วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องประกันคุณภาพการศึกษา


สถานศึกษาที่พร้อมรับประเมินภายนอกจะพิจารณาจาก


มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งประกอบด้วย ระบบการพัฒนาคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาที่ควรจะเป็น ซึ่งควรเป็น 14++ กล่าวคือ มาตรฐานการศึกษาสำหรับประเมินภายนอกจำนวน 14 มาตรฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมติอนุมัติโดยถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สถานศึกษาทุกแห่งพึงมีมาตรฐานดังกล่าว

บวก (+) ที่หนึ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐานตามความต้องการของต้นสังกัดและบวก (+) ที่สอง เป็นมาตรฐานความต้องการของชุมชนและสถานศึกษา จึงกำหนดวิถีการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานที่กำหนด และจัดระบบการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามวิถีทางที่กำหนดต่อไปกล่าวคือมีระบบการตรวจติดตามคุณภาพเพื่อแนะนำให้ดำเนินการตามแผนที่กำหนด และมีระบบประเมินคุณภาพภายใน ตามเจตนารมณ์ของการประกันคุณภาพการศึกษา จะเห็นว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาร่วมกับชุมชนโดยการสนับสนุนส่งเสริมจากต้นสังกัด จะเห็นได้ว่าบทบาทของต้นสังกัดในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เปลี่ยนแปลงจากบทบาท " การควบคุมสั่งการ" เป็น"การสนับสนุนส่งเสริม"


สถานศึกษาจัดทำรายงานการประเมินตนเองในแต่ละปีการศึกษา กล่าวคือ เป็นการจัดทำรายงานประจำปีในรูปของรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งประกอบด้วยการแนะนำสถานศึกษาอย่างลุ่มลึกทั้งในด้านความมุ่งมั่น หลักการ ภาคี ระบบ และโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาแผนระยะยาวและแผนระยะสั้น การรายงานกิจการของสถานศึกษาในรอบปี ผลประเมินประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยเทียบกับมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไปตลอดจนภาคผนวกเกี่ยวกับหลักฐาน สถิติ เอกสารสำคัญที่ใช้ในการประเมินตนเองของสถานศึกษา


สถานศึกษาใดที่มีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในและมีการประเมินตนเองในรอบปีและจัดทำเป็นรายงานประจำปี ก็ถือได้ว่าสถานศึกษาแห่งนี้มีความพร้อมรับประเมินคุณภาพภายนอกแล้ว



การประกันคุณภาพภายในที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้



เป็น "ระบบ" ซึ่งมีทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ที่คาดหลังมีทั้งระบบการพัฒนาคุณภาพระบบการตรวจติดตามคุณภาพและระบบการประเมินตนเอง


เป็นระบบที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นโดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนจากต้นสังกัด มิใช่การควบคุมสั่งการจากต้นสังกัด


ระบบประกันคุณภาพภายในต้องผสมผสานกับงานบริหารปกติ กล่าวคือ บูรณาการเชื่อมโยงกับการปฏิรูปการเรียนรู้ การสอน การพัฒนาบุคลากรและการบริหารฐานโรงเรียน ( SBM)


การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องของทุกคนทั้งในสถานศึกษาและชุมชนภายใต้การนำและมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของ "ผู้บริหาร" เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง


ทำงานทุกภารกิจอย่างครบวงจรทั้งระดับบุคคลและหน่วยงานมีการวางแผน ดำเนินการประเมิน และปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ


การทำงานของทุกคนในสถานศึกษาไม่ว่าการบริหารจัดการ การสอนและการเรียนรู้มุ่งสู่ผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่งมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต


การดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่ควบวงจร คือเมื่อถึงปีการศึกษาจะต้องมีการประเมินตนเอง เพื่อรวมสรุปยอดแล้วจัดทำเป็นรายงานประจำปี รายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด หน่ายงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะทราบ


ผลประเมินจะนำไปสู่การปรับปรุงการบริหาร การเรียนรู้และการสอนโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารต้องกำกับดูแลให้มีการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ศาสตราจารย์สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)






--------------------------------------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล : ที่มา : จุลสาร สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ฉบับที่ 12 ประจำเดือน กรกฎาคม 2545
รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย ปีที่4 ฉบับที่ 49 วันที่ 15 มกราคม 2545
สารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ฉบับที่ 42 ประจำเดือนพฤษภาคม 2545 ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com/

การประกันคุณภาพการศึกษา


PDCA กลไกสำคัญ ขับเคลื่อนประกันคุณภาพที่ ร.ร.เอกชัย สมุทรสาคร




การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการที่มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ดังนั้นบุคลากรทุกคนจะต้องตื่นตัวและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


อ.วาสนา เดชอุดม ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินงานว่า โรงเรียนได้จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ซึ่งสอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียนโดยมีเป้าหมายการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา 3 ด้าน คือ


1. มาตรฐานเกี่ยวกับผู้เรียน เน้นการพัฒนานักเรียนทั้งด้านความรู้และสุขภาพ รวมถึงการดูแลสุขภาพการป้องกันจากสิ่งแสพติด ด้านคุณธรรมและจริยธรรม เน้นความสามารถการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงาน


2. มาตรฐานเกี่ยวกับครู เน้นพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


3. มาตรฐานเกี่ยวกับผู้บริหาร เน้นการบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจร PDCA


วงจร PDCA ประกอบด้วย


1. การวางแผน โรงเรียนใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทุกฝ่าย คือผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียนและเจ้าหน้าที่มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานครอบคลุมทุกมาตรฐาน ออกแบบกิจกรรมโครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้เสนอ ตลอดจนจัดทำระบบการกำกับติดตาม


2. การนำแผนสู่การปฏิบัติ กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานและดำเนินการแผนงาน/ โครงการด้านนักเรียน ครูและความสัมพันธ์ชุมชน


3. การตรวจสอบติดตาม มีระบบประเมินตนเอง ครูรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน โรงเรียนตั้งคณะกรรมการควบคุมกำกับ นิเทศและประเมินการดำเนินงานและสรุปรายงานผล


4. การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน นำผลการประเมินตนเองทำเป็นอกสารเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและมีการประชุมระดมความคิดเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาจุดเด่นและปรับปรุงจุดด้อย โดยมีการดำเนินงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง


อ.วาสนา ยังกล่าวถึงโครงการ/กิจกรรมที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานว่า " โรงเรียนมีโครงการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการนำนักเรียนไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนและนอกโรงเรียนโดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นวิทยากร โรงเรียนจะใช้ความรู้ที่ได้มาบูรณาการร่วมกับกลุ่มประสบการณ์ต่าง โครงการพัฒนาบุคลากร เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ร่วมถึงการส่งครูเข้ารับการอบรมเรื่องต่างๆ ประชุมฝ่ายบริหาร กลุ่มประสบการณ์และสายชั้น ครูจะปฏิบัติงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอน การเขียนแผนการสอนและการจัดทำแฟ้มสะสมงาน โครงการนำชุมชนสู่โรงเรียนให้ชุมชนมามีส่วนร่วมบริหารโรงเรียน ให้แต่ละห้องมีคณะกรรมการห้องเรียน ห้องละ 10 คน ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ปกครองดีมากพร้อมกันนี้ยังมีการจัดทำโครงการยุวทูตความดี โครงการเข้าค่ายเพื่อพัฒนาคุณธรรม โครงการเข้าค่ายทางวิชาการ เป็นต้น "




--------------------------------------------------------------------------------



การประกันคุณภาพการศึกษา

ศาสตรจารย์สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)



สถานศึกษาที่พร้อมรับประเมินภายนอกจะพิจารณาจาก


1. มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งประกอบด้วย ระบบการพัฒนาคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาที่ควรจะเป็น ซึ่งควรเป็น 14++ กล่าวคือ มาตรฐานการศึกษาสำหรับประเมินภายนอกจำนวน 14 มาตรฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมติอนุมัติโดยถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สถานศึกษาทุกแห่งพึงมีมาตรฐานดังกล่าว



บวก (+) ที่หนึ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐานตามความต้องการของต้นสังกัดและบวก (+) ที่สอง เป็นมาตรฐานความต้องการของชุมชนและสถานศึกษา จึงกำหนดวิถีการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานที่กำหนด และจัดระบบการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามวิถีทางที่กำหนดต่อไปกล่าวคือมีระบบการตรวจติดตามคุณภาพเพื่อแนะนำให้ดำเนินการตามแผนที่กำหนด และมีระบบประเมินคุณภาพภายใน ตามเจตนารมณ์ของการประกันคุณภาพการศึกษา จะเห็นว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาร่วมกับชุมชนโดยการสนับสนุนส่งเสริมจากต้นสังกัด จะเห็นได้ว่าบทบาทของต้นสังกัดในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เปลี่ยนแปลงจากบทบาท " การควบคุมสั่งการ" เป็น"การสนับสนุนส่งเสริม"

2. สถานศึกษาจัดทำรายงานการประเมินตนเองในแต่ละปีการศึกษา กล่าวคือ เป็นการจัดทำรายงานประจำปีในรูปของรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งประกอบด้วยการแนะนำสถานศึกษาอย่างลุ่มลึกทั้งในด้านความมุ่งมั่น หลักการ ภาคี ระบบ และโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาแผนระยะยาวและแผนระยะสั้น การรายงานกิจการของสถานศึกษาในรอบปี ผลประเมินประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยเทียบกับมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไปตลอดจนภาคผนวกเกี่ยวกับหลักฐาน สถิติ เอกสารสำคัญที่ใช้ในการประเมินตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาใดที่มีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในและมีการประเมินตนเองในรอบปีและจัดทำเป็นรายงานประจำปี ก็ถือได้ว่าสถานศึกษาแห่งนี้มีความพร้อมรับประเมินคุณภาพภายนอกแล้ว

การประกันคุณภาพภายในที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้



1. เป็น " ระบบ" ซึ่งมีทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ที่คาดหลังมีทั้งระบบการพัฒนาคุณภาพระบบการตรวจติดตามคุณภาพและระบบการประเมินตนเอง
2. เป็นระบบที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นโดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนจากต้นสังกัด มิใช่การควบคุมสั่งการจากต้นสังกัด
3. ระบบประกันคุณภาพภายในต้องผสมผสานกับงานบริหารปกติ กล่าวคือ บูรณาการเชื่อมโยงกับการปฎิรูปการเรียนรู้ การสอน การพัฒนาบุคลากรและการบริหารฐานโรงเรียน ( SBM)
4. การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องของทุกคนทั้งในสภานสึกษาและชุมชนภายใต้การนำและมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของ "ผู้บริหาร" เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง


5. ทำงานทุกภารกิจอย่างครบวงจรทั้งระดับบุคคลและหน่วยงานมีการวางแผน ดำเนินการประเมิน และปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ
6. การทำงานของทุกคนในสถานศึกษาไม่ว่าการบริหารจัดการ การสอนและการเรียนรู้มุ่งสู่ผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่งมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่ควบวงจร คือเมื่อถึงปีการศึกษาจะต้องมีการประเมินตนเอง เพื่อรวมสรุปยอดแล้วจัดทำเป็นรายงานประจำปี รายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด หน่ายงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะทราบ
8. ผลประเมินจะนำไปสู่การปรับปรุงการบริหาร การเรียนรู้และการสอนโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารต้องกำกับดูแลให้มีการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง






