขยายกิ่งก้านสาขาออกไป โดยแต่ละกิ่งก็มีไอเดียของกิ่งนั้น หลังจากที่ได้ทำเช่นนี้ไปจนมากพอแล้วในขั้นต้น จากนั้นก็ตรวจตราดูไอเดียต่างๆที่สัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงไอเดียของแต่ละกิ่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน. การกระทำเช่นนี้ เรากำลังวาดแผนที่ความรู้(ความคิด, ไอเดีย)ในลักษณะที่จะช่วยให้เราเข้าใจและโยงประเด็นสำคัญ รวมถึงจดจำข้อมูลใหม่ๆได้ (ดูภาพประกอบ 1)
ก่อนที่เราจะเข้าไปลึกมากกว่านี้ เพื่อป้องกันความสับสน จึงขอให้ภาพทั้งหมดของเอกสารหรือบทความฉบับนี้ทั้งหมดก่อน เพื่อทำความเข้าใจและเห็นภาพกว้างโดยรวมทั้งหมด
1. การเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิด
1.1 Look for relationships (การค้นหาความสัมพันธ์)
1.2 Draw quickly on unlined paper without pausing, judging or editing (เขียนอย่างรวดเร็วลงบนกระดาษโดยไม่หยุดหรือสะดุด, โดยไม่ต้องมีการตัดสินใจ หรือเรียบเรียง)
1.3 Use Capitals (ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หรือตัวหนากว่าปกติ)
1.4 Put Main idea in the center (วางไอเดียหลักเอาไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ)
1.5 Leave lots of space (ปล่อยเนื้อที่ว่างกระดาษเอาไว้มากๆ)
2. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแผนที่ความคิดในด้านต่างๆ
2.1 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการเตรียมเขียนบทความหรือความเรียงต่างๆ(Essay Preparation)
2.2 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ (understand your reading)
2.3 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้ในบันทึกคำบรรยาย, การสัมมนา, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนการสอน (Lectures, Seminars, Workshops and Tutorials)
3. Brainstorming : ปฏิบัติการพายุสมอง
4. Mind Mapping (2) : แผนที่ความคิด
4.1 What is a mind map ? (แผนที่ความคิดคืออะไร?)
4.2 What can you do with a mind map (เราจะทำแผนที่ความคิดขึ้นมาได้อย่างไร?)
4.3 Creative Writing & Report Writing (การนำแผนที่ความคิดไปใช้ในการเขียนรายงาน และข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์)
4.4 Studying the easy way (การศึกษาด้วยหนทางง่าย - ช่วยในการอ่านเรื่องยากๆ)
4.5 Studying as a group (การศึกษาในลักษณะกลุ่ม)
4.6 Meeting & Think Tanks (การพบปะกันเพื่อระดมความคิด และ การสร้างถังความคิด)
4.7 Giving a Talk (การเตรียมพูด)
4.8 Some model of mind maps (ตัวอย่างบางอันเกี่ยวกับ แผนที่ความคิด)
เริ่มเรื่อง
1. การเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิดนั้น อาจเริ่มด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1.1 Look for relationships (การค้นหาความสัมพันธ์)
การเริ่มต้นทำแผนที่ความคิด เราควรจะต้องเตรียมกระดาษขึ้นมา 1 แผ่น โดยเขียนตามแนวนอนของหน้ากระดาษ(landscape) นอกจากนี้ ควรมีดินสอสี(หรือปากกาเมจิก)หลายๆสี เพื่อสะดวกต่อการสังเกตไอเดียต่างๆ ที่เราใช้ดินสอสีแต่ละสีบันทึกไอเดียแต่ละไอเดียของเราลงไป (ทั้งนี้เพื่อให้เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนและโดยทันทีถึงความสัมพันธ์กันของไอเดีย และเพื่อลากเส้นเชื่อมที่โยงกับไอเดียที่สัมพันธ์กัน ภายหลังจากที่เราได้จดบันทึกความคิดลงไปจนเกือบเต็มหน้ากระดาษแล้ว)
ใช้เส้น, สี, ลูกศร, กิ่งก้านที่แผ่ขยายออกไปจากศูนย์กลางไอเดีย หรือวิธีการอื่นๆ ที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไอเดียที่เกิดขึ้นมาบนแผนที่ความคิดของเรา. ความสัมพันธ์กันเหล่านี้จะมีความสำคัญต่อความเข้าใจข้อมูลใหม่ๆ หรือช่วยในการก่อรูปโครงสร้างแผนงานต่างๆขึ้นมา. ในการสร้างแผนที่ความคิด เราอาจใช้รูปประกอบที่เราเขียนขึ้นมาเองเป็นสัญลักษณ์ก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็น และสร้างความเชื่อโยงทางความหมายระหว่างไอเดียต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราได้ระลึกถึงมันและเข้าใจมัน
1.2 Draw quickly on unlined paper without pausing, judging or editing (เขียนอย่างรวดเร็วลงบนกระดาษโดยไม่หยุดหรือสะดุด, ไม่มีการตัดสินใจ หรือเรียบเรียง)
ในกระบวนการเกี่ยวกับการใช้ความคิดทั่วๆไป เรามักจะคิดถึงอะไรในลักษณะที่เรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(linear thinking) แต่การทำแผนที่ความคิดนั้น จะต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ และคิดในวิธีการที่ไม่ต้องเรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(non-linear manner) เราจะต้องปล่อยให้ไอเดียหรือความคิดพรั่งพรูออกมา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ามันแปลกประหลาด ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างอิสระโดยไม่ต้องมาคอยตรวจตราดูหรือเรียบเรียงมันแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะเรามีเวลามากมายเหลือเกินที่จะแก้ไขปรับปรุงข้อมูลต่างๆเหล่านี้ภายหลัง. แต่ ณ ขั้นตอนแรกนี้ มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะเก็บเอาความเป็นไปได้ทั้งหมด จดลงไปบนแผนที่ความคิด. ซึ่งบางครั้ง หนึ่งในความเป็นไปได้ที่คลุมเครือเหล่านั้น อาจกลายเป็นกุญแจสำคัญต่อความรู้ของเราเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ หรือการแก้ปัญหาที่มีอยู่
