วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน
บทวิเคราะห์ “การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน”

(School-based Management : SMB)

------------------

ความเป็นมา

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหรือการบริหารแบบฐานโรงเรียน (School based

Management) ที่นิยมเรียกกันว่า SBM นี้ เป็นแนวคิดในด้านการบริหารสถานศึกษา (School Management Approach) ที่ริเริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา (ต่อมาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เช่น แคนนาดา นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อิสราเอล) ในช่วงทศวรรษ 1980 (2523) เป็นรูปแบบการบริหารที่ยึด

โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ มีการกระจายอํานาจการบริหารการจัดการศึกษาไป

สู่โรงเรียนโดยตรง โดยให้โรงเรียนดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยตนเอง มีการกระจาย

อํานาจการบริหารจัดการศึกษาไปจากส่วนกลาง หรือจากเขตการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง ให้สถานศึกษามีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารโรงเรียนทั้งโรงเรียนในแบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ในการสั่งการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของโรงเรียน ทั้งด้านหลักสูตร การเงินการงบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป

สิ่งสําคัญในกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนแนวนี้ที่เด่นชัด คือ ระบบการทํางานแบบมีส่วนร่วม ที่ยึดบทบาทของผู้มีส่วนร่วมเป็นแบบหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ร่วมหุ้น(Partner) ของผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เป็นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รูปแบบที่นิยมใช้กันมากคือการบริหารโดยคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน หรือตอบสนองและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนของผู้ปกครอง และของชุมชนให้มากที่สุด

ต่อมา พ.ศ. 2542 ประเทศไทย ได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ยึดหลักเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

มาตรา 9 (๒) ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 9 (6) ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร

ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา

สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในประเด็น

ดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่มาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในเวลาต่อมานั่นเอง











-2-



2. ความหมายและหลักการ

ความหมายของ SBM

หมายถึง การบริหารและการจัดการศึกษาที่ยึดหน่วยปฏิบัติหรือสถานศึกษาเป็นสำคัญ หรือ

เป็นฐาน หรือตัวตั้ง โดยมีการกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปยังโรงเรียนหรือสถานศึกษา

ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปภายใต้บอร์ดคระกรรมการสถานศึกษาที่มาจากตัวแทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ

หลักการของ SBM

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้ จะถือว่าเป็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนก็ว่าได้ โดย

ทุกโรงเรียนจะต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ

1. หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา

2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

3. หลักการคืนอำนาจให้ประชาชน

4. หลักการบริหารโดยสถานศึกษาเอง

5. หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

6. มีการพัฒนาทั้งระบบ

7. การบริหารสามารถตรวจสอบได้

“หัวใจของการบริหารสถานศึกษาแบบ SBM คือ การบริหารจัดการตามความต้องการและ

ความจําเป็นของสถานศึกษานั้น ๆ โดยอาศัยคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่ได้ ร่วมกันวางแผน (PLAN) ร่วมตัดสินใจดำเนินการ (Doing) ร่วมกันตรวจสอบ (checking)และร่วมกัน

ประเมินและปรับปรุง (action) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร

จัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ”

การบริหารโรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจจะยึดรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น

1. การบริหารแบบเพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือยึดครูเป็นสำคัญ

2. การบริหารโดยการนำของผู้บริหาร หรือยึดผู้บริหารเป็นสำคัญ

3. การบริหารโดยคณะกรรมการผู้ปกครอง หรือยึดชุมชนเป็นสำคัญ และ

4. การบริหารโดยคณะกรรมการ หรือยึดครูและชุมชนเป็นสำคัญ







-3-



3. ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

มีปัจจัยดังต่อไปนี้

3.1 หน่วยงานส่วนกลาง (สพฐ.) และหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) : ต้อง

เปลี่ยนบทบาทในการทําหน้าที่การกําหนดนโยบายและแผน ด้านอํานวยการ ด้านการกํากับดูแลมาตรฐานด้านการสนับสนุนวิชาการ และการจัดสรรงบประมาณ

3.2. สถานศึกษา จะ ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากเดิมคอยรับคําสั่งจากหน่วยงานระดับสูงมาเป็น บริหารโดยการริเริ่มสร้างสรรค์งานด้วยสถานศึกษาเอง

3.3. ผู้บริหารสถานศึกษา : พัฒนาทักษะให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพมีภาวะผู้นําสามารถประสานความร่วมมือร่วมใจระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา มีวิสัยทัศน์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง

3.4. ครู : พัฒนาทักษะในหน้าที่ให้เป็นมืออาชีพ มีความสามารถในการปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.5. ผู้ปกครองและชุมขน : เข้าใจบทบาทของการมีส่วนร่วม(PARTICIPATION) ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาโดยตรง มีอํานาจหน้าที่ร่วมกัน



ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

น่าจะมีปัญหาและอุปสรรคดังต่อไปนี้

1. เวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ทําให้บุคลากรต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเวลาทํางานปกติแต่ละวัน โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ การทํางานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น