--------------------------------------------------------------------------------



ก้าวทัน เรื่องประกันคุณภาพการศึกษา

ทุกคนกำลังรอความหมายของคำว่า " คุณภาพการศึกษา"



ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ หลากหลายเรื่องที่ส่งผลต่อแบบแผนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ทั้งในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองคนไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดจะต้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนองไปตามพลวัตรทางเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างที่มีการแข่งขันด้านคุณภาพสูงจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดความต้องการการเรียนรู้และกระบวนการการเรียนรู้แก่คนไทยแทบทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในภาคการผลิตใด

สังคมในอนาคตยังสะท้อนให้เห้นพลังประชาชนและชุมชนในการปกครองตนเองสูงขึ้น มองเห็นการเมืองที่ถูกถ่วงดุลด้วยกลุ่มองค์กรประชาชนมากขึ้น คนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ย่อมต้องดิ้นรนให้ได้มาซึ่งความรู้ในการปกครองตนอง และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งรู้เท่าทันการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบท


ที่สำคัญและท้าท้ายที่สุดก็คือพลังการเรียนรู้และการแสดงออกของชุมชนที่ถูกโหมด้วยการเข้าถึงข่าวสารสำคัญต่างๆ อาจจะนำไปสู่การทวงคืนบทบาทในการจัดการศึกษาจากภาครัฐกลับไปสู่ภาคประชาชนอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการศึกษาทางเลือกและศูนย์การเรียนรู้โดยองค์กรประชาชนและกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้น มีการโอนกิจการศึกษาของรัฐให้องค์กรท้องถิ่นและองค์กรชุมชนบริหารจัดการแทนมากขึ้น ตลอดจนการเบ่งบานของหลักสูตรท้องถิ่นที่สะท้อนชีวิตจริงและความต้องการที่ตรงกับสภาพท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น


แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไปไม่ได้เลยถ้าปราศจากการประกันว่าเด็กรุ่นใหม่และคนรุ่นใหม่ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพเพียงดพอที่เขาจะนำไปเป็นพลังในการเรียนรู้และวางแผนชีวิตของตนเอง


การประกันคุณภาพจะเป็นเครื่องตัดสินว่าทั้งเด็กและทั้งผู้ใหญ่ในแต่ละท้องถิ่นจะฉกฉวยประโยชน์จากเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปบลี่ยนไป เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อความมั่นคงและความสามารถในการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดีเพียงไร



การประกันว่าเด็กๆ ได้เรียนเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่นอย่างมีความสุขมากขึ้น ด้วยการมีหลักสูตรท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ภายใต้การอุปถัมภ์ของชุมชนที่เข้ามาร่วมแรงร่วมคิดในการจัดการเรียน การสอน "วิชา ทำมาหากิน วิชาใช้ชีวิต" เพื่อลูกหลานของตนเอง


การประกันว่าเด็กๆ ได้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองอย่างอิสระมากขึ้น ได้ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา ฝึกวิเคราะห์ฝึกวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ โดยมีครูที่มีคุณภาพ และใส่ใจนักเรียนอย่างแท้จริง


การประกันว่าเด็กๆ ได้รับการเรียนรู้แบบปรับเหมาะตามความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคลและชุมชนมากยิ่งขึ่น ด้วยการมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรที่ยืดหยุ่นแบบ "เสื้อตัด" มากกว่า "เสื้อโหล" ที่เด็กๆ สามารถมีทางเลือกในการเรียนได้มากยิ่งขึ้น


การประกันว่าแต่ละชุมชนท้องถิ่นจะมีเครือข่ายการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างชุมชนและโรงเรียนและระหว่างชุมชนเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ระหว่างชุมชนมากขึ้น


และท้ายที่สุดท่ามกลางการเรียนรู้อย่างมีความสุขสะท้อนความเป็นท้องถิ่นจะต้องมีการประกันว่าเด็กๆ มีมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีเทียบได้ในระดับสากล และสอดคล้องกับโลกของความเป็นจริงในตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน ด้วยการพัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลที่มีมาตรฐานรวมถึงการตั้งสำนักทดสอบแห่งชาติขึ้นเพื่อติดตามวัดมาตรฐานการเรียนรู้ในวิชาหลักๆ กับผู้เรียนทั่วประเทศ เพื่อให้การศึกษาไทยแข่งขันได้กับสากลโลก และมีการติดตามผลสถานศึกษาผ่านเครื่อข่ายสารสนเทศทางการศึกษาที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องด้วย





--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : จุลสาร สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ฉบับที่ 12 ประจำเดือน กรกฎาคม 2545

รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย ปีที่4 ฉบับที่ 49 วันที่ 15 มกราคม 2545

สารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ฉบับที่ 42 ประจำเดือนพฤษภาคม 2545

Thailand Education Journal

บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
ใช้การบริหารงานวงจรคุณภาพ PDCA
P(Plan) การวางแผน
- ศึกษามาตรฐานการศึกษาของชาติ
- ศึกษานโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
- ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณภาพการศึกษา
- สร้างจิตสำนึกและค่านิยมแก่บุคลากร
- กำหนดวิสัยทัศน์
- จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
D(Do) ดำเนินตามแผน
- บริหาร จัดการ ส่งเสริม สนับสนุน
- กำกับ ดูแล
- ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในการจัดการเรียนการสอน และรับผิดชอบ
แผนงาน/โครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
C(Check) ตรวจสอบ
- ก่อนดำเนินการ
- ระหว่างดำเนินการ
- สิ้นสุดโครงการ
- เครื่องมือในการตรวจสอบ
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การเขียนรายงานการประเมินตนเอง
A(Action)
- นำผลการไปใช้ในการวางแผนกำหนดเป้าหมายในปีต่อไป
- ปรับปรุงพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จ
บทบาทของบุคลากรในสถานศึกษา
1. เตรียมการ
- ศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง
- ทำความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
- ศึกษาการดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
- ร่วมกับผู้บริหารวางแผนจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ

- ข้อมูลนักเรียน
- ข้อมูลผู้ปกครอง
- แหล่งเรียนรู้
2. ดำเนินการ
2.1 การวางแผน
- ร่วมกับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- กำหนดภารกิจ กิจกรรม โครงการ
2.2 การปฏิบัติตามแผน
- ดำเนินการตามแผน
- ประสานความร่วมมือ
- จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวย
- กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ขอองนักเรียนในห้องเรียน นอกห้องเรียน
2.3 ตรวจสอบและประเมินผล
- ดำเนินการประเมินตนเอง
- เครื่องมือการประเมินตนเอง
- วิเคราะห์ข้อมูล
- ประเมินผล
- เขียนรายงานการประเมินตนเอง
2.4 การปรับปรุงและพัฒนา
- นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง
- วางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป
บทบาทของชุมชน
- ร่วมกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์
- สนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- แหล่งเรียนรู้
- ทรัพยากร
- บุคลากร
- รับทราบรายงานการประเมินตนเอง
- มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
บทบาทของผู้ปกครอง
- ร่วมกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์
- ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน
- ดำเนินกิจกรรมตามแผน
- รับทราบรายงานการประเมินตนเอง
- ข้อมูลย้อนกลับการจัดการเรียนการสอน และคุณภาพนักเรียน
http://www.thai-school.net/view_da.php?ID=46
ประกันคุณภาพคืออะไร

ประกันคุณภาพ คือ การวางแผนและการปฏิบัติของหน่วยผลิตที่มุ่งจะผลิตสิ่งที่มีคุณภาพ

ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ผลผลิต ดังนั้น การประกันคุณภาพทางการศึกษาจึงเป็นกระบวน

การวางแผน และ กระบวนการจัดการของผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคม

เชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร

และตรงกับความมุ่งหวังของสังคม

®ทำไมต้องประกันคุณภาพการศึกษา

เป็นความคิดที่ตรงกับ คำว่า รับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) ที่สังคมมีสิทธิจะ

เรียกร้องให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาได้เพียรพยายามจะให้การศึกษา

พัฒนาบุตรหลานของเขาอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด เพื่อให้บุตรหลานของเขามีความรู้

ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล

สนองความสนใจ ความต้องการและความถนัดที่แตกต่างกัน และข้อสำคัญทุกคนมีคุณสมบัติ

ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไปนี้ไม่ว่า

ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนไหน เขาทวงสิทธิว่าบุตรหลานของเขาจะต้องได้

รับการศึกษาที่มีมาตรฐานคุณภาพสูงเท่ากับการวิ่งเต้นไปฝากบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนดังๆ

ระบบประภันคุณภาพจะยอมไม่ได้ ถ้าบุตรหลานของเขาเสียเวลามารับการศึกษาครบเวลาแล้ว

ไม่มีคุณภาพ

®ใครเป็นผู้ประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตจากโรงงาน จะประกันโดยคณะบุคคลผู้บริหารจัดการโรงงาน

และหุ้นส่วนฉันใด คุณภาพของการจัดการศึกษาจะประกันโดยสถานศึกษาและหุ้นส่วน ผู้ประกัน

โดยตรง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู บุคลากรในสถานศึกษา หุ้นส่วนที่ร่วมรับผิดชอบ

คือ คณะกรรมการโรงเรียนที่มีผู้แทนชุมชนและผู้ปกครองเป็นหลัก รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระดับอำเภอ จังหวัด เขต กรมเจ้าสังกัด และกระทรวง

® ใครเป็นฝ่ายทวงสิทธิ์การประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้ทวงสิทธิ์ของคุณภาพสินค้า คือ ผู้บริโภค ผู้ทวงสิทธิ์ของการประกันคุณภาพการศึกษา

เรียงตามลำดับ คือ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมประเทศชาติ นั่นคือทุกคนที่ได้รับ

ผลกระทบจากคุณภาพของนักเรียนที่จบจากสถานศึกษา

® โรงเรียนที่มีระบบประกันคุณภาพต่างกับโรงเรียนที่ไม่มี



ประกันคุณภาพ
ไม่ประกันคุณภาพ



1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้านสูง

ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ


1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แน่นอน สูงต่ำ

ผันแปรตามปัจจัยต่างๆ



2. นักเรียนทุกคนได้มาตรฐาน-สม่ำเสมอ




2. นักเรียนบางคนได้มาตรฐานในบางด้าน

ผันแปรไม่แน่นอน



3. นักเรียนและผู้ปกครองรู้ล่วงหน้าว่าจะได้

รับผลอะไรจากการเรียนในสถานศึกษา

และเป็นผลที่ตรงกับความต้องการ


3. ไม่รู้ล่วงหน้าชัดเจน แต่คาดการณ์ได้

จากลักษณะของโรงเรียน และจากศิษย์เก่า

ที่ไปศึกษาต่อหรือทำงาน



4. ผู้ปกครอง ชุมชน ครู หน่วยจัดการศึกษาในท้องถิ่น

มีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพที่ผสม

กลมกลืนระหว่างมาตรฐานสากล มาตรฐานชาติ

และมาตรฐานท้องถิ่น
4. ครูสอนตามหนังสือมากกว่าการคิดถึงมาตรฐาน

คุณภาพ

5. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำการจัดการเพื่อ

ควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยผนึกกำลัง

กับครู คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง

ชุมชน วางแผนการยกระดับคุณภาพการ

จัดการเรียนการสอน เพื่อให้บังเกิดผลที่

เด็กนักเรียนตามมาตรฐาน มีการตรวจสอบ

ยอมรับในแผนดำเนินงานของโรงเรียน
5. ส่วนใหญ่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของ

ผู้บริหาร และครูบางคนที่จะจัดการเรียน

การสอนอย่างมีคุณภาพบ้าง มักไม่

สามารถแสดงแผนการบริหารการจัดการ

และแผนการจัดการเรียนการสอนที่ได้

มาตรฐานครบถ้วนทั่วถึง ชุมชนไม่มีส่วน

ร่วมทั้งการวางแผน และการตรวจสอบ

เห็นชอบกับแผน

6. ครูได้รับการพัฒนาและจูงใจให้วางแผน

จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลาง เน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้

นำไปสู่การบรรลุมาตรฐานคุณภาพการ

เรียนรู้อย่างครบถ้วน ให้ผู้เรียนทุกคนเรียน

เต็มศักยภาพ ผู้บริหารและคณะกรรมการ

โรงเรียนติดตามตรวจสอบการเรียนการสอน

และช่วยให้มีคุณภาพอย่างเป็นระเบียบระบบ
6. ผู้บริหารและครูไม่สนใจ การวางแผน

การสอน มักสอนโดยยึดเนื้อหา และ

หนังสือเรียน ครูเป็นศูนย์กลาง ครู

บางส่วนมีความสามารถเฉพาะตัวช่วย

ผู้เรียนบางส่วนที่มีความพร้อมมากให้

บรรลุมาตรฐาน คุณภาพ การกำกับ

ติดตาม ตรวจสอบ ไม่ชัดเจน ผู้เรียน

แต่ละบุคคลไม่ได้รับการส่งเสริมให้

เรียนรู้เต็มศักยภาพ ไม่มั่นใจว่าผู้เรียน

ทุกคนจะบรรลุมาตรฐานคุณภาพ

7. มีระบบการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง

มุ่งตรงต่อการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ และ

บันทึกลงแฟ้มผลงานที่ผู้บริหารและครู

ตรวจสอบผลการเรียนและบันทึกผล นำผล

มาใช้เพื่อการพัฒนาและรายงานสู่ชุมชน

สม่ำเสมอว่าจัดการเรียนการสอน ทำให้

บังเกิดผลตามเป้าหมายคุณภาพการเรียนรู้

ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ดีเพียงใด
7. มีการวัดผลประเมินผลตามระเบียบ ไม่ได้

มุ่งตรงต่อมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้

ไม่มีการเอาใจใส่กำกับพิจารณาผลการ

เรียนรู้ของผู้เรียน มักปล่อยปละละเลยใน

คุณภาพการเรียนการสอน เมื่อประเมินผล

ปลายภาคเรียนจึงไม่เห็นผลสำเร็จใน

คุณภาพการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่ต้องการ

ได้ทั่วถึงผู้เรียนทุกคน

8. มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก เช่น

คณะกรรมการโรงเรียน หรือหน่วยงานใน

อำเภอ จังหวัด เพื่อกำกับการวางแผนการ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

การบริหารทรัพยากรมนุษย์



การบริหารงานบุคคล
“คน” เป็นหนึ่งในปัจจัยทางการบริหารที่สำคัญและยอมรับกันทั่วไป เรียกย่อ ๆ ว่า “4 M’s” อันประกอบด้วย บุคลากร หรือทรัพยากรมนุษย์ (Man) เงิน (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Materials) และการจัดการ (Management) จะพบว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เพราะหากขาด กำลังคนก็จะไม่มีตัวขับเคลื่อนปัจจัยอื่น ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความ สำคัญในการบริหารคนในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันคือ การบริหารงานบุคคล
ความหมายของการบริหารงานบุคคล
คำว่า “การบริหารงานบุคคล” มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้
เฟอริคซ์ เอ ไนโกร (Felix A. Nigro) ได้ให้นิยามว่า “Personnel Administration is the art of selection new employees and making use of old ones in such manner that the maximum quality and quantity of output and service are obtained from the working force”
แปลว่า“ศิลปะในการเลือกคนใหม่และใช้คนเก่าในลักษณะที่จะให้ได้ผลงานและบริการจากการปฏิบัติงานของบุคคลเหล่านั้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ”
สมพงศ์ เกษมสิน มีความเห็นว่า “การบริหารงานบุคคลนั้น เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน”
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง กล่าวว่า “การบริหารงานบุคคล คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีจุด มุ่งหมาย เพื่อให้ได้คนดี มีคุณวุฒิ และมีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ มาทำงานด้วย ความสนใจ พึงพอใจ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล”
จะเห็นได้ว่า การบริหารงานบุคคลมิใช่เพียงการเลือกและแต่งตั้งคนเข้ามาทำงานเท่านั้น แต่ เป็นการดำเนินกิจกรรมการบริหารคนตั้งแต่เริ่มต้น นับตั้งแต่ก่อนบุคคลนั้นจะเข้าสู่องค์การจนกระทั่งพ้นจากองค์การไป เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารองค์กรโดยรวม






หลักและระบบบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปที่นิยมใช้มี 2 ระบบด้วยกัน คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System หรือ Spoil System) เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่ง กำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึงการนำสิ่งของมาแลกตำแหน่ง ลักษณะที่สำคัญ คือ
1) ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ
2) ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร
3) มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน
ข้อดี - รวดเร็ว แก้ไขสะดวก
- มีความขัดแย้งในการตัดสินใจน้อย
- เหมาะสมกับบางตำแหน่ง
- สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรคการเมือง
ข้อเสีย - ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
- มุ่งรับใช้คนมากกว่าหน่วยงาน
- ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
- หน่วยงานพัฒนาได้ยาก
2. ระบบคุณธรรม (Merit System) เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ อุปถัมภ์ โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลักไม่คำนึงถึง ความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) หลักความสามารถ (Competence) เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อ ส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่
2) หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity) เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน แก่ บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลัก ประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฏหมาย โดยถือว่าทุกคนจะต้องได้ รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
3) หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security of Tenure) ซึ่งต้องได้รับการยอมรับ และคุ้มครองตามกฎหมาย คือ จะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้ หลักการนี้มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพ และเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความ
เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง
4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) คือ การที่ข้าราชการ ประจำต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็ม ความสามารถโดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ยังคงสิทธิทาง การเมืองเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
ข้อดี - สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาค
- ได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน
- สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
- ช่วยหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย - ล่าช้า
- ค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสูง
- สร้างความสัมพันธ์แบบเป็นทางการมากเกินไป
- ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
วิวัฒนาการการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
การบริหารงานบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ยุคกว้าง ๆ ดังนี้
1. ยุคโบราณ หรือยุคดั้งเดิม
แนวความคิดรูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลายคนโดยมีจุดเริ่มต้นจาก งานเขียนเรื่อง “The study of Administration” ของ วู้ดโร วิลสัน (Woodrow Wilson) ในปี ค.ศ. 1887 ซึ่งพยายามแยกการบริหารบุคคลออกจากกิจกรรม ทางการเมืองอย่างเด็ดขาด และหลังจากนั้น
ก็มีงานเขียนของนักวิชาการอีกหลายคน โดยแนวคิดในยุคนี้ ะเป็นการมองการบริหารงานบุคคลใน
วงแคบ คือ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น การจำแนกตำแหน่งการฝึกอบรม การออกจากราชการ และประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ เป็นต้น
โดยไม่สนใจกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมองการบริหารงานบุคคลเป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มี
สำหรับการควบคุมบุคคล (Management Control Activity) มากกว่าจะมองครอบคลุมถึงความ สัมพันธ์ของสมาชิกในองค์การ (People - connected Activity)
แนวความคิดในยุคนี้เป็นการรวมแนวความคิดในเรื่องการแยกการเมืองออกจากการบริหาร อย่างเด็ดขาด เน้นความเป็นกลางทางการเมือง มีระบบคุณธรรมเป็นหัวใจในการบริหารเป็นการ บริหารที่มีลักษณะปราศจากค่านิยม เน้นแต่เทคนิค และประสิทธิภาพในการบริหารงาน และเป็น ปัญหาการบริหารเท่านั้น ซึ่งแนวความคิดแบบโบราณได้รับการท้าทาย และโจมตีจากนักวิชาการหลายท่านนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวิวัฒนาการไปสู่ แนวทางที่ 2
2. ยุคใหม่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นักวิชาการเริ่มเขียนบทความ โดยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการแยกการบริหารออกจาก
การเมืองอย่างเด็ดขาดว่าทำได้จริงหรือไม่ นักวิชาการรุ่นใหม่ พยายามอธิบายว่า การบริหารนั้นจะมี
ค่านิยมทางการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ปัญหาการบริหารงานควรจะต้องพิจารณาในแง่ การเมืองมากกว่าเทคนิค นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งที่โดนโจมตีเป็นอย่างมาก คือ เรื่องของหลัก ประสิทธิภาพ โดยในงานเขียนของเฟอริคซ์ เอ ไนโกร และลอยด์ จี ไนโกร ที่มีชื่อว่า “The New Public Personnel Administration” กล่าวว่า หลักประสิทธิภาพมีจุดอ่อนในตัวมันเอง 2 ประการคือ จะเป็นตัวทำลายมากกว่าเป็นตัวช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน และหลักประสิทธิภาพมุ่งเน้น
แต่เฉพาะกรรมวิธี และเทคนิคในการทำงานโดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ในองค์การใดโดยสิ้นเชิง
แนวความคิดที่ 2 นี้ จะมีมิติใหม่ของการบริหารงานบุคคล 3 ประการ คือ
1) เน้นหนักในการบริหารงานบุคคลในฐานะที่เป็นการเมืองมากขึ้น
2) ให้ความสำคัญกับค่านิยม
3) การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
อาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดในยุคนี้มองการบริหารงานบุคคล เป็นระบบย่อยของระบบ การเมือง จึงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง ซึ่งพฤติกรรมของบุคลากรในระบบจะถูกกำหนด
โดยพลังในทางการเมืองทั้งจากภายนอกและภายใน ระบบการคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบราชการก็มีการ มุ่งเน้นเรื่อง ความเสมอภาคและความยุติธรรมเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงเน้นให้เกิดระบบราชการที่มี ลักษณะสะท้อนความเป็นตัวแทนของทุกกลุ่มของสังคม จึงอาจสรุปได้ว่า ในยุคใหม่นี้จะเป็นการ มองการบริหารงานบุคคลในแง่มุมที่กว้างขึ้น โดยมองที่ความสัมพันธ์ของบุคคลกับองค์กรและการ ปฎิสัมพันธ์ต่อกันในทุกมิติมากกว่าที่จะมองแค่เป็นการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร เช่นในยุคโบราณ
วิวัฒนาการการบริหารงานบุคคลภาครัฐในไทย
ระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ควบคู่กับระบบราชการ การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งมักสืบเนื่องมาจากการปฏิรูประบบราชการ หรือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคสำคัญ ดังนี้
1. ยุคระบบศักดินา – บรรดาศักดิ์
ยุคนี้ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะการบริหารงานบุคคลทุกอย่างจะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ ตลอดช่วง เวลานี้มีการปฏิรูปสำคัญ 2 ครั้ง กล่าวคือ สมัยพระบรมไตรโลกนาถมีลักษณะเป็นการปรับปรุง โครงสร้างของระบบราชการ ทำให้มีการแยกหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนขึ้น การใช้ กำลังคนเริ่มเป็นไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นการปฏิรูปครั้ง สำคัญยิ่ง ในขณะนั้นไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศ จึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเป็นอย่างมาก ได้มีการปฏิบัติการบริหารงานบุคคลตามแบบตะวันตกพร้อม ๆ กับการปฏิรูปการปกครองและการ บริหารโดยพระองค์โปรดให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง แทน เวียง วัง คลัง และนา ในแต่ละกระทรวงมีเสนาบดี เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา และมีฐานะเท่าเทียมกัน ผลของการปฏิรูปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการคือ
1) แยกราชการทหารออกจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนอย่างเด็ดขาด
2) มีการจัดการศึกษาฝึกอบรมและสอบแข่งขันคนเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรม ในกระทรวงมหาดไทย แทนการฝากฝังและชุบเลี้ยงในระบบอุปถัมภ์แบบที่มีมาก่อน
3) เลิก“ระบบกินเมือง” จัดระบบจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ รวมทั้งมีการจัดผล ประโยชน์ตอบแทนรูปแบบต่าง ๆ
4) เปลี่ยนลักษณะข้าราชการตามหัวเมืองจากลักษณะ “ข้าราชการปกครอง” หรือ “นาย ประชาชน” ซึ่งทำหน้าที่ปกครองประชาชนมาเป็น “ข้าราชการพลเรือน” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนและบริหารราชการแผ่นดิน
5) ส่งเสริมให้ข้าราชการไปรับราชการหัวเมือง โดยให้คนท้องถิ่นได้รับราชการใน ท้องถิ่นนั้น ๆ และให้คนที่รับราชการตามหัวเมืองได้รับประโยชน์เร็วกว่าและยิ่งกว่าคนที่รับราชการ ในกรุง ลักษณะสำคัญของการบริหารงานบุคคลในยุคนี้ คือ การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของพระมหากษัตริย์
แต่ในช่วงตอนปลายยุคดุลยพินิจในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ ได้ยกมาอยู่
ในความรับผิดชอบของเจ้ากระทรวงเป็นสำคัญ กล่าวคือ เจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงมีอิสระในการ สรรหาคนเข้ารับราชการได้แต่ก็ยังมิได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติ หรือการควบคุมมาตรฐาน ในการบริหารงานบุคคลเป็นส่วนกลาง