1.3 Use Capitals (ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หรือตัวหนากว่าปกติ)
สำหรับหัวข้อกลางหน้ากระดาษที่เราทำแผนที่ความคิด และไอเดียสำคัญ(key point)ของแต่ละกิ่งที่กระจายออกไปจากศูนย์กลางคล้ายรัศมีของดวงอาทิตย์ แต่ละกิ่งนี้ให้ใช้อักษรตัวหนา เพราะจะง่ายต่อการสังเกตภายหลัง. อย่างไรก็ตาม เราอาจจะต้องเขียนอะไรลงไปเพื่อเป็นการขยายความ มีบางคนที่กระทำเช่นนี้เมื่อเขาได้กลับมาดูแผนที่ความคิดของตนเองอีกครั้ง
1.4 Put Main idea in the center (วางไอเดียหลักเอาไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ)
คนส่วนใหญ่ จะวางกระดาษตามแนวนอน(landscape) ในการเขียนแผนที่ความคิด เพราะในเชิงจิตวิทยา กระดาษตามแนวนอนจะให้ความรู้สึกผ่อนคลายกว่าแนวตั้ง และไม่รู้สึกว่าถูกบีบด้วยความแคบของเนื้อที่กระดาษ. จากนั้นก็บันทึกไอเดียหลักหรือหัวข้อที่เราจะทำแผนที่ลงไปตรงกลางหน้ากระดาษ การทำเช่นนี้ จะช่วยให้เรามีพื้นที่ว่างมากมายอยู่รอบๆเพื่อจะขยายกิ่งก้านไอเดียที่เกิดจากศูนย์กลางต่อๆมาได้อย่างสะดวก แผ่ไปได้ทุกทิศทาง
1.5 Leave lots of space (ปล่อยเนื้อที่ว่างกระดาษเอาไว้มากๆ)
แผนที่ความคิดที่มีประโยชน์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการเพิ่มเติมไอเดียหรือความคิดลงไปภายหลังหลายๆครั้งในแต่ละโอกาส. หลังจากการเขียนแผนที่ความคิดขึ้นมาครั้งแรกแล้ว เราอาจต้องหวนกลังไปหามันอีก ทั้งนี้เพราะ เราเกิดความคิดเพิ่มเติมขึ้นมาโดยบังเอิญ หรือไปสะดุดอะไรเข้าแล้วนึกถึงมันขึ้นมาได้ เราจึงอยากจะไปเพิ่มเติมหรือขยายแผนที่. ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นความคิดที่ดีที่เราจะปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากๆ เพื่อสะดวกแก่การเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง
2. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแผนที่ความคิดในด้านต่างๆ
การทำแผนที่ความคิดนั้น สามารถทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายด้านด้วยกัน และนอกจากประโยชน์ที่จะอ่านต่อไปนี้แล้ว เราอาจนำไปประยุกต์กับการวางแผนกิจกรรมใดๆก็ตาม ที่เราคิดฝันจะทำได้ในทุกๆด้าน แต่สำหรับที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือตัวอย่างการนำเอาแผนที่ความคิดไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาเป็นหลัก
2.1 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการเตรียมบทความหรือความเรียงต่างๆ(Essay Preparation)
แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยเราได้ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นสำหรับการเตรียมเขียนบทความขึ้นมาเลยทีเดียว โดยการสรุปสิ่งที่เราวิจัยและเตรียมที่จะเสนอด้วยแผนที่ ทั้งนี้เพื่อให้เราเห็นภาพของแง่มุมต่างๆทั้งหมด และคำถามหรือปัญหาต่างๆ. ต่อจากนั้น เราก็สามารถที่จะเคลื่อนจากความคิดที่ไม่เป็นเส้นตรงในแผนที่(non-linear mind map)ไปสู่โครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น สำหรับการวางแผนการเขียนบทความหรืองานวิจัยของเรา
2.1.1 Housekeeping (บ้านวางแผน)
จะเป็นประโยชน์มากที่จะวาง"แผนที่ความคิด"ลงไปในส่วนนี้ด้วยรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น
-การประเมินถึงมาตรฐานและน้ำหนักของข้อมูลต่างๆ
- วันเวลาที่กำหนดนัด
- ตารางเวลา
- และความจำเป็นอื่นๆ ฯลฯ
2.1.2 Prior Knowledge (ความรู้ที่มีอยู่ก่อน)
เราควรจะวาง"แผนที่ความคิด"เกี่ยวกับสิ่งที่เรารู้แล้วทั้งหมดเกี่ยวกับคำถามหรือปัญหาในบทความลงในหน้ากระดาษก่อน. ความรู้อันนี้อาจมาจากประสบการณ์ส่วนตัว, การฟังบรรยาย, การอ่าน หรือจากต้นตออื่น. เราจะรู้สึกประหลาดใจเกี่ยวกับส่วนนี้ของแผนที่ความคิด ซึ่งมันได้แตกกิ่งก้านออกไปอย่างกว้างขวางมาก
2.1.3 Possible topics to be covered (หัวข้อต่างๆที่เป็นไปได้ที่จะครอบคลุม)
บทความส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดการกับหัวข้อต่างๆ ซึ่งหัวข้อเหล่านั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่หรือต้องแก้ไข. บันทึกหัวข้อความเป็นไปได้เหล่านี้ลงไปทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจไม่มีเวลาพอหรือเนื้อที่กระดาษมากพอที่จะตอบปัญหาหัวข้อเหล่านั้นได้ทั้งหมด ดังนั้นใส่มันลงไปก่อน และพยายามค้นหาความสัมพันธ์สอดคล้องกันของมัน และจากนั้น ค้นหาจุดเริ่มต้นที่พิเศษในการเปิดเรื่องเพื่อสร้างความสนใจ และเชื่อมโยงประเด็นต่างๆให้เข้ากัน


2.1.4 Areas to research (ขอบเขตพื้นที่ที่จะทำวิจัย)
ขอบเขตที่จะวิจัยอาจได้รับการนำเสนอขึ้นมาโดยหัวข้อที่เป็นไปได้ และจากตรงนี้ แผนที่ความคิดของเราจะนำเราไปยังต้นตอข้อมูลอันหลากหลายของความรู้ ซึ่งเราจะติดตามมันไปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์. บ่อยทีเดียว เราจะต้องเลือกพวกมันอย่างระมัดระวัง ซึ่งขอบเขตเหล่านั้นจะต้องมีผลดี และสอดคล้องกับการวิจัย