2. ความคาดหวัง โรงเรียนส่วนใหญ่จะกระตือรือร้นในการจัดทําโครงการและดําเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ อย่างมาก แต่เมื่อไม่ปรากฏผลสําเร็จรวดเร็วดังที่คาดหวัง ก็จะทําให้เกิดความท้อแท้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กระบวนกาiบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่จะเห็นผลนั้น ต้องใช้เวลานานพอสมควร สำหรับประเทศไทยเราเพราะสภาพบริบทแต่ละชุมชน และหมู่บ้านก็แตกต่างกัน

3. คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นถูกมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบมากมาย แต่บุคลากรที่เป็นคณะกรรมการยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่มากเช่น ขาดความรู้เรื่องการบริหารโรงเรียน สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่ ทั้งครูลูกจ้าง ผู้ปกครองหรือนักเรียน ต่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนน้อยมากทั้งด้านงบประมาณ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวก บุคลากร นโยบายและเรื่องอื่นๆ ที่จําเป็นสำหรับการตัดสินใจและการบริหารขาดทักษะกระบวนการกลุ่ม สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนส่วนมากจะขาดทักษะเรื่องกระบวนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม การลดปัญหาความขัดแย้ง การแก้ปัญหาและทักษะอื่นๆ

-4-



ขาดความชัดเจนในบทบาท สมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง หรือของคณะกรรมการ ว่าจะมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ไม่แน่ใจว่า คณะกรรมการโรงเรียนที่ตนเองสังกัดนั้น เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือเป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตัดสินใจ

4. ความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและการปฏิบัติ สิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป คือ เรื่องที่ได้รับมอบอํานาจในการตัดสินใจไม่ใช่เรื่องที่ต้องการ เช่น ครูต้องการมีอํ านาจตัดสินใจเรื่องหลักสูตรและการเรียนการสอน แต่บางเขตการศึกษาก็ไม่ได้มอบอํานาจให้โรงเรียนดํ าเนินการเรื่องนี้อย่างแท้จริง ความขัดแย้งดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มครู ซึ่งโดยปกติจะให้ความสนใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนมากกว่าเรื่องอื่นๆ ดังนั้นหากมีประเด็นปัญหาที่ไม่ตรงกับความสนใจของตนเอง ครูก็มักผลักภาระในการตัดสินใจกลับไปให้ผู้บริหารโรงเรียนเช่นเคย

5. ขาดอิสระในการตัดสินใจ โรงเรียนบางแห่งถูกกําหนดมาจากหน่วยงานส่วนกลาง เช่น รัฐ เขตการศึกษา สหภาพครู ให้นํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมาใช้ในการบริหารโรงเรียน โดยไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของครู ประกอบกับการขาดแคลนงบประมาณ ระยะเวลาไม่เพียงพอ การอบรมไม่เพียงพอ ทําให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มนํานโยบายการบริหารแบบนี้ไปปฏิบัติแล้ว จากการวิจัยยังพบอีกว่า หากไม่ได้มีการมอบอํานาจการตัดสินใจที่แท้จริงไปให้แก่

โรงเรียน โรงเรียนก็เห็นว่า รูปแบบการบริหารแบบนี้เป็นเหมือน“เรื่องเก่าที่เคยทํามาแล้ว (Same old thing)” กล่าวคือ มีเพียงแต่รูปแบบแต่ขาดการปฏิบัติให้เกิดผลมีความเป็นรูปธรรมเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเท่านั้น

6. ไม่ได้ให้ความสําคัญเรื่องวิชาการเท่าที่ควร

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องที่เป็นหัวใจของโรงเรียน คือ เรื่องการจัดการเรียนการสอนและผลการเรียนของนักเรียนอย่างแท้จริงส่วนใหญ่จะไปเน้นเรื่องกิจกรรมพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการต่างๆ การออกระเบียบสําหรับการบริหารโรงเรียน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นต้น แทบจะไม่ปรากฏงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากนํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใดดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาตํ่ากว่าปริญญาทุกแห่ง จะต้องใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทั้งนี้ ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ตามบทเฉพาะกลางในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรทําความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงแนวคิด หลักการ แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ควรทําการศึกษาวิจัยในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องการพัฒนาแบบจํ าลองหรือรูปแบบการบริหาร ทํ าการทดลองในลักษณะโครงการนําร่อง เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปโดยเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเทศชาติต่อไป





-5-

บทวิเคราะห์

แม้ว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จะส่งผลต่อการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนก็ตาม แต่การจะนำแนวคิดหรือหลักการบริหารรูปแบบนี้ไปใช้

ให้ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยปัจจัยที่เกื้อหนุนดังต่อไปนี้

1. การสร้างความตระหนักและความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะโรงเรียน

รัฐบาล เพราะผู้บริหารไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนเอง จำต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ปฏิบัติ

ตามแนวคิดและหลักการ SBM

2. พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบการบริหารแบบใหม่นี้

3. วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก จุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษาแล้วนำมากำหนด

เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์

4. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

5. เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาแสดงบทบาทให้มากที่สุด

7. จัดให้มีธรรมนูญโรงเรียนและระบบการประกันคุณภาพ

8. ให้คณะกรรมการสถานศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเป็นการ

สะท้อนถึงความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

8. การนำระบบข้อมูลสารสนเทศไปใช้



เงื่อนไขของความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. คัดเลือกผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ

2. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

3. ต้องมีการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาอย่างแท้จริง

4. ต้องเน้นการพัฒนาวิชาชีพในท้องถิ่น รวมทั้งปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเป็น

สมาชิกที่ของของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ควรปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มาก

5. มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันพอสมควร

6. ต้องมีระบบให้บำเหน็จรางวัลตามผลงานของสถานศึกษา

7. ต้องเน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นประการสำคัญ

8. ต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน

และเครือข่ายศิษย์เก่า

ภาวะผู้นำทางวิชาการ


การวิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความเป็นผู้นำทางวิชาการซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการบริหารงานสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาเป็นองค์การที่มีลักษณะแตกต่างจากองค์การโดยทั่วไป เพราะองค์การโดยทั่วไปนั้นจะมีจุดมุ่งหมายและพันธกิจที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับองค์การทางการศึกษา เนื่องจากองค์การทางการศึกษานั้นนอกจากจะมีจุดมุ่งหมายและพันธกิจเหมือนองค์กรทั่วไปแล้ว องค์การทางการศึกษาหรือสถานศึกษานั้นยังมีเป้าหมายในการจัดการศึกษาอีก ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ เพื่อนำให้องค์การบรรลุทั้งเป้าหมายของการบริหารองค์การ และบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ การบรรลุถึงคุณภาพของผู้เรียนอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรวิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางวิชาการของตนเองว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง มีจุดดี จุดด้อยอย่างไร และควรพัฒนาอย่างไร
๑. คุณสมบัติข้อแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรตรวจสอบตัวเองก็คือ การเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision) คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถมองเห็นภาพอนาคตของสถานศึกษา ที่เป็นภาพที่มีความเฉพาะเจาะจง และสามารถบรรลุถึงจุดได้ ความสามารถหยั่งรู้ถึงก้าวต่อๆ ไปขององค์การนั้นถือเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้นำ เมื่อสามารถสร้างภาพอนาคตได้ชัดเจนแล้ว ต้องนำเผยแพร่ แก่คณะครูและผู้ร่วมงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดการยอมรับ หากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนก็เป็นความเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นภาพอนาคตที่เป็นที่พึงประสงค์ของทุกคนในสถานศึกษานั้น จากนั้นจึงจะมีผลทำให้ทุกคนรวมพลังเพื่อปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น ขณะเดียวกันผู้นำก็อาจจะนำวิสัยทัศน์นั้นไปปฏิบัติด้วยตนเอง
งานวิจัยหลายเรื่องในปัจจุบันต่างยืนยันว่าวิสัยทัศน์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของผู้นำ (เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์และคณะ,๒๕๓๘:๖)
ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรวิเคราะห์และตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้เป็นประการแรก
๒. การวิเคราะห์และตรวจสอบคุณสมบัติอื่นซึ่งเป็นองค์ประกอบของคุณลักษณะที่ดีของ
ผู้นำทางวิชาการ ได้แก่ การเป็นผู้มีแนวคิดกว้างไกลในเรื่องของการศึกษา การเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการศึกษา การเป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ การเป็นผู้มีพลังพร้อมที่จะทำงาน การเป็นผู้มีความกล้าเสี่ยงและความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
ผู้บริหารสถานศึกษาควรวิเคราะห์ตนเองในเรื่องต่าง ๆ ข้างต้นอย่างมีใจเป็นกลางและ
ประเมินระดับที่ตนมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงต่อไป
๓. การตรวจสอบการบริหารงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรตรวจสอบการบริหารงานด้วย
การประเมินงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานในทางที่เป็นจริงโดยการตรวจสอบหรือประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น แผนงาน วิธีดำเนินงาน การควบคุม การใช้ทรัพยากร เป็นต้น
การตรวจสอบด้วยการประเมินมีหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ เช่น
๓.๑ การประเมินผู้บริหาร เป็นการประเมินรายบุคคล
๓.๒ การประเมินงาน เป็นการประเมินเนื้องาน กิจกรรม การทดลองเทคนิคใหม่
๓.๓ การประเมินระบบ เป็นการใช้วิธีการประเมินอย่างมีระบบ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมคนในองค์การอันเป็นผลสะท้อนจากพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร


บทบาทของการเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา (Instructional Leadership of School Administrators)
เนื่องจากสถานศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การจัดหลักสูตร โปรแกรมการเรียนการสอน การร่วมกับสมาคมวิชาชีพ ความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมีวิสัยทัศน์ทางการศึกษา
ศาสตราจารย์ทรัสตี (Trusty,๑๙๘๖) แห่งภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาในฐานะที่เป็นผู้นำทางวิชาการไว้ ๑๗ ประการ คือ
๑. ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางวิชาการของสถานศึกษา
๒. ส่งเสริมให้ครูนำเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางวิชาการของสถานศึกษาไปปฏิบัติ
๓. สร้างความเชื่อมั่นว่ากิจกรรมของสถานศึกษาและของห้องเรียนสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
๔. สร้างความเชื่อมั่นว่าโครงการทางวิชาการของสถานศึกษาเป็นผลมาจากผลการวิจัย
และการปฏิบัติทางการศึกษา
๕. มีการวางแผนร่วมกับคณะครูเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ทางวิชาการเพื่อให้บรรลุความ
ต้องการของนักเรียน
๖. ส่งเสริมให้ครูนำโครงการทางวิชาการไปปฏิบัติ
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับคณะครูในการประเมินผลโครงการทางวิชาการของโรงเรียน
๘. ติดต่อสื่อสารกับครูและนักเรียนด้วยความคาดหวังที่สูงในด้านมาตรฐานทางวิชาการ
๙. ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมทางสังคมของนักเรียน
๑๐. ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเชาวน์ปัญญาของนักเรียน
๑๑. มีการจัดสรรเวลาเพื่องานวิชาการร่วมกับครูไว้อย่างชัดเจน
๑๒. ให้ความร่วมมือกับนักเรียนในการกำหนดระเบียบเพื่อแก้ปัญหาด้านวินัย
๑๓.ร่วมมือกับนักเรียนให้มีการนำระเบียบกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาแก้ไขปัญหาด้านวินัย
๑๔.ร่วมมือกับคณะครูให้มีการนำระเบียบกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ปัญหาด้าน
วินัยของนักเรียน
๑๕.มีการปฐมนิเทศคณะครูเกี่ยวกับโครงการของสถานศึกษา
๑๖. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูอย่างยุติธรรม
๑๗.ช่วยเหลือครูในการพัฒนาระบบงาน เพื่อให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

องค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้นำทางวิชาการ
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเป็นผู้นำทางวิชาการมีดังนี้
๑. มีแนวคิดกว้างไกลในเร่องของการศึกษา
ผู้นำทางวิชาการจะต้องเข้าในงานการศึกษาว่ามีขอบข่ายงานชัดเจนหรือซับซ้อน
อย่างไร ต้องรู้ว่าปัญหาของการศึกษาทั้งในระดับกว้างและระดับลึกมีอะไรบ้าง ในขณะนั้น ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นคืออะไร ต้องสามารถรังฟังและวิเคราะห์ความต้องการเกี่ยวกับการเรียนการสอนทั้งจากครู นักเรียน และผู้ปกครองได้ สามารถดำเนินการตอบสนองความต้องการหรือจัดการแก้ปัญหาได้
การมีแนวคิดกว้างไกลในเรื่องของการศึกษานี้เป็นคุณสมบัติที่ดี และสำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ผู้นำทางวิชาการต้องสั่งสมและพัฒนาขึ้นด้วยการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองจากประสบการณ์ในการทำงาน จากประสบการณ์ของผู้อื่นและจากการเข้ารับการศึกษา หรือฝึกอบรมเพิ่มเติม การศึกษาดูงาน การมีโอกาสได้เสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ตลอดจนเจตคติกับผู้รู้ จะทำให้พัฒนาคุณสมบัติข้อนี้ได้มากขึ้น
ผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป้าหมายการศึกษาของท้องถิ่นและของประเทศ ตลอดจนมีแนวความคิดกว้างไกลและชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาการศึกษาในด้านอื่น ๆ ด้วย
๒. ความเชี่ยวชาญในเรื่องของการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้นำทางวิชาการจะต้องมีความชำนาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการศึกษา ได้แก่ เรื่องการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการปฏิรูปการศึกษา และมีทักษะการนำเสนอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของครูผู้ร่วมงาน เพื่อไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