2. ยุคระบบมีชั้นยศ (พ.ศ. 2472 – 2475)
ยุคนี้เป็นยุคแรก ที่นำระบบคุณธรรมมาใช้บริหารงานบุคคลของราชการไทย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การเข้ารับราชการถือเป็นสิทธิของประชาชน ทุกคนตามหลักความเสมอภาคในโอกาส จึงมีการเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถเข้ารับ ราชการโดยการเลือกสรรอย่างเป็นกลาง และยุติธรรม ข้าราชการทุกคนได้รับเงินเดือนตามบัญชี เงินเดือนกลาง การจัดระเบียบบริหารงานบุคคลของราชการได้ทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎหมาย เกี่ยวกับระบบบริหารงานบุคคลในภาคราชการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2471 ซึ่งประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 มีหลักการของระบบคุณธรรม ซึ่งปรากฏ ตามพระราชปรารภในตราพระราชบัญญัตินี้ ความว่า
“โดยที่มีพระราชประสงค์จะวางระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปในทางเลือกสรร ผู้มีความรู้ และความสามารถเข้ารับราชการเป็นอาชีพไม่มีกังวลด้วยการแสวงผลประโยชน์ในทาง อื่น ส่วนฝ่ายข้าราชการก็ให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น เนื่องจากความสะพรั่งพร้อมด้วยข้าราชการ ซึ่งมี ความสามารถและรอบรู้ในวิถีและอุบายของราชการกับหน้าที่และวินัยอันตนพึงรักษาเป็นนิตยกาล”
ตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดยศให้ข้าราชการพลเรือนคล้ายกับทหารด้วยการกำหนด เงินเดือนเป็นไปตามยศ โดยยศข้าราชการพลเรือน มี 2 ชั้น คือ
1) ชั้นสัญญาบัตร ประกอบด้วยยศต่าง ๆ คือ มหาอำมาตย์เอก มหาอำมาตย์โท มหาอำมาตย์ตรี รองมหาอำมาตย์เอก รองมหาอำมาตย์โท และรองมหาอำมาตย์ตรี
2) ชั้นราชบุรุษ มีชั้นยศเดียว คือ ราชบุรุษ
ในยุคนี้ประเทศไทยประกอบด้วยข้าราชการ 3 ประเภท คือ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการพลเรือนข้าราชการพลเรือน จะมีบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 โดยมีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์กรควบคุม การบริหารงานบุคคล ส่วนข้าราชการตุลาการนั้นมีบทบัญญัติในการบริหารงานบุคคลตามพระราช บัญญัติ ซึ่งออกมาในปีเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ.2471 โดยมี คณะกรรมการข้าราชการตุลากร (ก.ต.) ทำหน้าที่เป็นองค์การกลางในการบริหารงานบุคคล
3. ยุคระบบตำแหน่ง (พ.ศ. 2476 - 2478)
ในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มา เป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระบบราชการและการบริหารงาน บุคคลใช้ในราชการให้สอดคล้องและทันสมัยเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก จึงได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476 ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกยศและบรรดาศักดิ์ โดย เปลี่ยนโครงสร้างของระบบบริหารงานบุคคลมาใช้ตำแหน่งเป็นแกนหลักแทนชั้นยศ มีการกำหนด เงินเดือนให้เป็นไปตามหน้าที่ของตำแหน่ง ซึ่งกล่าวได้ว่าการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มแรกของการบริหารงานบุคคลตามระบบตำแหน่งนั่นเอง
การปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลครั้งนี้ ดำเนินการอย่างเร่งรีบและค่อนข้าง เฉพาะเจาะจงบังคับ ทำให้ยากแก่การสับเปลี่ยนโยกย้าย ความไม่คล่องตัวในการบริหารงานบุคคล จึงนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลอีก ในปี พ.ศ. 2479 โดยกลับไปใช้ ระบบชั้นยศเป็นแกนกลางเหมือนเดิม แต่ลดจำนวนชั้นให้เหลือเพียง 5 ชั้น

4. ยุคระบบมีชั้นและตำแหน่ง (พ.ศ.2479 – 2517)
ยุคนี้เป็นช่วงของการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 5 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479, 2482, 2485, 2495 และ 2497
ซึ่งแต่ละฉบับมีการกำหนดชั้นประจำตัวราชการ และเทียบตำแหน่งเข้าสู่ชั้นยศ คือ ชั้นประจำตัวข้าราชการ จะมี 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ กำหนด เงินเดือนให้ได้รับตามชั้นทั้ง 5 และกำหนดให้มีตำแหน่งหลัก 6 ตำแหน่ง คือ เสมียนพนักงานประจำ แผนก หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง อธิบดี และปลัดกระทรวงอีกทั้งกำหนดว่าตำแหน่งใดให้แต่งตั้ง จากข้าราชการชั้นนั้น
ในยุคนี้เป็นยุคที่อำนาจของ ก.พ. ถูกลดลงและเพิ่มขึ้นสลับกันเป็นระยะ เนื่องจาก พอให้อำนาจ ก.พ. มากงานราชการก็ล่าช้า พอกระจายอำนาจไปที่กระทรวง ทบวง กรม ได้เกิดมีข้อครหาเรื่อง ความไม่เป็นธรรม เล่นพรรคเล่นพวก เหลื่อมล้ำไม่ได้มาตรฐาน ยิ่งเมื่อมีการแยก ข้าราชการออกมากประเภท และมีการตั้งองค์การบริหารงานบุคคลแยกออกจาก ก.พ. จึงเกิดปัญหา ขาดเอกภาพเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น ปลายยุคนี้ได้มีข้าราชการ เพิ่มขึ้นอีก 2 ประเภท คือ การออกกฎหมายจัดระเบียบข้าราชการอัยการ (พ.ศ. 2503) และข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2507)
5. ยุคระบบจำแนกตำแหน่ง (พ.ศ. 2518 – ปัจจุบัน)
ใน พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายหลักในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน กฎหมายฉบับนี้ เปลี่ยนหลักการสำคัญที่เดิมเคยยึดคนเป็นหลักมาเป็นยึดงานเป็นหลัก ซึ่งถือได้ว่าการเปลี่ยนแปลง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลในราชการครั้งสำคัญ
ซึ่งสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ มีดังนี้
1) ยกเลิกชั้นประจำตัวข้าราชการมาใช้เป็นระบบตำแหน่งตามหลักระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification) โดยกำหนดให้มี 11 ระดับ
2) กำหนดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามระดับตำแหน่ง
3) หลักการให้ข้าราชการประจำมีความเป็นกลางทางการเมือง
4) เปลี่ยนหลักการเลือกสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง โดยอาจใช้วิธีการสอบ หรือ คัดเลือกได้ ตามเหตุผลหรือความจำเป็นของแต่ละตำแหน่ง และยังเปิดโอกาสให้บรรจุคนเข้ารับ ราชการในระดับตำแหน่งสูง ๆ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
5) นำหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่งบริหารทุก 4 ปี มาใช้
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) มีการปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ. และการปรับปรุงระเบียบ วินัย และการอุทธรณ์ ตลอดจนมีการสร้างระบบร้องทุกข์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังกำหนดให้มี การประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ตลอดจนยกเลิกข้าราชการวิสามัญอีกด้วย
กล่าวได้ว่า ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ มีการแยกประเภทข้าราชการใหม่เพิ่มอีก 4 ประเภท คือ ข้าราชการการเมือง ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการ พ.ศ. 2518 ข้าราชการรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสภา พ.ศ. 2518 ข้าราชการครู ตามพระราชบัญญัติข้าราชการครู พ.ศ. 2521 และข้าราชการตำรวจ ตามพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521
กระบวนการบริหารงานบุคคล
กระบวนการบริหารงานบุคคลนั้น เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในหลายขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1. การวางแผนกำลังคน
2. การกำหนดตำแหน่ง
3. การกำหนดค่าตอบแทน
4. การสรรหาและคัดเลือก
5. การพัฒนาบุคลากร
6. การประเมินผลปฏิบัติงาน
7. การเลื่อนตำแหน่ง
8. การโอน หรือย้าย
9. ขวัญและวินัย
10. การพ้นจากราชการ ระบบบำเหน็จบำนาญ
องค์การกลางการบริหารงานบุคคล
องค์การกลางบริหารงานบุคคลภาครัฐ (Central Personnel Agency) เป็นกลไกสำคัญในการ ควบคุมและกำกับดูแลให้การบริหารงานบุคคลภาครัฐเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน แนวคิดในการจัดตั้ง องค์กรกลางบริหารงานบุคคล เพื่อให้มีความเป็นกลางได้จริง จึงควรเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นกับ ฝ่ายบริหารหรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารโดยตรง จะได้พ้นจากอิทธิพลของฝ่าย บริหาร
ในบางประเทศโดยเฉพาะที่ยึดรูปแบบการบริหารงานบุคคลในสมัยดั้งเดิมมักจัดองค์กลาง ในรูปคณะกรรมการ คือ “Civil Service Commission” ซึ่งจะมุ่งเน้นภาระหน้าที่ในด้านการเลือกสรร บุคคลเข้ารับราชการและหน้าที่สำคัญอื่น ๆ ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ในบางประเทศอาจมี องค์การกลางบริหารงานบุคคลหลายองค์การ เพื่อแบ่งภาระหน้าที่การดูแลระบบบริหารงานบุคคล ภาครัฐประเภทต่าง ๆ ให้เกิดมาตรฐานเดียวกันภายในข้าราชการที่จัดไว้ในกลุ่มงานเดียวกัน แต่จุด สำคัญของระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ คือ การรวมอำนาจ (Centralized System) เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรม และมาตรฐานในการปฏิบัติการต่อบุคคลทุกคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
แต่ก็มีหลายประเทศที่นิยมจัดรูปแบบองค์การกลางบริหารงานบุคคลในลักษณะการกระจาย อำนาจ (DecentralizedSystem) คือ มีหลายองค์การกลางบริหารงานบุคคลเพื่อช่วยกันรับผิดชอบใน กิจกรรมการบริหารงานบุคคลเรื่องต่าง ๆ โดยมักจะคงบางส่วนซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย มาตรฐาน และการพิทักษ์ระบบคุณธรรมไว้เป็นส่วนกลางแล้วกระจายความรับผิดชอบในด้าน ดำเนินการบริหารงานบุคคล เฉพาะเรื่องให้องค์การอื่นมอบให้แก่ส่วนราชการรับไปดำเนินการ
สำหรับประเทศไทยได้แบ่งแยกองค์การกลางบริหารงานบุคคลออกตามประเภทข้าราชการ ในรูปแบบของคณะกรรมการข้าราชการประเภทต่าง ๆ โดยแต่ละองค์การกลางต่างมีอิสระในการ กำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับ ประเภทข้าราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
หน้าที่และบทบาทขององค์การกลางบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
1. กำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
2. เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายบริหารในการดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
3. พิทักษ์รักษาระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
4. ออกกฎระเบียบ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม
5. ดำเนินการในบางเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญของกระบวนการบริหารงานบุคคล เช่น การดำเนินการสรรหาบุคคลมาทำงาน การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน เป็นต้น
องค์การกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนของไทยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันต่างก็มีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลักการบริหารงานบุคคลของตนเอง ซึ่งต่างก็พยายามจะ ให้มีอิสระ และให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าราชการฝ่ายตนมากที่สุด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำใน หลายเรื่องในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการของรัฐ อีกทั้งยังคงมีการแทรกแซงจากฝ่ายการ เมืองอยู่เป็นประจำ ดังนั้นแม้จะพยายามจะนำระบบคุณธรรมมาใช้แต่ก็ไม่อาจกำจัดระบบอุปถัมภ์ ให้พ้นจากวงราชการได้อย่างเด็ดขาด