2.1.5 Alternative approaches (ทางเลือกใหม่ๆในการเข้าถึง)
หนึ่งในสิ่งที่มีพลังของ"แผนที่ความคิด"ก็คือ มันเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และบ่อยครั้ง มันเป็นการแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์สำหรับอุปสรรคต่างๆ. ให้เรามองหาหนทางเลือกต่างๆเสมอๆ และสำหรับในที่นี้ก็คือ มองหาทางเลือกของคำถามหรือปัญหาของความเรียงของเรา และเตรียมตัวเป็นนักวิจัยหรือนักเขียนเชิงวิพากษ์คนหนึ่ง ผู้ซึ่งกำลังตระเตรียมที่จะออกไปนอกขอบเขตความรู้ปกติ
2.2 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ (understand your reading)
แผนที่ความคิด สามารถช่วยให้เราเข้าใจและจดจำประเด็นสำคัญของการอ่านหนังสือของเราได้ และข้อแนะนำวิธีการ 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ในการสร้าง"แผนที่ความคิด"ขึ้นมา จะช่วยให้เราสรุปงานที่เรากำลังอ่านอยู่ได้ และเข้าใจความซับซ้อนเชื่อมโยงกันของมัน
2.2.1 Skim (กวาดตามอง)
แรกสุด ให้เราอ่านบทคัดย่อ, คำนำ, ข้อสรุป, หัวข้อสำคัญ หรือหัวข้อในแต่ละบทก่อน. จากนั้นให้เรากวาดดูหนังสือเล่มนั้น โดยสังเกตบรรดาภาพ, แผนผัง, หรือภาพประกอบในลักษณะอื่นๆ รวมไปถึงแผนภาพสถิติต่างๆ. การทำเช่นนี้ จะทำให้เราเห็นภาพรวมของสิ่งที่เราจะอ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น. ใส่มันลงไปในบริบท และการทำเช่นนั้นอาจให้ร่องรอยบางอย่างกับเราเกี่ยวกับว่า ตรงไหนบ้างที่ส่วนซึ่งมีความสัมพันธ์กัน หรือสอดคล้องกันตั้งอยู่
2.2.2 Read (อ่าน)
ให้นั่งอ่านบทความเรื่องหนึ่ง (หรืออ่านมันทุกส่วน/ทุกบท ถ้าหากว่ามันเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง) และลองตรวจดูส่วนต่างๆที่คุณไม่ค่อยแน่ใจมันเท่าไรนัก
2.2.3 Mind map (ทำแผนที่ความคิด)
มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำ แผนที่ความคิด จากความทรงจำ ณ ขั้นตอนนี้ โดยไม่ต้องปรึกษาหารือ หรือย้อนกลับไปดูต้นตอใดๆของข้อมูล
2.2.4 Study (ศึกษา)
แผนที่ความคิด ที่เราเพิ่งเขียนขึ้นมาจะมีค่าอย่างยิ่ง ดังที่มันจะแสดงให้เห็นทั้งขอบเขตความรู้ที่คุณเข้าใจ และสิ่งที่คุณยังไม่ค่อยแน่ใจ. ลองศึกษาแผนที่ความคิดของเราเพื่อค้นหาช่องว่างต่างๆในความรู้ และอ้างอิงกลับไปยังต้นตอเนื้อหา เพื่อเติมเต็มช่องต่างๆว่างเหล่านี้.
2.2.5 Personalize (ทำให้เป็นความรู้ส่วนตัวของเรา)
ใช้สีที่แตกต่างกันหรือสัญลักษณ์, เพิ่มเติมความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์รวมทั้งคำถามต่างๆของเราเองลงไปในแผนที่ความคิด. โยงคำถามหรือข้อสงสัยที่มีความสัมพันธ์กัน, ความเกี่ยวโยงกัน, ทางเลือกต่างๆ, ความมีประโยชน์, ความชัดเจนแจ่มแจ้ง, สำหรับประสบการณ์ส่วนตัว เราสามารถที่จะนำมาพิจารณาได้ทั้งหมด ณ ขั้นตอนนี้. ด้วยขั้นตอนการทำให้เป็นส่วนตัวของเรา แผนที่ความคิดของเราก็จะเริ่มช่วยเหลือเราได้จริงๆในการเรียนรู้. เคล็ดลับตอนนี้ จะต้องพูดถึงคำถามหรือข้อสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดที่เราได้ยกขึ้นมา และหวนกลับไปสู่แผนที่ความคิดความคิดของเราด้วยคำตอบต่างๆ
2.3 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้ในการฟังบรรยาย, สัมมนา, การประชุมปฏิบัติการ และการเรียนการสอน (Lectures, Seminars, Workshops and Tutorials)
คนหลายคนพบว่า มันเป็นประโยชน์ที่จะสร้างแผนที่ความคิดขึ้นมาสำหรับกิจกรรมต่างๆ หรือการประชุมหลายๆชนิด ที่ที่ข้อมูลใหม่ๆได้ถูกนำเสนอออกมา. ในส่วนของขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติการในการทำแผนที่ความคิดขึ้นมานั้นมีดังนี้
2.3.1 Adds structure (เพิ่มโครงสร้าง)
ทั้งหมดของยุทธศาสตร์การสอนเหล่านี้สามารถที่จะได้รับการมาทำให้มีลักษณะปลายเปิด และการไหลเลื่อนได้อย่างอิสระ. แผนที่ความคิด สามารถช่วยให้เราบันทึกหรือเก็บข้อมูลในรูปของโครงสร้างที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของเรา และมีความหมายบางอย่างสำหรับเรา
ในการฟังการบรรยาย หรือประชุมเชิงปฏิบัติการ ข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆที่ได้รับ อาจประดังเข้ามาหาเราอย่างห่ากระสุนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่"แผนที่ความคิด"จะทำให้เราสามารถจัดวางข้อมูลลงที่เราต้องการมัน และสร้างความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กันขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม
2.3.2 Helps review (ช่วยในการทบทวน)
การเปิดพื้นที่ให้เหลือเนื้อที่ไว้มากๆของแผนที่ความคิด จะทำให้เราสามารถเพิ่มเติมความคิดหรือไอเดียต่างๆลงไปได้ ในการย้อนกลับมาทบทวนมันอีกครั้ง หลังจากกิจกรรมหรือการประชุมนั้นได้ผ่านไปแล้ว. ในการกลับมาทบทวนนั้น เราสามารถที่จะให้ความสนใจในพื้นที่ที่สำคัญ, ช่องว่างต่างๆในความเข้าใจของเรา และตั้งคำถามที่สิ่งที่ถูกกล่าวถึง