มีงานวิจัยหลายเรื่องที่พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำแก่ครูในเรื่องที่ครูต้องการมักจะไม่ได้รับการยอมรับว่าผู้บริหารนั้นเป็นผู้นำทางวิชาการ ครูจะยอมรับว่าผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการเมื่อผู้บริหารได้แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ นิเทศงานให้แก่ครู ให้สำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา และผู้บริหารที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ก็มักจะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนด้วย
๓. มีความตั้งในแน่วแน่
ผู้นำทางวิชาการจะต้องมีความตั้งใจแน่วแน่ในการจะปรับปรุงกระบวนการจัดการ
เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน แต่การปรับปรุงและพัฒนามักจะมีอุปสรรคและข้องขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ การจะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายได้นอกจากจะใช้ความรู้ความสามารถแล้วยังต้องอาศัยความตั้งใจจริงและแน่วแน่ในการที่จะทำงานให้สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันที่อยู่ในภาวะขาดแคลนกำลังคน งานธุรการและงานบริหารอื่น ๆ มักจะแย่งเวลาของผู้บริหารไปจากงานวิชาการ แต่ถ้าผู้บริหารมีความเป็นผู้นำทางวิชาการและมีความตั้งใจจริงในการที่จะพัฒนาและปรับปรุงงานวิชาการ การจัดการเรียนรู้ก็จะต้องอดทนที่จะเอาชนะอุปสรรคและหาเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ผู้นำทางวิชาการให้ได้
สถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จนั้นมักมีผู้บริหารที่มีความเอื้ออาทร และมีความตั้งใจอย่างแท้จริงในการปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษา ประสิทธิผลของสถานศึกษาจะเกิดขึ้นจากการมุ่งมั่นและทำงานหนักของผู้บริหารและบุคลากรทุกคน
๔. การมีพลังพร้อมที่จะทำงาน
ผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำทางวิชาการจะพบว่างานบริหารสถานศึกษานั้นเป็นภาระที่
หนักมาก และใช้เวลามาก เพราะจะต้องบริหารทั้งองค์การ และบริหารงานวิชาการ ลำพังเฉพาะการบริหารองค์การสถานศึกษาก็เป็นงานที่หนักเหมือนกับองค์การประเภทอื่นๆ แล้ว การบริหารวิชาการคือการบริหารการศึกษายิ่งเป็นงานที่หนักกว่า เพราะมีส่วนที่เป็นเรื่องนามธรรมค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีพลังมากพอที่จะทุ่มเทให้กับงาน ทั้งพลังกายและพลังใจที่พร้อมจะทำงานด้วยความกระตือรือร้น
๕. กล้าเสี่ยง
ผู้บริหารที่เป็นผู้นำทางวิชาการจะนำเสนอแนวคิดใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องมีผู้ได้รับผลกระทบและไม่พอใจต่อการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการต่อต้านแนวคิดหรือสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้นำทางวิชาการต้องใช้ความอดทน มีพลังและกล้าเสี่ยงในการที่จะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อทำตามแนวคิดนั้น และพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาของตน
๖. มนุษยสัมพันธ์
ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำทางวิชาการต้องสามารถทำงานกับบุคคลที่หลากหลาย
ได้ เข้าใจความต้องการของบุคคลอื่น ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่ปิดกั้นตนเอง รู้จักดึงคนเข้ามาร่วมงาน ยอมรับผิดเมื่อกระทำผิดหรือตัดสินใจผิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้นำทางวิชาการ ผู้นำแต่ละคนอาจจะมีคุณสมบัติไม่ครบทุกองค์ประกอบก็ได้ แต่จะสามารถพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้ได้
การเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นความสามารถที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีและพัฒนาให้เป็นทักษะเพื่อจะได้นำให้งานจัดการศึกษาของสถานศึกษาดำเนินไปให้บรรลุเป้าหมาย