แหล่งที่มา : http://www.moj.go.th/upload/main_tip/uploadfiles/184_4482.doc

นำปรัชญา 14 เดมิ่งไปใช้


ปรัชญา 14 ข้อของ Dr.Demingการบริหารคุณภาพ TQM
1. ใช้ความคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงอยู่เสมอ (Constancy)ในทุกขั้นตอนของงาน โดยมุ่งไปที่

เป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ

- เพื่อแสดงความสามารถในการแข่งขัน

- ความอยู่รอดขององค์การ

- เพื่อสร้างงานให้ประชาชน

ผู้บริหารต้องเป็นผู้ริเริ่มหาความรู้ใหม่มาใช้ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆและต้องฝึกอบรมพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทุกคนรับรู้ข่าวสารข้อมูลของคู่แข่งตลอดเวลาจะได้รู้จุดอ่อนของตนเองและหาทางปรับปรุงตนเองให้ทันและล้ำหน้า

2. ต้องสร้างปรัชญาใหม่ (New Philosophy) เลิกยึดติดกับปรัชญาแบบเก่า โดย

- ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีการบริหารแบบเก่ามาเป็นการบริหารคุณภาพ

- ต้องสลัดความเชื่อเก่าๆทิ้งไปให้หมด เพราะการเปลี่ยนแปลงเทคนิคโดยไม่เปลี่ยนความคิดและวิธีการทำงานจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจากหัวขยับก่อน เป็นนายสายพันธ์ใหม่(new bleed)คือปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำใหม่ อย่างจริงจัง

แต่ถ้าองค์การวางแผนการปรับเปลี่ยนการทำงานใหม่ทุกคนเห็นด้วยแต่พอทำจริงๆ ก็ทำเหมือนเดิม ดูข้างนอกเหมือนมีการเปลี่ยนแปลง แต่ดูไส้ในเหมือนเดิม ไม่ใช่เป็นนายสายพันธุ์ที่สาม คือสายพันธุ์ใหม่แต่สันดานเดิม (new bleed old behavior)

3. เลิกใช้วิธีการตรวจสอบแบบเก่า (Cause Inspection) ที่มุ่งการจับผิด มาเป็นการตรวจสอบเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ต้องทำให้ทุกคนมีความสุข มีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีความภูมิใจในงาน

การตรวจสอบต้องมุ่งเพื่อการปรับปรุง และต้องทำในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน เพราะคุณภาพของงานจะดีได้ต้องมีการควบคุมในทุกขั้นตอนของกระบวนงาน ตั้งแต่วัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ การออกแบบ ขั้นตอนและวิธีการทำงาน เช่นการทำให้หน่วยงานราชการสามารถให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส คำนึงถึงความสำเร็จของงาน

4. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีหรือการประสานงานที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น (Partner Supplier) เพื่อให้ได้วัตถุดิบทุกชิ้นที่มีคุณภาพ เพราะผลงานที่มีคุณภาพต้องได้ส่วนประกอบทุกชิ้นที่มีคุณภาพ

ผู้บริหารต้องประสานส่งเสริมให้ผู้ผลิตวัตถุดิบปรับปรุงคุณภาพการผลิตของเขาเพื่อความเป็นเลิศในงานของเรา

5. การปรับปรุงต้องทำทุกขั้นตอนของระบบการทำงาน และทำเป็นประจำเสมอต้นเสมอปลาย ทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง (Improve Constantly)

6. ควรจัดให้มีสถาบันฝึกอบรม (Institute Training) และการฝึกอบรมต้องมีหลักการอย่างเป็นระบบ ต้องมีการสำรวจจุดบกพร่องของคนแล้วสร้างหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

เช่น ถ้าจะปฏิรูปการทำงานไปสู่องค์กรคุณภาพ จะต้องฝึกอบรมคนในองค์การอย่างไรต้องดูว่าคนเหล่านั้นมีความรู้แบบใหม่หรือไม่ มีความรู้พื้นฐานอย่างไร ยังขาดอะไรนำข้อมูลที่ได้รับมาจัดทำหลักสูตรที่จะฝึกอบรมเพื่อลบสิ่งที่บกพร่องและเติมสิ่งที่ต้องการให้เขา

7. อบรมผู้นำ (Institute Leadership) พนักงานทุกคนต้องการผู้นำไม่ใช่ผู้คุม ผู้นำสมัยใหม่ต้อง

ใช้ระบบผู้นำไม่ใช่ระบบการใช้อำนาจสั่งการ ข่มขู่ (Supervision)

- ผู้นำ คือผู้ให้การ สนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ ปลอบ ให้กำลังใจ สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ร่วมงาน ต้องมีการประเมินตนเอง ประเมินระบบงาน เสมอ

- ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น ให้ทุกคน ต้องมีความสามารถในการจูงใจผู้ร่วมงาน ทำให้ทุกคนทำงานอย่างมีความสุข มีความภูมิใจในงานที่ทำ

- ผู้นำจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมในบทบาท อำนาจหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง

8. ขจัดความกลัว (Drive out of fear ) และสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้น (Trust) เพื่อให้ทุกคนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ไว้วางใจ เชื่อถือ และนับถือซึ่งกันและกัน

การพัฒนาระบบริหารคุณภาพ พนักงานต้องมีความมั่นใจในความมั่นคงในงานที่ทำ ต้องมีการให้เกียรติ รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ต้องกล้าที่จะพูดถึงข้อบกพร่อง ยอมรับในปัญหาที่มีอยู่และหาทางแก้ไข ปรับปรุงตนเอง

การบริหารแบบเก่าที่ใช้วิธีการทำให้ลูกน้องกลัวนาย เมื่อเกิดข้อบกพร่องหรือมีปัญหาในงาน ก็ไม่กล้ารายงานๆแต่เรื่องดีๆ เพราะกลัวนายไม่พอใจ กลัวถูกลงโทษ

การพิจารณาความดีความชอบปลายปี ตามระบบคุณธรรม ควรเลิกใช้ เพราะทำให้ทุกคนกลัวว่าจะไม่ได้ จึงมักเห็นแก่ตัวไม่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน เพราะกลัวว่าจะมีผลงานมากกว่าตน

วิธีการที่น่าจะสอดคล้องกับความจริงและยุติธรรมคือ การกำหนดเป้าหมาย (Managing Performance) คือ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายขององค์การที่ชัดเจนก่อน หลังจากนั้นนำมาแบ่งเป็นเป้าหมายย่อยๆเป็นรายบุคคล เพื่อให้รู้ว่าต้องทำงานอะไรให้สำเร็จอย่างไร แล้วจะได้อะไร

การตั้งเป้าต้องมีความเป็นธรรม ทุกคนต้องมีงานพอๆกัน โดยพิจารณาจากค่าจ้างเงินเดือน ใครเงินเดือนมากต้องทำงานมาก มีเป้าใหญ่กว่าคนที่เงินเดือนต่ำกว่า ไม่ใช่ใครเก่งต้องทำมากกว่าคนไม่เก่ง 9. ขจัดอุปสรรค (Eliminate Barrier) ในการประสานงาน โดยทำให้ทุกหน่วยงานในองค์การหันมาประสานงานกัน ร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า เพื่อประโยชน์ขององค์การ

10. อย่าติดป้ายชักชวนให้คนอย่าทำผิด (Eliminate Slogan) เพราะเป็นสิ่งไม่จำเป็น ถ้ามีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องสิ่งผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อยมาก

11. เลิกโควตา (No Quotas) เพราะการกำหนดโควตาเป็นตัวเลขเป็นการวัดปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพให้เลิกใช้ แต่ให้ใช้ระบบการสร้างทีมงาน และระบบผู้นำแทน เอาความพึงพอใจของลูกค้าเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จแทนตัวเลข

12. สร้างความสุขในงาน (Increase Joy) ต้องสร้างระบบงานที่สามารถสร้างความกระตือรือร้นในการทำงาน ความสบายใจ ความรู้สึกมั่นคงในงาน มีความสุขในการทำงานให้เกิดขึ้นในองค์การ

วิธีการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย และการลงโทษ ด้วยการตำหนิ เก็บเข้ากรุ เป็นการรังแกผู้ปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความหวาดระแวง ความไม่สบายใจและความขัดแย้งในองค์การ

การให้รางวัลและสิทธิประโยชน์ต้องทำด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้คนเก่ง คนดี มีกำลังใจอยากทำงานอยู่กับองค์การต่อไป

ดังนั้นเกณฑ์การตัดสินเงินเดือน รางวัล หรือตำแหน่ง ต้องมีความชัดเจนและเป็นธรรม การจักการคนเก่งไม่ยาก คือการให้เงินเดือน ผลประโยชน์ตอบแทน ตำแหน่งความรับผิดชอบที่สูงขึ้น แต่การจัดการกับคนไม่เก่งเป็นเรื่องยากมาก คือทำอย่างไรให้พอไปได้ ( ปลดออก ไล่ออก)

13. ให้มีการศึกษา(Education) การหาความรู้เพื่อพัฒนาสมองคนให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ พยายามที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ไม่มีองค์การอยู่รอดถ้าไม่มีการพัฒนาคน

14. ลงมือปฏิบัติ (Do it) เพื่อความสำเร็จขององค์การ ผู้นำต้องมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง มีความรู้จริงเรื่องระบบคุณภาพเพื่อความอยู่รอดle

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

หลัก 14 ประการ ของ เดมิ่ง

นานแล้วแทบจะไม่ได้เขียนบล๊อค “ คนทำงาน ” สาเหตุคงเพราะไม่ค่อยได้ทำงาน หรือเปล่า ? คำตอบ คือ ไม่ค่อยได้ทำงานคุณภาพสักเท่าไหร่ จึงเน้นไปบล๊อค “ บันทึกลูกรัก น้องโบวี่ ” เสียมากกว่า

เคยได้ยินชื่อนี้กันหรือเปล่าค่ะ เดมมิ่ง (W.E Deming) ใครทำงานเกี่ยวกับคุณภาพ คงรู้จักกันทุกคน เพราะเขาพูดเรื่อง การพัฒนาคุณภาพ วงล้อ PDCA และเขาก็เป็นคนคิดบัญญัต เรื่อง “หลักการบริหารคุณภาพ 14ข้อ” (Deming ´s 14 point )

ซึ่งมีดังนี้

จงสร้างปณิธานอันแน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
จงยอมรับปรัชญาใหม่ ๆ ของการบริหารคุณภาพ
จงยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบ
จงยุติวิธีดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินกันที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว
จงปรับปรุงระบบการผลิตและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
จงฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
จงสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น
จงกำจัดความกลัวให้หมดไป
จงทำลายสิ่งกีดขวางต่อความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
จงกำจัดคำขวัญและเป้าหมาย (ที่เกินจำเป็น)
จงกำจัดจำนวนโควต้าที่เป็นตัวเลข
จงกำจัดสิ่งกีดขวางความภาคภูมิใจของพนักงาน
จงจัดทำแผนการศึกษาและฝึกอบรมที่เข้มข้น
จงลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง
http://gotoknow.org/blog/puangpet/313431

การบริหารแบบคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
(Total Quality Management TQM)
ความหมาย
การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คือ แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย
ความเป็นมาของ TQM
TQM เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำทางด้านการผลิตอุตสาหกรรม และสินค้าของสหรัฐเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐจึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ในด้านการผลิต โดยไม่รู้ตัวว่าคุณภาพของสินค้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม
ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง
Dr.Deming ได้ริเริ่มวงจรเดมมิ่ง “Deming Cycle” เพื่อแสดงถึงหลักการทำงาน Plan – Do – Check – Action เพื่อการบริหารที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีจะต้องมีการวางแผน หรือพัฒนาเป้าหมายสำหรับแผนงานและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามแผน หลังจากนั้นแผนต้องถูกนำไปปฏิบัติผล การปฏิบัติจะต้องถูกตรวจสอบหรือทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด และในที่สุดผู้บริหารจะต้องพิจารณาดำเนินการหรือตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไป
วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
• เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
• เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
• เพื่อความอยู่รอกขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
• เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
• เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
• เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้อดีของการบริหารคุณภาพโดยรวม TQM
1 มีระบบทำงานที่ดี
2 มี “มาตรฐานการทำงาน” ที่สามารถตรวจสอบได้
3 ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้า
4 ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง
5 มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงาน
6 มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Top-Down and Buttom-Up)
7 มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจน
8 มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
9 ทุกคนทำงานโดยใช้ PDCA อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง
แนวคิด (Concept ) ของการบริหาร TQM
1 เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
2 ลูกค้าคือหน่วยงานที่ถัดไป (ทั้งภายในและภายนอก)
3 เชื่อมั่นในคุณค่าของคน (บริหารแบบมีส่วนร่วม)
4 P D C A พื้นฐานการบริหารงาน
5 ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจมากกว่าความรู้สึก (SQC)
6 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (CQI / Kaizen)
ข้อเสียของ TQM
• การที่พนักงานบางคนหรือบางกลุ่มอาจจะบกพร่องหรือขาดในเรื่องวินัยเกี่ยวกับคุณภาพ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ยอมมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ
• ความไม่พร้อมต่อการบริหารระบบ ดังเช่น ภายในองค์กรขนาดใหญ่ การพัฒนาระบบ TQM จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสนับสนุนและติดตามความก้าวหน้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การเน้นเฉพาะส่วนของกรมวิธีและข้อมูลทางสถิติมากเกินไป
ข้อจำกัดสำหรับ TQM
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1

• TQM มีคำจำกัดความหรือมีความหมายมากมายตามความคิดเห็นและประสบการณ์ของปรมาจารย์แต่ละท่าน
• ไม่มีคำจำกัดความที่ดีที่สุดเพียงคำจำกัดความเดียว
• ไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว
• แม้คำจำกัดความหรือวิธีการจะแตกต่างกัน แต่ปรัชญาแนวความคิด หลักการสำคัญและวิธีการปฏิบัติจะคล้ายกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเหมือนกัน และให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตไปอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักคุณภาพ เป็นแกนหลักในการบริการการจัดการ
โครงสร้างของ TQM ตามทัศนะของ Dr.Kano (Kano House of Quality)
1. ฐานราก
- เทคโนโลยีของธุรกิจ
- มูลเหตุจูงใจที่ชัดเจน
2 โครงสร้างบ้าน
- วิธีการบริหาร
- แนวคิด
- วิธีการและเทคนิค
3 หลังคาบ้าน
- การประกันคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
6. เทคนิคที่ใช้ใน TQM
1 7 tools
2 SPC
3 JIT
4 TPM
5 QCC
ประโยชน์ที่จะได้รับจาก TQM
1. ช่วยให้ผู้บริการและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริง
2. ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน
3. พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
4. พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ
5. มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์กร ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

http://www.pantown.com/board.php?id=17667&area=3&name=board1&topic=23&action=view

ที่มาที่ไปของ TQM

องค์การถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้วัตถุประสงค์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ต้องการกำไรสูงสุด (Maximize Profit) แต่หากมองเพียงแค่นี้บางครั้งองค์การเองก็ตกม้าตายได้ การมองภาพผลลัพธ์สุดท้าย (Outcome) จึงน่าจะเป็นประเด็นที่ผู้บริหารองค์การต้องมองให้ทะลุมากกว่า เช่น
- การมีสินค้าที่มีคุณภาพพูดกันติดปาก
- ชื่อเสียงบริษัท
- การเป็นมิตรกับสังคม
และการได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะทำการบริหารการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพ ต้นทุนของสินค้าต่ำ หรือบริการดี และราคาขายของสินค้าหรือบริการนั้นๆเหมาะสม ผลประโยชน์ที่ให้กับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ

การได้มาของสินค้าหรือบริการจำต้องมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากความต้องการของผู้ซื้อ โดยอาศัยกระบวนการภายในขององค์การ เช่นเปลี่ยนความต้องการของผู้ซื้อให้รู้ว่าต้องใช้วัตถุดิบอะไร ใช้เครื่องจักรแบบไหน ใช้แรงงานมากน้อยแค่ไหน ใช้พลังงานเท่าไหร่ ใช้กระบวนการผลิตอย่างไร เพื่อให้ได้สินค้า หรือบริการที่เป็นที่พึงพอใจของผู้ซื้อ

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป การผลิตสินค้าที่มีรูปแบบเดิมๆ คือผลิตเท่าที่มีความสามารถ (Product- Out) ก็เริ่มกลายเป็นผลิตตามคำสั่ง (Market-in) องค์การเองจำต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การบริหารของผู้บริหารในองค์การก็มีความยากลำบากมากขึ้น แนวทางการบริหารที่ออกคำสั่งแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำพาองค์การฝ่ามรสุมทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้

องค์การจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทุกๆคน ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามลำดับชั้นการบริหาร นั่นคือองค์การจำต้องหาเครื่องมือทางการบริหารแบบใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับ

นิยาม

TQM เป็นรูปแบบการบริหาร (Management Model) รูปแบบหนึ่งในหลายๆรูปแบบ โดยมีปรัชญาว่า “หากองค์การสามารถผลิตสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าที่พึงพอใจได้แล้ว ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการ” แต่แนวคิดนี้จะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกระดับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน

ดร.โนริอากิ คาโน่ ได้สร้างโมเดลจำจองการบริหารออกมาเป็นรูปบ้าน เพื่อสรุปแนวคิดการบริหาร โดยอาศัย
- ช่องทางการบริหารนโยบายผ่านผู้บริหารระดับสูง
- ช่องทางการบริหารงานประจำวันผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้น
- ช่องทางการบริหารงานข้ามสายงานผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้น และซุปเปอร์ไวซ์เซอร์
- ช่องทางการแก้ไขปัญหาผ่านผู้บริหารระดับต้น/ซุปเปอร์ไวเซอร์/หัวหน้างาน
- และช่องทางกิจกรรมล่างสู่บนผ่านพนักงานหน้างาน

ทั้งนี้พนักงานทุกระดับต้องมีแนวคิดต่างๆเช่น การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ การยึดว่ากระบวนการถัดไปเป็นลูกค้าของเรา การใช้วงจรการบริหาร P-D-C-A คุณภาพสร้างได้ที่กระบวนการ การใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง การจัดลำดับความสำคัญ การบริหารกระบวนการ การกำหนดมาตรฐาน และการป้องกันปัญหาเกิดซ้ำ อีกทั้งใช้เครื่องมือช่วยต่างๆเช่น QC 7 Tools , New QC 7 Tools, วิธีทางสถิติ ตลอดจนเครื่องมือต่างที่จะหยิบมาใช้เมื่อมีความจำเป็นและเหมาะสม

http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=137eee2daccae912373b1d2bbcea40ac&bookID=93&read=true&count=true
การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร(TQM) กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาที่ มีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้สถานศึกษาทุกแห่งจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพการศึกษา ดังนั้นในบทความนี้จึง

มุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไปมุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไป
คุณภาพการศึกษาคืออะไร

มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามนิยามความหมายของคำว่า “คุณภาพการศึกษา” ไว้ ดังเช่น Baumgart (1987 : 81 - 85) ได้กล่าวถึงความหมายของคุณภาพการศึกษาว่าขึ้นอยู่กับมุมมองในการให้คำนิยาม หากเป็นมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ก็จะต้องมองว่าคือ ผลผลิตบัณฑิตที่ จบการศึกษาออกไปเป็นความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด หากไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก็นับว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งถือว่ามีคุณภาพต่ำ ส่วนมุมมองทางด้านสังคมวิทยาจะพิจารณาว่าสถาบันการศึกษาได้ตอบสนองให้กับสังคมได้ดีเพียงใด สถาบันที่ มีชื่อเสียงจึงเป็นสถาบันที่ มีคุณภาพ สำหรับในมุมมองของนักการศึกษาจะพิจารณาจากความสามารถของผู้จบการศึกษาในการแก้ปัญหา และการวิเคราะห์วิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่ มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ Whatmough (1994 : 94 - 95) ที่ กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาเป็นการพิจารณาคุณภาพจากทัศนะของบุคคล2 กลุ่ม นั่นคือ ผู้มารับบริการ และนักการศึกษา หากการจัดการของสถานศึกษาสามารถทำให้ผู้มารับบริการเกิดความพึงพอใจ ก็หมายความว่ามีคุณภาพตามทัศนะที่ หนึ่ง นอกจากนั้นการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการ และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาอีกด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจตามทัศนะของนักการศึกษา

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจนั่นเอง



คำสำคัญ: นวัตกรรมการบริหาร
สร้างเมื่อ: 2009-02-09 19:50:17 แก้ไขเมื่อ: 2009-02-09 19:50:17

http://portal.in.th/inno-arun/pages/1055/การบริหารการศึกษาแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร (TQM in Education)
TQM คือ ระบบการบริหารจัดการองค์การที่ เน้นคุณภาพในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ กิจกรรมขององค์การ โดยบุคลากรทุกคนในองค์การให้ความร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง


การจัดการคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า “การจัดการ” และคำว่า “คุณภาพการศึกษา” ดังนั้นการจัดการคุณภาพการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทุกคนที่ เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาซึ่งเป็นที่ เชื่อมั่นหรือเป็นที่ พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย


การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร(TQM) กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษาพิจารณาได้จากสิ่งใด
การจัดการคุณภาพการศึกษา คืออะไร
วิธีการที่ สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการศึกษา http://portal.in.th/inno-arun/pages/1054/
TQM คืออะไร
คำสำคัญ: นวัตกรรมการบริหาร
สร้างเมื่อ: 2009-02-09 19:45:13 แก้ไขเมื่อ: 2009-02-09 19:45:13

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ห้องสมุด 3 ดี

ห้องสมุด 3 ดี + 3 ' D บรรณารักษ์ทุกคนปรับ Look ใหม่ สร้างบรรยากาศห้องสมุดให้อบอุ่นและเป็นมิตร พร้อมทั้งสรรหาหนังสือที่ดีไว้ในห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานรายชื่อหนังสือดีที่น่าอ่านสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ๖ เรื่อง และหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้คำแนะนำไว้ อ่านข่าวเรื่องห้องสมุด 3 ดี ขอเล่าสู่กันฟังต่ออีกช่องทาง ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ ตามโครงการพัฒนาห้องสมุด ๓ ดี เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ว่า ต้องการให้บรรณารักษ์ทุกคนปรับ Look ใหม่ สร้างบรรยากาศห้องสมุดให้อบอุ่นและเป็นมิตร พร้อมทั้งสรรหาหนังสือที่ดีไว้ในห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานรายชื่อหนังสือดีที่น่าอ่านสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ๖ เรื่อง และหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้คำแนะนำไว้
รมว.ศธ.กล่าวแก่บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทั่วประเทศจำนวน ๘๕๒ คนว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญกับงานด้านการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ หากมองในแง่งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับงบประมาณมากเป็นอันดับ ๑ โดยได้รับงบประมาณมากถึง ๓.๕ แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับงบฯ ไทยเข้มแข็งอีก ๕ หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้น ศธ.ได้รับงบประมาณปี ๒๕๕๓ กว่า ๔ แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์หรือคิดเป็น ๓.๘% ของ GDP และเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ
รมว.ศธ.กล่าวถึงงานที่จะทำต่อไปของบรรณารักษ์ว่า จะต้องยึดถือตามทิศทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) เป็นกรอบงานใหญ่ ทั้งการทำงานในปีนี้และ ๑๐ ปีข้างหน้า มิฉะนั้นจะเดินไปแบบไร้ทิศทาง ซึ่งเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาคือ "การให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ" ดังนั้นบรรณารักษ์จึงจำเป็นจะต้องไปดูว่าอยู่ส่วนไหนของการปฏิรูปการศึกษา ที่จะมุ่งเน้นใน ๓ เสาหลัก คือ คุณภาพ การขยายโอกาสทางการศึกษา และการมีส่วนร่วม ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องรับไปปฏิบัติ เพราะจะต้องมีเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกันในทุกหน่วยงานทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามนโยบาย "๓ ดี ๔ ใหม่" (๓ ดี/D คือ Decency-Democracy-Drug-Free ส่วน ๔ ใหม่คือ สร้างคนไทยหรือผู้เรียนยุคใหม่-ครูยุคใหม่-ระบบบริหารจัดการแบบใหม่-แหล่งเรียนรู้หรือสถานศึกษายุคใหม่) สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน คือ ผู้เรียน องค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้

รมว.ศธ.กล่าวว่า ในปีหน้าจะมีการเพิ่มห้องสมุด ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้แบบก้าวกระโดด โดยจะจัดสร้างห้องสมุดประชาชนเพิ่มขึ้น ๑๕๐ แห่งภายใน ๓ ปี ขณะเดียวกันจะจัดสร้างห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีเพิ่มใหม่มากถึง ๑๐ แห่งในปีนี้ พร้อมทั้งสร้างคุณภาพควบคู่ไปพร้อมกับงบประมาณในการจัดสร้างและปรับปรุงห้องสมุดที่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นแนวคิดของห้องสมุด ๓ ดี จึงเกิดขึ้น คือ การมีหนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดดี

หนังสือดี สิ่งที่อยากฝากให้ช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรในการจัดหาหนังสือดีๆ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดห้องสมุดทุกแห่งจะต้องมีหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานรายชื่อหนังสือดีที่น่าอ่านสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ๖ เรื่อง คือ พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) รวมทั้งหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงให้คำแนะนำไว้ นอกจากนั้นจะต้องให้ประชาชน ผู้เรียน หรือผู้ใช้บริการห้องสมุด ได้มีส่วนร่วมในการจัดหาหนังสือดีๆ ด้วย สำหรับเรื่อง e-Book ต้องเข้าไปดูราคาที่จะจัดซื้อเพื่อให้ได้หนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุด ประหยัดงบประมาณมากที่สุด การจัดซื้อหนังสือที่เหมือนกันกับหน่วยงานอื่นๆ ควรไปเทียบเคียงกับการจัดซื้อของหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าได้ส่วนลดจากราคาหน้าปกเท่าไร เป็นต้น

บรรยากาศดี บรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน การสร้างห้องสมุดจึงควรทำให้เป็นสถานที่อบอุ่นและเป็นมิตร เพราะถ้ามองภาพผู้ใช้บริการเดินเข้าไปในห้องสมุดแล้วไปพบเสือ ๒ ตัวนั่งอยู่หน้าห้องสมุด ก็คงไม่มีใครอยากเข้าไป ซึ่งจะทำให้กลายเป็นห้องเสือเฝ้าหนังสือ จากการที่เคยไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์แห่งหนึ่ง ถือหลักสำคัญคือเป็น Green Library ที่จัดให้มีบรรยากาศสีเขียว มีต้นไม้ร่มรื่น

บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดดี อยากเห็นบรรณารักษ์ทุกคนปรับ New Look หรือปรับโฉมใหม่ ถ้าสมมุติว่าบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ปรับลุ๊คใหม่ไปแล้ว ๘๐% ก็ขอให้เพิ่มอีก ๒๐% ให้ครบร้อย เพื่อให้บรรณารักษ์ทุกคนปรับลุ๊คใหม่ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งหวังว่าการสัมมนาครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานำสิ่งดีๆ กลับไปด้วย นอกจากนี้ การเป็นบรรณารักษ์ที่ กศน.อยากเห็น เพื่อให้ห้องสมุด กศน.เป็นแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่อย่างแท้จริง คือ มีความเป็นมืออาชีพ-มีจิตอาสา จิตบริการ-มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

รมว.ศธ.กล่าวย้ำด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ ได้ทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสนพระทัยในกิจการห้องสมุดของ กศน. และห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี มาโดยตลอด ดังนั้นสิ่งใดที่ทรงพระราชทานข้อคิดต่างๆ ไว้ เราจะน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมนำไปปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิผลทุกประการ เพื่อความเป็นศิริมงคล ความก้าวหน้า อันจะนำไปสู่การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยต่อไป.

อ้างอิงมาจาก http://gotoknow.org/blog/siriwanbanthaen/311302

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการ
จะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและ มานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไปในวงการศึกษา
E-learning
ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ว่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเว็ปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ Web-Board News-group เป็นต้น
ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมายเดียว กับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลคทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน
การนิยามความหมาย แก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Technology-based Learning มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอ็ซทราเน็ต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)