คนบางคนพบว่ามันยากที่จะไปพิจารณากับ แผนที่ความคิด ในช่วงระหว่างที่มีการบรรยาย ด้วยเหตุนี้จึงใช้วิธีการบันทึกกันตามวิธีการปกติในการฟังบรรยาย. หลังจากนั้นจึงได้ทำ"แผนที่ความคิด"ขึ้นมา เมื่อย้อนทวนกลับไปดูบันทึกคำบรรยายดังกล่าว
2.3.3 Suits repeated reviews (การทบทวนซ้ำๆ)
โดยการย้อนกลับไปดู แผนที่ความคิด ของเราอยู่อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านี้ เราสามารถที่จะใช้พื้นที่ว่างเปล่าเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆใส่ลงไป และเพื่อขยายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับงานที่ครอบคลุมกิจกรรมนั้นๆได้
2.3.4 Better recall (ช่วยให้นึกถึงได้ดีกว่า)
โดยการมีข้อมูลทั้งหมดที่ครอบคลุมกิจกรรมที่เราได้มีส่วนเข้าร่วมในแผนที่ความคิด คนหลายคนพบว่า การทำเช่นนี้ได้ช่วยให้พวกเขาจดจำสิ่งที่ได้รับการพูดถึง หรือถูกครอบคลุมถึงได้
2.3.5 Prompts question (พรักพร้อมคำถาม)
เราควรจะตั้งคำถามบางคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับข้อมูลที่เราได้รับใน"แผนที่ความคิด"ของเรา. คำถามเหล่านี้จะต้องได้รับการกระทำไปตามเรื่องที่จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุดของสัญลักษณ์ของเราเองบนแผนที่ และทำให้มันพรักพร้อมมีคำตอบในเกือบทุกๆด้าน เท่าที่จะเป็นไปได้
2.3.6 Helps Exam preparation (ช่วยในการเตรียมตัวสอบ)
จินตนาการว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้าเผื่อว่าเรามี"แผนที่ความคิด"ชุดหนึ่งสำหรับการได้ฟังการบรรยายในแต่ละครั้งของแต่ละวิชา. แผนที่ความคิดเหล่านี้จะแสดงให้เราเห็นขอบเขตหรือพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเราต้องประสบกับความยุ่งยาก และการตามข้อมูลที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อที่จะสร้างความกระจ่างให้กับปัญหาต่างๆเหล่านี้. เรายังสามารถที่จะสร้าง แผนที่ความคิด ขึ้นมาฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาทั้งหมดก่อนการสอบ และนี่จะช่วยให้เราจำแนกแยกแยะแนวเรื่องหลักๆ และความเป็นไปได้ของคำถามในข้อสอบได้
สรุป : สมองของมนุษย์เรานั้นแตกต่างอย่างมากจากคอมพิวเตอร์ ขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงานในแบบของเส้นตรง สมองของมนุษย์ทำงานแบบสหสัมพันธ์ ซึ่งไม่เป็นไปในลักษณะเชิงเส้นมากนัก - กล่าวคือ มันมีการเปรียบเทียบ, ผสมรวมตัวกัน, และสังเคราะห์ข้อมูลดังที่มันเป็น. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงแสดงบทบาทเด่นอันหนึ่งในเกือบทุกๆหน้าที่ในการใช้ความคิด และแม้แต่ในคำพูดในตัวของมันเอง ก็ไม่มีการยกเว้น. คำโดดๆทุกๆคำ และไอเดียมีการเชื่อมโยงมากมายเกาะเกี่ยวกับไอเดียอื่นๆและแนวความคิดต่างๆ.
แผนที่ความคิดต่างๆ คือการเริ่มต้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนโครงสร้างความจำ. เมื่อ แผนที่ความคิดได้ถูกวาดหรือบันทึกลงไป มันก็ไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องถูกอ้างถึงอีกครั้ง เพราะแผนที่ความคิดจะช่วยรวบรวมข้อมูลต่างๆเอาไว้. เนื่องจากว่ามันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นจำนวนมากที่ต้องไปเกี่ยวข้อง ดังนั้นมันจึงสามารถที่จะสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง มันมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆและความสัมพันธ์กันใหม่ๆที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน ทุกๆเครื่องหมายที่อยู่ในแผนที่นั้นคือ สิ่งที่จะยังให้เกิดผลลัพธ์ตามมา กล่าวคือ มันจะเป็นศูนย์กลางของแผนที่อีกฉบับหนึ่ง
ศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ของ"แผนที่ความคิด" เป็นประโยชน์ในกิจกรรมของการระดมสมอง. คุณเพียงแต่ต้องเริ่มต้นด้วยพื้นฐานของปัญหาเอาไว้ที่ตรงกลาง และสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงและก่อเกิดไอเดียต่างๆจากมัน เพื่อที่จะไปถึงวิธีการหรือการเข้าถึงปัญหาที่เป็นไปได้และแตกต่างจำนวนมาก. โดยการนำเสนอความคิดและการรับรู้ของคุณลงในพื้นที่ว่าง และโดยการใช้สีและรูปภาพ, การมองเห็นได้ดีกว่าและความเชื่อมโยงใหม่ๆสามารถถูกทำขึ้นมาให้เห็นได้
แผนที่ความคิด คือหนทางหนึ่งของตัวแทนความคิดที่มีความเชื่อมโยงกันต่างๆของสัญลักษณ์ มากกว่าคำหรือตัวอักษรที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งบางทีดูแล้วมันคล้ายๆกับตัวหนอนที่เรียงๆกัน(ยากจะสังเกตได้ในทันทีว่าหมายถึงอะไร). ความคิดที่ได้รับการสร้างขึ้นเป็นรูปหรือสัญลักษณ์ เราจะมองเห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของมันได้เกือบจะในทันที และแผนที่ก็ยอมให้เราเขียนไอเดียต่างๆได้รวดเร็วกว่าที่จะแสดงมันออกมาเพียงการใช้คำหรือวลี
3. Brainstorming : ปฏิบัติการพายุสมอง
ศัพท์คำว่า"Brainstorming" เป็นคำที่ค่อนข้างคุ้นเคยกันทั่วไปแล้วในภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับคำว่า"การระดมสมอง"ในภาษาไทยที่เรารู้จักกันทั่วไป แต่คำว่า"ปฏิบัติการพายุสมอง"เป็นคำที่คิดขึ้นมาเล่นๆตามรูปศัพท์ เพื่อเรียกร้องความสนใจ(spectacular) ในเชิงความคิดสร้างสรรค์.