การประเมินภาวะผู้นำด้วยตนเอง
ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความเป็นผู้นำทางวิชาการซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการบริหารสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาเป็นองค์การที่มีลักษณะแตกต่างจากองค์การโดยทั่วไป เพราะองค์การโดยทั่วไปนั้นมีจุดมุ่งหมายและพันธกิจที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับองค์การทางการศึกษา
เนื่องจากองค์การทางการศึกษานั้นนอกจากจะมีจุดมุ่งหมายและพันธกิจเหมือนองค์การทั่ว ๆ ไปแล้ว องค์การทางการศึกษาหรือสถานศึกษานั้นยังมีเป้าหมายในการจัดการศึกษาอีก ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ เพื่อนำให้องค์การบรรลุทั้งเป้าหมายของการบริหารองค์การ และบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือการบรรลุถึงคุณภาพของผู้เรียน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรวิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางวิชาการของตนเองว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง มีจุดดี จุดด้อยอย่างไร และควรพัฒนาอย่างไร





หัวข้อในการประเมินภาวะผู้นำทางวิชาการของตนเอง
๑. การวางแผนและจัดระบบงานในสถานศึกษา
๑.๑ การตั้งเป้าหมาย จัดลำดับความสำคัญของงาน และกำหนดแนวปฏิบัติได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.๒ การใช้ทรัพยากร บุคลากร และเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ การปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด
๒. การควบคุมและการติดตามผล
๒.๑ มีการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานของครูอย่างเป็นระบบ
สม่ำเสมอ
๒.๒ มีการควบคุมการปฏิบัติงานของครูให้บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
๒.๓ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ
๓. การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ
๓.๑ มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบคอบ ทุกแง่มุมและมีข้อยุติ
ในปัญหาอย่างมีเหตุผล
๓.๒ ความสามารถในการกำหนดทางเลือก การปฏิบัติงานได้หลายทางเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
๓.๓ การตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์โดยไม่มีปัญหาติดตามมาในภายหลัง
๔. การสื่อความ
๔.๑ สามารถให้คำแนะนำที่ชัดเจนสมบูรณ์แก่ครู
๔.๒ สามารถเขียนบันทึก รายงานได้กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ
๔.๓ สามารถชี้แจง นำเสนอ หรืออภิปรายเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย
และตรงกัน
๕. ความรู้เกี่ยวกับงาน
๕.๑ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานและเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิชาการเป็นอย่างดี
๕.๒ สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการศึกษา
๕.๓ สนใจติดตามเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
๖. ความเป็นผู้นำ
๖.๑ การเป็นตัวอย่างที่ดี
๖.๒ การกระตุ้นและให้กำลังใจ
๖.๓ มีศิลปะในการจูงใจหรือโน้มน้าวให้ครูตั้งใจและเต็มใจร่วมมือกันทำงาน
๗. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๗.๑ มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ที่เป็นไปได้อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงงานและระบบงานให้ดีขึ้น
๗.๒ นำเทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน
๗.๓ มีการพัฒนาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิผลกว่าเดิม
๘. การพัฒนาครู
๘.๑ มีการสอนงาน ถ่ายทอดความรู้ให้กับครู
๘.๒ แนะนำวิธีปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม
๘.๓ ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เช่น การส่งไปอบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่และการงาน
๙. การจัดการดำเนินงานทางวิชาการ
๙.๑ การบริหารหลักสูตร
๙.๑.๑ สร้างและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
๙.๑.๒ ใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้น
๙.๑.๓ มีการประเมินผลการใช้หลักสูตร และนำผลการประเมินมาใช้
๙.๒ การบริหารการเรียนการสอน
๙.๒.๑ มีการเตรียมการสอนโดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสัมพันธ์กัน สอดคล้องกับหลักสูตรและผู้เรียน
๙.๒.๒ จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
๙.๒.๓ การประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างเรียนและนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
๙.๒.๔ จัดแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
๙.๒.๕ มีเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๙.๒.๖ มีสถานที่ และระบบการจัดเก็บรักษาสื่อการเรียนรู้ที่พร้อมนำมาใช้
๙.๓ การบริหารการนิเทศภายใจ
๙.๓.๑ วางแผนโครงการนิเทศได้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการของผู้รับการนิเทศ
๙.๓.๒ ดำเนินการนิเทศตามแผน โครงการนิเทศ โดยใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับงานและผู้รับการนิเทศ อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง
๙.๓.๓ ประเมินผลการนิเทศอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการนิเทศขชองโรงเรียน
๙.๓.๔ ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อพัฒนาการนิเทศ
๙.๔ การบริหารการวิจัยและพัฒนา
๙.๕ การบริหารโครงการทางวิชาการ
๙.๖ การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศ
๙.๗ การบริหารการประกันคุณภาพการศึกษา

เกณฑ์ประเมินความสามารถในการเป็นผู้นำทางวิชาการ ของ สปช.
แต่เดิมสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ในส่วนความสามารถในการเป็นผู้นำทางวิชาการ มีเกณฑ์ที่ต้องประเมินทั้งสิ้น ๙ ข้อ ซึ่งเป็นเกณฑ์เดิมที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่
๑. จัดให้มีสื่อการเรียนการสอน เน้นการบำรุงรักษา และกำกับดูแลให้มีการใช้อย่างคุ้มค่า
๒. ดำเนินการนิเทศภายใน โดยมีการเยี่ยมชั้นเรียน ปรึกษาหารือ ให้คำแนะนำ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. จัดและกำกับดูแลการสอนซ่อมเสริมให้บังเกิดผลดีแก่นักเรียน
๔. ดำเนินการวัดผลการเรียนการสอนได้ถูกต้อง สอดคล้องกับระเบียบ และหลักการวัดผลการศึกษา
๕. จัดให้มีการส่งเสริมการใช้ห้องสมุดหรือมุมหนังสือ จนเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน
๖. ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมฝึกอบรมสัมมนาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการสอนและสื่อ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
๗. กำกับดูแลให้ครูเตรียมการสอนและบันทึกการสอนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
๘. ส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ให้ครูจัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
๙. ควบคุมดูแล และส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้และหลักสูตร

อ้างอิง

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ, การบริหารงานวิชาการ
ธีระ รุญเจริญ,ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาฯ
ภิเษก จันทร์เอี่ยม เอกสารประกอบการสอนผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร
http://thawinwong-travel.blogspot.com/2008/12/blog-post_22.html

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา


การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
หลัก สูตรจะสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ดังนั้นผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนอยู่เสมอ การสร้างหลักสูตรสถานสถานศึกษาต้องดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์
เพื่อ มองอนาคตว่าโลกและสังคมรอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และสถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัยอย่างไร ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษาแสดงความประสงค์ พันธกิจ ภาระหน้าที่ เป้าหมาย มาตรฐานแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชน และส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษาเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามหลักสูตรของ สถานศึกษาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้
2. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
จัดทำสาระการเรียนรู้จากช่วงชั้น ให้เป็นรายปี หรือรายภาค พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน เพื่อนำไปออกแบบ วางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานทุกด้าน ของสถานศึกษา
3. การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือภาค
วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งการพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
4. การออกแบบการเรียนการสอน
สถานศึกษาต้องมอบหมายครูผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำอะไรได้
5. การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
สถาน ศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือ สังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่นบูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม สาระต่าง ๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน จัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ตามความสนใจของผู้เรียน งานที่สนองความถนัด ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย แนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินไปด้วยดี บรรลุตามที่คาดหวัง จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