ห้องเรียนเสมือนจริง
ความหมาย การเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลักที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้ โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
บุญเกื้อ ควรหาเวช ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543: 195)
รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการจัดการเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลัก สูตรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการเรียน การสอนที่จะต้องมีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดผู้เรียนและผู้สอน เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอนผู้เรียนไม่ต้องเดินทางแต่เรียกผ่านเครือข่ายตามกำหนดเวลาเพื่อเข้าห้องเรียนและเรียนได้แม้จะอยู่ที่ใดในโลก
โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
รศ.ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น (อุทัย ภิรมย์รื่น, 2540) ได้จำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียนแบบ เสมือนจริงได้ 2 ลักษณะ คือ
1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education Environment
2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียนการสอนทางไกลทั้งสองลักษณะนี้
ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีทั้งแบบที่เป็นห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก เช่น Internet, WWW. ขณะนี้ได้มีผู้พยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยง Site ต่างๆ ที่ให้บริการ ด้านการเรียนการสอนทางไกล แบบ Virtual Classroom ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจัดบริเวณอาคาร สถานที่ ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่างๆ ศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษา กิจกรรม ทุกอย่างเสมือนเป็นชุมชนวิชาการจริงๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่ง ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลเข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถ โต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจริง ๆ การติดต่อกับมหาวิทยาลัยเสมือนจริงทำได้ดังนี้
1. บทเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ อาจจะส่งให้ผู้เรียนในรูปวีดีทัศน์ หรือวีดิทัศน์ผสมกับ Virtual Classroom หรือ CD-ROM ที่มีสื่อประสมทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว โดยผ่านระบบสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์ โทรสาร หรือทางเมล์ ตามความต้องการของ ผู้เรียน
2. ผู้เรียนจะติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง ในขณะสอนก็ได้หากเป็นการเรียนที่ Online ซึ่งจะเป็นแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ที่โต้ตอบโดยทันที ทันใด ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Synchronous Interaction) เช่น การ Chat หรืออาจใช้การโต้ตอบแบบไม่ทันทีทันใด (Asynchoronous Interaction) เช่น การใช้ E-mail, การใช้ Web- board เป็นต้น
3. การทดสอบ ทำได้หลายวิธี เช่น ทดสอบแบบ Online หรือทดสอบโดยผ่านทางโทรสาร ทาง E-mail และทางไปรษณีย์ธรรมดา บางแห่งจะมีผู้จัดสอบโดยผ่านตัวแทนของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่นักศึกษาอาศัยอยู่ การเรียนทางไกลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจได้ตลอดเวลา ในทุกแห่งที่มีการเปิดสอน ไม่ต้องเข้าชั้นเรียนก็ได้ ในการศึกษาหาความรู้ จึงมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปมาก นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่นซึ่ง อยู่ห่างไกลกันได้ เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือซึ่งกัน และกันทำงานร่วมกัน (Collaborative Learning) อย่างไรก็ตามการเรียน ทางไกลลักษณะนี้อาจจะขาดความสัมพันธ์แบบ face-to-face คือการเห็นหน้า เห็นตัวกันได้แต่ปัจจุบันนี้ก็มีกล้องวีดิทัศน์ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ เครือข่าย ก็สามารถทำให้เห็นหน้ากันได้ ดังนั้นปัญหาเรื่อง face-to-face ก็หมดไป ความสำเร็จและ คุณภาพของการเรียนในระบบนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนค่อนข้างมาก เพราะจะต้องมีความรับผิดชอบต้องบริหารเวลาเพื่อติดตามบทเรียน การทำกิจกรรมและการทดสอบต่างๆให้ทันตามกำหนดเวลา จึงจะทำให้การเรียนประสบผล สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะการสอนทาง ไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เข้าใจระบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมาก ยิ่งขึ้นขอกล่าวถึง
1. การจัดการศึกษาทางไกล และ
2. การจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน
ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education)
ความหมาย ได้มีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้
เบิร์ก และฟรีวิน (E.R.Burge and CC Frewin ,1985 : 4515) ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียนหรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสารสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โฮล์มเบิร์ก (Borje Holmber, 1989: 127 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 38) ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ไกรมส์ (Grimes) ได้นิยามการศึกษาทางไกลว่า คือ "แนวทางทุก ๆ แนวทางของการเรียนรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนปกติที่เกิดขึ้น แต่ในกระบวนการเรียนรู้นี้ครูผู้สอนและนักเรียนอยู่คนละสถานที่กัน " นอกจากนี้ ไกรมส์ ยังได้อธิบายถึงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ผ่านสื่อทางไกล โดยเขาได้ให้นิยามที่กระชัย เข้าใจง่ายสำหรับการศึกษาทางไกลสมัยใหม่ไว้ว่าคือ "การนำบทเรียนไปสู่นักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้เทคโนโลยีนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน" และไกรมส์ยังได้ถอดความของ คีแกน (Keehan) ซึ่งได้กำหนดลักษณะเฉพาะของการเรียนการสอนทางไกลไว้ ดังนี้คือ
1. เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนอยู่ต่างถานที่กัน 2. สถาบันการศึกษาเป็นผู้กำหนดขอบเขตและวิธีการในการบริหารจัดการ (รวมทั้งการประเมินผลการเรียนของนักเรียน) 3. ใช้กระบวนการทางสื่อในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร และเป็นตัวประสานระหว่างครูกับนักเรียน 4. สามารถติดต่อกันได้ทั้งระหว่างครูกับนักเรียนและหรือสถาบันการศึกษากับนักเรียน
วิจิตร ศรีสอ้าน (2529 : 5 - 7) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนทางไกลว่าหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการทางการศึกษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ ด้วยตนเองอยู่กับบ้าน ไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ การเรียนการสอนทางไกลเป็นการสอนที่ผู้ เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยอาศัยสื่อประสมเป็นสื่อการสอน โดยผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบหน้ากันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการ การศึกษาเท่าที่จำเป็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสื่อประสมที่ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่สะดวก
สนอง ฉินนานนท์ (2537 : 17 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 7) ได้ให้ความหมาย ของการศึกษาทางไกลว่าเป็นกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ตาม การเรียนการสอนลักษณะ นี้ผู้สอนกับผู้เรียนแยกห่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์โดยผ่านสื่อการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้สื่อการเรียนทางไกลนั้น ใช้สื่อในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นรายการวิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์
วิชัย วงศ์ใหญ่ ( 2527 อ้างถึงในสารานุกรมศึกษาศาสตร์. 2539: 658 ) การสนทางไกล (distance teaching) หมายถึง ระบบของการจัดการศึกษาวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ต้องมาทำ กิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา สถานที่ โดยคำนึงถึงความ สะดวกและความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลัก รูปแบบของการเรียนจะใช้สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่อที่ติดต่อทางไปรษณีย์ สื่อทางวิทยุ สื่อทางโทรทัศน์และสื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ประเภทอื่น รวมทั้งการพบกลุ่มโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้หรือการสินเสริม เป็นต้น
การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับ
สูงขั้นปริญญา
การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม
โดยสรุป แล้วการศึกษาทางไกล หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่ จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อ ประสม ได้แก่ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบุคคลช่วยในการจัดการ เรียนการสอน

การบริหารแบบมีส่วนร่วม

การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นความพยามที่จะจูงในให้ผู้ที่ร่วมปฏิบัติงานในองค์กร ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันพัฒนางานด้วยความเต็มใจ
ธงชัย สันติวงษ์ (2543 : 138 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม คือการที่ผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการใช้วิธีการแบบเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การให้มีส่วนร่วม ในการวางแผน ช่วยเสนอแนะข้อคิดเห็น เพื่อประกอบ การตัดสินใจ ของผู้บริหาร ตลอดจนการให้โอกาสและอิสระกับกลุ่มที่จะตัดสินใจ ทำงานเองภายใต้เป้าหมาย และนโยบายที่มอบหมายไว้ให้กว้าง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2540 : 16) ได้ให้ความหมายของ การบริหารแบบมีส่วนร่วมว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงาน ในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันในการพัฒนาปฏิบัติอยู่ด้วยความเต็มใจ
สมเดช สีแสง ( 2547 : 229) ได้สรุปความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วมไว้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management) เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงาน ทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ ภายในขอบเขตหน้าที่ของตน ถือว่าเป็นการบริหารที่ดี และเหมาะสมที่สุดกับคุณสมบัติของมนุษย์ในปัจจุบัน การบริหารแบบมีส่วนร่วมนี้เป็นหลักการสำคัญ ของการบริหารแบบใหม่ที่เรียกว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Control หรือ TQC)
จากความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าว จะเห็นว่ามีผู้ให้ความหมาย ไว้แตกต่างกันพอสรุปได้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้การจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผิดชอบ เพื่อการพัฒนาที่ปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงขึ้น
เทคนิคในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ธงชัย สันติวงษ์ (2543 : 138) กล่าวว่า วิธีปฏิบัติในการให้ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงาน มีส่วนร่วมในการบริหาร อาจทำได้ หลายวิธีแตกต่างกันสุดแต่ความเหมาะสม เช่น การจัดให้มีการร่วมประชุมออกความคิดเห็น การเปิดโอกาส ให้ผู้ปฏิบัต ิให้ข้อเสนอแนะให้การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ และให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการปรึกษาผลงานต่างๆ และทบทวนเป้าหมายหรือ จัดกลุ่มคุณภาพ กลุ่ม Q.C. เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันพิจารณา และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มงานด้วยกันเอง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 16-17) ได้ให้ความเห็นว่าเทคนิคที่สำคัญในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่
1. การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Commottee)2. การมีคณะกรรมการคอยให้คำแนะนำ3. การใช้แนวคิดของหมุดเชื่อมโยง (Linking Pin)3. การติดต่อสื่อสารแบบเปิดประตู4. การระดมความคิด5. การฝึกอบรมแบบต่าง ๆ6. การบริหารแบบยึดหลักวัตถุประสงค์ (MBO)
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( 2540 : 17 ) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมไว้ดังนี้
1. ช่วยสร้างความสามัคคีรวมพลังของบุคคลในองค์กร2. ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์กรทั้งหมด3. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการปฏิบัติงานและการย้ายงาน4. ช่วยลดความขัดแย้งและการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และให้สุขภาพจิตของคนในองค์กรดีขึ้น6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร7. สร้างสรรค์หลักการประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์กร8. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม9. ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร10 เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในการควบคุมงานให้ลดน้อยลงและ ทำให้ผลของงานดีขึ้น
สมเดช สีแสง ( 2547 : 230) ได้สรุปถึงประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมว่าประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานรวมกลุ่มกันใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญาและประสบการณ์ของแต่ละคนร่วมกันปรับปรุงงานในหน่วยงานของตน มีข้อดี คือ
1. ผู้ที่รู้ปัญหาดีที่สุด และสามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุดจะแก้ปัญหาได้ถูกต้องที่สุด2. บุคลากรได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และมีส่วนร่วมในการบริหาร3. ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจและทำงานเต็มความสามารถ
ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาในชุมชน
กองนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2543 ก : 91-95) ได้กล่าวถึงขั้นตอนกระบวนการ มีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาไว้ ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานก่อนดำเนินการ2. การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน3. การสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้มีส่วนร่วม4. การสร้างกิจกรรม5. การต่อรองเพื่อดำเนินกิจกรรม6. การร่วมกันดำเนินการ7. การร่วมกันประเมินผลการดำเนินการ8. การร่วมกันรับผลการดำเนินการ
การกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว การทำงานที่ยึดการทำงานแบบมีส่วนร่วมต้องมี การทำงานเป็นระบบทีม มีการทำงานเป็นกลุ่ม ที่มีการเน้นพฤติกรรมกระบวนการกลุ่ม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ที่ร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เน้นคุณภาพนักเรียน
รุ่ง แก้วแดง ( 2542 : 277-278) กล่าวถึงแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชม และนักวิชาการ ในหนังสือปฏิวัติการศึกษาไทยว่า การจัดการศึกษาเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองจึงต้องกระจายความรับผิดชอบไปให้ผู้ปกครอง ต้องส่งเสริมให้มีสมาคมผู้ปกครอง (Parent teachers Association) หรือ PTA ในทุกสถานศึกษาเพื่อให้มีบทบาทความร่วมมือ ด้านวิชาการกิจการนักเรียน สามารถแสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ปกครอง และผ่านผู้แทน ที่อยู่ในคณะกรรมการโรงเรียน เป็นวิธีที่ให้ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น เอกสารอ้างอิงธงชัย สันติวงษ์. (2543) หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน จำกัด (มาหาชน). สมเดช สีแสง. ( 2547 ) . คู่มือมือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ . (2540). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาหมวด 2 บริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ . (2543 ก ). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ . กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ .

อ้างอิงมาจาก http://www.krukeng.ob.tc/kd1/Participation%20Management.htm