พื้นฐานการระดมสมองคือ ไอเดียที่ก่อเกิดขึ้นมาอันหนี่งในสถานการณ์ที่เรามารวมกันเป็นกลุ่มบนพื้นฐานหลักการของการไม่ตัดสินชั่วคราว(suspending judgement - หยุดพักการตัดสินชั่วคราว) - มันเป็นหลักการหนึ่งซึ่ง การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความพยายามที่มีประสิทธิผลอย่างมากทั้งในด้านส่วนตัวและกลุ่ม. "ช่วงตอนของการให้กำเนิดความคิด"(generation phase) ได้ถูกแยกออกจาก "ช่วงตอนของการตัดสินความคิด"(judgement phase of thinking).
ดังนั้น หลักการที่ต้องตระหนักในที่นี้เกี่ยวกับปฏิบัติการพายุสมองคือ
- Suspending Judgement (แขวนลอยการตัดสินเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งพิพากษาว่าใช้ได้หรือไม่ได้)
- การระดมสมอง เป็นขั้นตอนของการให้กำเนิดความคิด (generation phase)
ในหนังสือของ Michael Morgan เรื่อง Creative Workforce Innovation (นวัตกรรมเกี่ยวกับปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์) เขาได้ให้ข้อแนะนำต่างๆดังต่อไปนี้:
การระดมสมอง คือ กระบวนการอันหนึ่งที่ทำงานได้ดีที่สุดในรูปกลุ่มคน เมื่อเราได้ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ 4 ประการดังต่อไปนี้
1. การนิยามหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาได้อย่างชัดเจน
2. ให้ใครบางคนจดบันทึกไอเดียต่างๆทั้งหมดที่กลุ่มทำให้เกิดขึ้นมาลงไป(บนกระดาน)
3. มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่พอเหมาะ
4. ให้ใครสักคนดูแลรับผิดชอบ ที่จะช่วยผลักดันหรือบีบคั้นให้สิ่งต่อไปนี้ดำเนินไป
4.1 อย่าเพิ่งตัดสินไอเดียต่างๆที่เกิดขึ้นมา ให้แขวนลอยการตัดสินไว้ก่อน(suspending judgement)
4.2 ไอเดียทุกอย่างต้องได้รับการยอมรับและบันทึกลงไป(every idea is accepted and record)
4.3 สนับสนุนให้ผู้คนสร้างไอเดียขึ้นมาจากไอเดียต่างๆของคนอื่น(encourage people build on the ideas of others) หรือคิดอย่างลื่นไหลต่อจากไอเดียของคนอื่น โดยไม่ไปสะกัดกั้น
4.4 สนับสนุนไอเดียที่แปลกๆ และยอมเปิดทางให้กับไอเดียเหล่านั้น(encourage way-out and odd ideas)
ในการสร้างสรรค์ที่เอาจริงเอาจัง, Edward de Bono ได้อธิบายถึงการระดมสมองว่า เป็นวิธีการแบบจารีตอันหนึ่งในการใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างรอบคอบสุขุม โดยผลที่ตามมา ผู้คนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถกระทำเช่นนั้นได้ในกลุ่มคนต่างๆ. ทั้งหมดของไอเดียเกี่ยวกับการระดมสมองก็คือ ข้อสังเกต หรือข้อคิดเห็นของคนอื่นๆที่เกิดขึ้น มันจะมาช่วยกระตุ้นหรือปลุกเร้าไอเดียของตัวเราในลักษณะของปฏิกริยาลูกโซ่ของไอเดีย(a sort of chain reaction of ideas).
อันที่จริง กลุ่มคนไม่ใช่ความจำเป็นทั้งหมดสำหรับความคิดสร้างสรรค์ที่รอบคอบสุขุม, และความคิดสร้างสรรค์ที่จริงจัง(serious Creativity) ได้อธิบายถึงเทคนิคต่างๆสำหรับการที่ปัจเจกบุคคลที่จะใช้มันในการสร้างไอเดียต่างๆขึ้นมา. ในกลุ่มคน เราจะต้องฟังคนอื่น และเราอาจใช้เวลาทวนหรือย้ำไอเดียของเราเอง เพื่อคนในกลุ่มจะได้ให้ความสนใจอย่างเต็มที่. ความคิดในฐานะกลุ่มที่ใช้การระดมสมอง สามารถที่จะผลิตไอเดียขึ้นมาได้, แต่ความคิดของปัจเจกใช้เทคนิคต่างๆ อย่างเช่น ที่ได้รับการอธิบายเหล่านั้นโดย de Bono ก็ควรที่จะได้รับการนำมาใช้เช่นกัน.
De Bono เชื่อว่า จะเป็นการดีกว่า ที่ปัจเจกบุคคลทั้งหลายจะให้กำเนิดไอเดียต่างๆขึ้นมาและเป็นไปในทิศทางที่สดใหม่ไม่ซ้ำกัน. เมื่อไอเดียอันนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว กลุ่มอาจจะดีกว่าตรงที่สามารถช่วยพัฒนาไอเดียดังกล่าว และปฏิบัติการกับไอเดียนั้นๆไปในหลายๆทิศทางได้ดีกว่าผู้ให้กำเนิดมันขึ้นมา
สำหรับปฏิบัติการระดมสมองอันนี้ เราอาจนำไปประยุกต์ใช้กับ"แผนที่ความคิด" โดย"แผนที่ความคิด"จะทำหน้าที่บันทึกไอเดียของคนในกลุ่มลงไป ซึ่งจะทำให้เราเห็นความคิดใหม่ๆสดๆอย่างหลากหลาย และมองความเชื่อมโยงของมัน พร้อมทั้งช่วยกันหาทางเพิ่มเติมไอเดียเหล่านั้น. ในกรณีที่เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาหรือหาทางออกให้กับเรื่องบางเรื่อง หลังจากที่ทุกคนเสนอปัญหาและทางออกของตนแล้วลงในแผนที่ กลุ่มอาจมองเห็นประเด็นอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้โดยไม่คาดฝัน (การทำเช่นนี้ ควรทำไปในลักษณะผ่อนคลาย หรือทีเล่นทีจริง อันเป็นการปล่อยให้สมองซีกขวาสามารถปรากฎตัวออกมาได้)
4. Mind Mapping (2) : แผนที่ความคิด
[หมายเหตุ] เพื่อให้นักศึกษา และผู้อ่านได้รับข้อมูลกันอย่างสมบูรณ์ จึงแยกข้อมูลเรื่องที่ดูเหมือนจะซ้ำกับที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นเกี่ยวกับ "แผนที่ความคิด" ในอีก version หนึ่งออกมา ตามข้อมูลซึ่งเขียนขึ้นมาจากคนละคน และค้นมาจาก website คนละที่ แทนที่จะสังเคราะห์เนื้อหาไปรวมกันไว้ในเรื่องเดียวกัน. ดังนั้นจึงนำมาต่อท้ายในบทความนี้ โดยตั้งเป็นหัวข้อที่ 4 ชื่อเรื่องว่า "แผนที่ความคิด (2)"
4.1 What is a mind map ?
หลักการของ"แผนที่ความคิด" ประกอบด้วย "คำหลัก"ที่เป็นแกนกลาง(central word) หรือแนวความคิด(concept), ซึ่งรายรอบคำหลักนั้น เราจะบันทึกไอเดียหลักๆ(main ideas) 5-10 ไอเดียที่มีความสัมพันธ์กับคำหลักหรือแนวความคิดตรงกลาง. ถัดมา เราจะปฏิบัติการกับคำลูก(child words)(main ideas)พวกนั้นต่อมา คือ ในแต่ละคำลูกหรือไอเดียหลักที่ไปโยงกับแกนกลาง เราจะสร้างไอเดียที่สัมพันธ์กับมันขึ้นมาอีก 5-10 ไอเดีย.
ด้วยวิธีการเช่นนี้ ไอเดียที่สัมพันธ์กันจำนวนหนึ่ง สามารถที่จะได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ความพยายามทางความคิดจริงๆจังๆ (เน้นในที่นี้ คือ ให้มีลักษณะเป็นการเล่น เพราะการเล่นจะทำให้เราจินตนาการได้กว้างไกล และไปพ้นจากโลกของเหตุผล. จาการเล่นนี้ จะทำให้เราเกิดไอเดียใหม่สดขึ้นมาได้สะดวก).
4.2 What can you do with a mind map
การบันทึก (note taking) สำหรับวิธีการบันทึก"แผนที่ความคิด" มีประโยชน์หลายหลากเหนือกว่าระบบอื่นๆ
- คุณสามารถที่จะวางไอเดียใหม่ๆแต่ละอันลงในที่ทางที่เหมาะสม, โดยไม่ต้องคำนึงถึงระเบียบของการนำเสนอ
- สนับสนุนให้มีการลดทอนแต่ละแนวคิดลงมาเหลือเพียงคำสั้นๆ
- ผลรวมของ"แผนที่ความคิด"สามารถมองเห็นได้ด้วยตา และได้รับการจดจำโดยความทรงจำด้วยสายตา(visual memory) ซึ่งจะถูกแสดงหรือโชว์ออกมาเกือบจะสมบูรณ์
4.3 Creative Writing & Report Writing
แผนที่ความคิด จะยอมให้คุณผลิตไอเดียต่างๆจำนวนมากขึ้นมาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด, ในเวลาเดียวกัน ก็รวบรวมมันโดยวางแต่ละไอเดียต่อๆกันกับสิ่งที่มันถูกนำไปเกี่ยวโยงด้วย. อันนี้ได้สร้างเครื่องมือที่มีพลังอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับงานเขียนในเชิงสร้างสรรค์(creative writing) หรืองานเขียนรายงาน(report writing) ที่ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญต่อการบันทึกไอเดียทั้งหมดของคุณลงไปเป็นอันดับแรก. ต่อจากนั้น จะเป็นเรื่องซึ่งไม่สลักสำคัญเท่าใด ที่จะอ่านแผนที่ความคิดดังกล่าว และเขียนประโยคหรือย่อหน้าหนึ่งขึ้นมาบน"คำกุญแจหรือคำสำคัญ"(key word)แต่ละคำ
4.4 Studying the easy way
แทนที่จะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งในบางหัวข้อ, โอกาสต่อไปพยายามใช้วิธีการทำ แผนที่ความคิด ขณะที่คุณอ่านหนังสือ. ให้เขียนคำหลัก(central word)ลงไปกลางหน้ากระดาษที่เตรียมไว้ และต่อจากนั้นก็เริ่มอ่านหนังสือไป, ทุกครั้งที่คุณพบไอเดียบางอย่างที่มากระทบใจคุณในฐานะที่มันมีความสำคัญหรือความน่าสนใจ ให้เพิ่มไอเดียเหล่านั้นเข้าไปบนแผนที่ความคิดของคุณลงในที่ที่เหมาะสม
เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนั้นจบ คุณก็จะมีแผนที่ความคิดขึ้นมาแผ่นหนึ่งที่ได้สรุปทุกสิ่งทุกอย่างที่น่าสนใจและสาระสำคัญของหนังสือเอาไว้ เป็นไปได้ที่คุณจะเพิ่มเติมสิ่งต่างๆเข้าไปด้วยได้ ซึ่งคุณคิดขึ้นมาได้เองในช่วงระหว่างที่คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มนั้นอยู่. การกระทำในลักษณะสร้างสรรค์แผนที่ความคิด จะช่วยเพิ่มการรับรู้หรือซึมทราบเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านได้อย่างมาก และถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะทบทวนหัวข้อ ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็คือ ดูที่"แผนที่ความคิด"ดังกล่าว. ถ้าเผื่อว่าคุณต้องการจะเรียนรู้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ ก็พยายามเขียน"แผนที่ความคิด"อันนั้นขึ้นมาใหม่จากความทรงจำ. คุณจะพบว่ามันง่ายและสะดวกมาก
4.5 Studying as a group
คนกลุ่มหนึ่งสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เพื่อสร้าง แผนที่ความคิด ฉบับหนึ่งขึ้นมา โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :
1. ให้แต่ละคนเขียน"แผนที่ความคิด"ของตนขึ้นมา ในเรื่องที่เราต่างคนต่างทราบว่าจะเขียนเรื่องอะไร
2. จากนั้น เขียน"แผนที่ความคิดกลุ่ม" ที่รวมเอาสิ่งที่คุณรู้แล้วเข้าไป
3. ตัดสินว่า อะไรที่คุณต้องการเรียนรู้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนแผนที่ความคิดกลุ่มอันนี้
4. ศึกษาเนื้อหาของแต่ละคน, ซึ่งครอบคลุมขอบเขตความรู้อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด เพื่อความลึกของความรู้ หรือครอบคลุมพื้นที่ที่แตกต่างกันทั้งหมดด้วยความเร็วที่เหมาะสม. แต่ละคนทำ"แผนที่ความคิด"ของตนด้วยตัวเองให้สมบูรณ์.
5. รวมเป็นกลุ่มอีกครั้ง และสร้างแผนที่ความคิดของกลุ่ม"ที่เป็นฉบับสมบูรณ์สุดท้ายขึ้นมา.
4.6 Meeting & Think Tanks
เมื่อไรก็ตามที่คุณเขียนบางสิ่งบางอย่างลงไปบนกระดาน คุณก็ได้สูญเสียความคิดสร้างสรรค์อันนั้นที่ทุกๆคนมีไปทันที . ด้วยเหตุนี้ การพบปะกันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ควรจะเริ่มต้นโดยการให้คนทั้งหลายใช้เวลาส่วนตัวสักสองสามนาทีกับแผนที่ความคิด. ถัดจากนั้นก็มาถึงช่วงที่ปล่อยให้การพบปะกันดังกล่าวดำเนินไป โดยการสร้างแผนที่ความคิดร่วม(master mind map)อันหนึ่งขึ้นมาบนกระดาน โดยให้ไอเดียทุกๆไอเดียหรือข้อเสนอทุกอย่างได้รับการบันทึกลงไป และได้รับการวางลงในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อว่ามันจะได้ถูกนำมาสนทนากันได้ในช่วงเวลาของการใช้เหตุผล. ต้องอย่างลืมว่า ไอเดียทุกอย่างที่ถูกจดลงบนกระดานแผนที่ความคิดจะไม่ถูกเมินเฉย.
4.7 Giving a Talk
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดในที่ประชุม หรือเตรียมพูดในวาระโอกาสต่างๆ บันทึกชุดหนึ่งในรูปแบบของ"แผนที่ความคิด"ส่วนตัวฉบับหนึ่ง จะเป็นประโยชน์อย่างหลากหลาย มากกว่าวิธีช่วยเก็บความทรงจำในลักษณะอื่นๆ. หลักปฏิบัติสำหรับการเตรียมตัวอย่างง่ายๆมีดังต่อไปนี้
- Brief : (สั้นๆ) เพียงหน้ากระดาษหน้าเดียวเท่านั้นที่เป็นที่ต้องการ
- Not reading : (ไม่ต้องอ่าน) ไอเดียต่างๆถูกลดทอนลงมาเหลือเพียงคำโดดๆ คุณจะได้ไม่ต้องอ่านสิ่งที่จะพูด
- Flexibility : (ความยืดหยุ่น) ถ้าหากมีใครสักคนถามคำถามขึ้นมา คุณก็สามารถที่จะไปยังแผนที่ความคิดของคุณได้ในทันทีซึ่งสัมพันธ์กับคำถามอันนั้น และกลับไปยังที่ที่คุณอยู่ โดยไม่เสียเวลาตัวของคุณเองไปกับกองกระดาษหรือแผ่นการ์ดที่บันทึกเรื่องย่อที่หลายๆคนใช้วิธีการแบบนั้นในการเตรียมข้อมูล
4.8 Some model of mind maps
แบบจำลองแผนที่ความคิดบางอย่าง เพื่อนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเริ่มต้นทำ mind map เพื่อแก้ปัญหา
1. The six questions (คำถาม 6 ข้อ) what, when, where, why, who, how
1.1 ตั้งประเด็นหลักเอาไว้กลางหน้ากระดาษแนวนอน
1.2 จากตรงกลาง แยกออกไปหกกิ่ง และแต่ละกิ่งมีคำถาม เช่น กิ่งที่หนึ่งคำถาม what, กิ่งที่สอง, why
1.3 เช่น ตั้งประเด็นหลักว่า "จะมีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร"ไว้กลางหน้ากระดาษ. กิ่งที่หนึ่ง what ก็คือ ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร ในความคิดเรา, และคนอื่นว่าไว้อย่างไร ? กิ่งที่สอง why ให้เราตอบว่า ทำไมเราจึงต้องการความคิดสร้างสรรค์. กิ่งที่สาม how เราจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? ทำอย่างนี้เรื่อยๆไปทุกๆข้อ แล้วค่อยๆหาทางออกด้วยตนเองอย่างอิสระ
2. Life planing (การวางแผนชีวิต) อาจใช้กฎกงล้อ 8 ซี่ เกี่ยวกับชีวิต
2.1 เขียนคำว่า"การวางแผนชีวิต"ไว้กลางหน้ากระดาษแนวนอน
2.2 จากตรงกลาง แยกออกไป 8 กิ่ง และแต่ละกิ่งมีคำหลักดังนี้ อาชีพ, ครอบครัว, สมอง, การเงิน, สังคม, ชุมชน, ร่างกาย, จิตวิญญาน
2.3 เช่น ตั้งประเด็นว่า "แผนการเปลี่ยนงานอาชีพ". กิ่ง"อาชีพ" ให้เขียนทางเลือกอาชีพของเรา, กิ่ง"สมอง"ให้เขียนความพร้อมหรือความรู้ของเรา. กิ่ง"ครอบครัว"เขียนว่าครอบครัวเรายินยอม หรือส่งเสริมไหม, ต้องมีการย้ายครอบครัวไหม ? กิ่ง"สุขภาพ" อายุ สุขภาพกาย เหมาะสมไหม ? เหล่านี้เป็นต้น
ช่วงสัปดาห์ นี้ เป็นช่วงที่น้องหลายคนเข้าสู่สนามสอบ mid term กันแล้ว เป็นอย่างไรบ้างครับ ทำข้อสอบกันได้หริอเปล่าเอ่ย ยังไงก็สู้ๆนะ อย่าไปเครียด พี่ปอเอาใจช่วยเต็มที่เลย วันนี้พี่ปอไม่ได้มาเอาใจช่วยอย่างเดียว แต่ยังมี เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ที่ทำให้เราทำข้อสอบออกมาได้ A ทุกวิชา
น้องๆ คงเคยได้ยินได้ฟังเคล็ดลับการเรียน เคล็ดลับการทำข้อสอบ ให้ได้ A กันมามากมาย หลายเคล็ดลับ หลายกระบวนท่า เคล็ดลับนี้ก็เป็น 1 ในสุดยอดเคล็ดลับที่พี่ปอ แห่งสำนัก dek-d ภูมิใจนำเสนอ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราทุกคนนั้นน่าจะเคยเรียนรู้มาแล้วสมัยเด็กๆ นั่นคือ การทำ Mind Mapping
Mind Mapping คืออะไร
แผนที่ความคิด(Mind Mapping or Concept Mapping) เป็น การจดบันทึกแก่นของไอเดียและความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงไอเดียหรือความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งไอเดียหลักขึ้นมาที่กลางหน้ากระดาษ(แนวนอน-landscape)ก่อน แล้วบันทึกไอเดียต่างๆกระจายออกเป็นกิ่งๆ รายรอบออกจากศูนย์กลางของไอเดียหลักที่กลางหน้ากระดาษนั้น
แล้ว Mind Mapping เนี่ย มีประโยชน์ต่อการอ่านหนังสือสอบและการเรียนอย่างไรกัน ?
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Mind Map หรือ แผนที่ความคิดนั้น เป็นการจดบันทึก สิ่งต่างๆที่เราได้เรียน ได้รู้มา โดยจะจดไอเดียหลักๆ ลงไป ทำให้เราได้เห็นถึง ความคิดรวบยอด และได้เข้าใจถึงหลักการ ของบทเรียนนั้นๆมากขึ้น ที่สำคัญ ยังทำให้เราทบทวนเรื่องราวต่างๆที่เรียนมาได้ง่ายด้วย เพราะเราจด แต่สิ่งหลักๆลงไป ทำให้ไม่ต้องอ่านเยอะ น้องๆหลายคนอาจจะคิดว่า มันก็คล้ายๆกับ การโน้ตย่อ แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ครับ มันมีดีกว่าตรงที่ เราได้สรุป ส่วนหลักๆที่เราได้รู้มา แล้วเขียนลงไป มันจะทำให้เราได้คิด และเข้าใจมากขึ้นด้วย ไม่เชื่อลองทำดูเลย พี่ปอท้าพิสูจน์ อิอิ !!!
หลักการง่ายๆในการทำ Mind Mapping
- โฟกัส ลงไปที่ไอเดียต่างๆที่เป็นกุญแจสำคัญ โดยการจดลงไปที่กลางหน้ากระดาษด้วยคำพูดของเราเอง
- ต่อจากนั้นก็ขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยแต่ละกิ่งก็มีไอเดียของกิ่งนั้น หลังจากที่ได้ทำเช่นนี้ไปจนมากพอแล้วในขั้นต้น
- จากนั้นก็ตรวจตราดูไอเดียต่างๆที่สัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงไอเดียของแต่ละกิ่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน. การกระทำเช่นนี้ เรากำลังวาดแผนที่ความรู้(ความคิด, ไอเดีย) ในลักษณะที่จะช่วยให้เราเข้าใจและโยงประเด็นสำคัญ รวมถึงจดจำข้อมูลใหม่ๆได้
นอกจากนี้ ในการทำ Mind Map ทุกครั้ง ควร ใช้หลักที่ว่า เขียนแต่คำที่เป็น keyword หรือคำหลักลงไป ที่มาจากการสรุปรวบยอดความคิดของเรา
ทักษะอย่างหนึ่งของหัวหน้างานคือการเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง กระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถเก็บรายละเอียดของเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรอบด้าน มองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละส่วน และสามารถเข้าใจได้ง่ายคือการสร้าง Mind Map หรือแผนที่ความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการแตกแขนงของภาพกว้าง ๆ ไปสู่หัวข้อย่อยที่มีรายละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ในกระดาษแผ่นเดียว
ผมขอยกตัวอย่างการสร้าง Mind Map ด้วยเรื่องง่าย ๆ ดังนี้ : ผมต้องการทำ Blog ที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หากผมคิดแบบสะเปะสะปะ ก็จะมีชื่อสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ออกมาจากสมองมากมาย แต่ก็จะผสมปนเปไม่เป็นระเบียบและนำไปใช้งานต่อได้ยาก วิธีการทำ Mind Map คือเราอาจแบ่งสถานที่ท่องเที่ยวออกเป็นหมวดกว้าง ๆ ก่อน (วิธีการแบ่งนั้นแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายจะออกมาใกล้เคียงกัน) เช่น จากศูนย์กลางคือแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย - ผมแตกแขนงออกเป็นภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคกลาง, ภาคอีสาน, ภาคตะวันออก และภาคใต้ - จากแต่ละภาคผมแตกแขนงออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ - จากจังหวัดผมแตกแขนงออกเป็นประเภทของสถานที่ เช่น ทะเล, ภูเขา, น้ำตก, วัด, .. - จากประเภทของสถานที่ผมแตกออกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการ
ด้วยวิธีข้างต้น จะทำให้ผมสามารถรวบรวมข้อมูลได้โดยไม่ตกหล่น และสามารถนำการแบ่งสาขาที่ทำไว้แล้ว ไปจัดทำเป็นโครงสร้างของ Blog ได้ทันที ทั้งนี้วิธีการแบ่งสาขาจะแบ่งแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำ Mind Map เป็นหลัก ถ้าวัตถุประสงค์ต่างกันวิธีการแบ่งก็อาจจะไม่เหมือนกัน
เราสามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับการวางแผนงานได้เป็นอย่างดี เช่นทุกครั้งที่เราจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่เราจะต้องทำอะไรบ้าง ก็เขียนเป็น Mind Map ออกมา แล้วเราก็จะสามารถนำ Mind Map ตัวนี้เป็นต้นแบบไปใช้ได้ทุกครั้งที่เราออกผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงสามารถแบ่งงานให้ลูกน้องแต่ละคนทำงานตามแขนงที่เราแบ่งไว้แล้วได้โดยง่าย
อีกประการหนึ่งทีสำคัญคือ สมองของเราสามารถจดจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวอักษร หากเราสามารถแทนตัวอักษรใน Mind Map ด้วยรูปภาพแล้วล่ะก็จะช่วยให้เราสามารถจดจำความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ใน Mind Map ได้ดียิ่งขึ้น