การจัดทำสาระของหลักสูตร
1) กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการ เรียนรู้ 2) กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ในข้อ 1ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
3) กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิต สำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติม ขึ้นดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับมาตรฐาน ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาทีที่ 4-6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค และกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
4) จัดทำคำอธิบายรายวิชา โดยการนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด ตามข้อ 1 2 และ 3 มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ
5) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ที่กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ 6) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชารายปีหรือรานภาคและหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ กำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู่ของผู้เรียนและผู้สอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิชาการ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
2) จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ และคงวามสามารถ-ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
3) จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม เช่นกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น
4) จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
5) การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบโดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน การกำหนดคุณลักษณะอันถึงประสงค์
การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้าน คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นให้แก่ผู้เรียน วัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยเป็นการประเมิน เชิงวินิจฉัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด

จาก http://maitawan.blogspot.com/2008/08/blog-post.html

ภาวะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม


ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา

ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัต ิของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

สาระสำคัญของ พระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหา รและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจาก องค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ยที่มีความสามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไป ในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่ พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้ เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค ์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ

อรุณ รักธรรม (2527 : 198-202) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี
1. เป็นผู้มีความรู้
2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. เป็นผู้มีความกล้าหาร
4. เป็นผู้มีความเด็ดขาด
5. เป็นผู้มีความแนบเนียน มีกิริยาวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม
6. เป็นผู้มีความยุติธรรม
7. เป็นผู้มีลักษณะท่าทางการแสดงออกที่ดี
8. เป็นผู้ที่มีความอดทน
9. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น
10. เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว
11. เป็นผู้มีความตื่นตัวหรือระมัดระวังอยู่เสมอ
12. เป็นผู้มีความพินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล
13. เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม
14. เป็นผู้มีความสงรักภักดี
15. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
16. เป็นผู้มีความสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

2. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ

1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) จะต้องมีความคล่อง แคล่วว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับสถานการณ์ทุกชนิด ปรับตัวได้ เปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มีความอดทนต่อการทำงานหนักและนานๆ ทนต่อความลำบากเจ็บช้ำได้ โดยไม่ปริปาก หรือแสดงอาการ ท้อแท ้ให้พบเห็น
2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness) จะต้องตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจ ได้เร็ว และเต็มใจเสมอ ที่จะเป็น ผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
3. ความสามารถในการจูงใจคน (Persuasiveness) ผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้อื่นร่วม มือกับตน ได้เท่านั้น ที่จะได้รับความสำเร็จ
4. ความรับผิดชอบ (Respensibility)
5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) ความฉลาดไหวพริบจำเป็นที่สุด สำหรับผู้บริหาร หรือผู้นำ ที่จะใช้ในการบริหารงาน หรือใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ

3. คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ
ความรู้ทางวิชาการได้แก่ การศึกษาวิชาการทั่วไป การศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษา ให้เกิด ความรอบรู้ เชี่ยวชาญในแขนงวิชาที่คนสนใจ สำหรับใช้จัดระดับความรู้ และประสบการณ์ ในการทำงานของบุคคลที่มาทำงาน ในการเป็นผู้บริหาร

4. คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1.ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัด ระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมอบหมายงานให้บุคลากรทำตามความรู้ความสามารถ การควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศงาน
2. สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ บุคลากรพัฒนาตนเองและพัฒนางาน การจัดสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชน์ ตอบแทน
3. จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม ทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว บริการสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียน รู้
4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนางาน
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปนิเทศ และพัฒนางานการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ระบบการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วม ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปในการศึกษาจึงต้องมีศาสตร์และ ศิลป ์ในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึษาบรรลุเป้าหมายที่ ตั้งไว้ เมื่อกล่าวถึงคุณลักษณะ ของนักบริหารดูเหมือนจะมีการกล่าวไว้มากมาย ซึ่งมีทั้งทัศนะส่วนตัว ที่เกิดจาก ประสบการณ์ ในการเป็นผู้บริหารมาและผลจากการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการซึ่งมีทั้งของ ไทยและต่างประเทศ
บุรัญชัย จงกลนี ( ม . ป . ป . : 11-12) กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด
2. มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)
3. มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ
4. ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)
5. กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)
6. มีความคิดริเริ่ม (Innitiative)
7. รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา
8. การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว
9. มีความยุติธรรม (Justice)
10. วางตัวดี (Bearing)
11. กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน
12. ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ
13. ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้
14. ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ

จากการรายงานการประชุมระดับชาติ (Nation Conference of Professors of Educational Administration

( อ้างใน . บุรัญชัย จงกลนี . ม . ป . ป . : 14-15) เมื่อปี ค . ศ . 1951 ได้มีการประมวลปรัชญา ของการบริหาร การศึกษา ไว้ว่า
1. ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญในการบริหาร (Application of intelligence to life problems)
2. ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลจำนวนมาก หรือบุคคลหลายๆ คนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกระทำ โดยไม่ทำงานตามลำพัง (Necessity of social group action)
3. ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน และจะต้องให้ความยอมรับนับถือใน ความเห็น ธรรมชาติ และความสามารถของผู้อื่น (Respect of the individual)
4. ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของการศึกษาเป็นหลัก การบริหารการศึกษา จะไม่มีความหมายถ้าขาดเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้องถือว่า เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของ การศึกษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหมาะสมกับสภาพ ของสังคม ในฐานะผู้นำผู้บริหาร จะต้องปรับปรุงการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Function Social Organization)
5. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ประสานประโยชน์ ซึ่งเข้ามาให้บริการ แก่บุคคลอื่นทุกๆ คน ในการที่จะช่วยให้เขาดำเนินงานต่างๆ ในการให้การศึกษาให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุด (Administrator as group instrument)
6. ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั้งหลายมาทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อและรับฟังความคิดเห็น ของบุคคล ทุกคนในวงการศึกษาและในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ (Freedom of Communication)
7. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำ มิใช่เจ้านายผู้ทรงอำนาจ (Administrator as a leader)
8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือ นักการศึกษา ผู้ยึดมั่นในปรัชญาของการศึกษา จึงต้องปฏิบัติและ วางตนอย่างนักการศึกษา (Administrator as an educator)
9. ผู้บริหารจะต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน และเพื่อให้สังคมดี ขึ้นทุกๆ ทาง (Dedication of pubic education to community betterment)
10. ผู้บริหารจะต้องประสานงานประสานน้ำใจ ระหว่างชาวบ้านกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน การศึกษา (School community integration in education)
11. ผู้บริหารจะต้องประเมินผลงานตนเองอยู่เสมอ การประเมินจะต้องทำทั้งสองอย่าง คือ ประเมินวิธีการ หรือกระบวนการทำงานพร้อมๆ กันไปกับการประเมินการปฏิบัติงาน เพราะการทำงาน จะมุ่งเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่ได้ วิธีการก็จำเป็น (Two fold evaluation of Administration means and ends)
12. ผู้บริหารจะต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ จะไม่ทำความเสื่อมเสีย ให้ผู้คนเหยียดหยามวิชาชีพของนักบริหาร (Professional integrity and responsibility)
13. ผู้บริหารจะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ ทุกวิธีทาง เพื่อให้การบริหารงานของตนเองทันสมัย (Necessity for professional growth)

คุณสมบัติทั้ง 13 ประการนี้ เป็นแนวทางแห่งความเชื่อหรือปรัชญาของนักการบริหารที่พึงมี อันเป็นวิถี หรือแนวทางที่ผู้บริหารพึงยึดถือในการบริหารงาน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่การที่ได้ทราบไว้ก็จะเป็นประโยชน์ ให้แก่นักบริหาร ที่จะสามารถหยิบยกเอามาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของนักบริหาร ซึ่งแตกต่างกันออกไปของแต่ละคนได้
สุรศักดิ์ ปาเฮ (2543 : 72-73) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ ไปอย่างมากมายในปัจจุบัน ว่าควรมีลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
1. มองกว้างไกลอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (Vission) สามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร (Strategic Management)
2. สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analyze Situation) เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายได้อย่างเหมาะสม
3. ไวต่อการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสังคมภายนอกและภายในองค์กร ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งรู้จักวิเคราะห์ความเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย
4. ความสามารถในการจัดระบบการสื่อสารให้ได้ผล (Effective Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทั่วถึงทุกระดับขององค์กร หน่วยงาน / สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ (It) เป็นอย่างดี
5. ความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) ต้องสามารถวางแผนบุคคล สรรหา คัดเลือก กำหนดระบบงบประมาณ ความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบแนวคิด ทัศนคติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และนำมาเป็นข้อมูล ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติเพื่อ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน แสวงหาผลประโยชน์ ให้ตนเองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

เช่นเดียวกับ ถวิล อรัญเวศ (2544 : 17 – 18) ได้ให้ทรรศนะนักบริหารมืออาชีพว่าควรจะมีลักษณะดังนี้
1. กล้าตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร นักบริหารมืออาชีพ ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจหรือวินัจฉัยสั่งการ เป็นคนที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ
2. ไวต่อข้อมูล นักบริหารมืออาชีพ จำเป็นต้องเป็นคนที่ทันสมัย ไวต่อข้อมูลหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ
3. เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สามารถมองเห็นภาพ ในอนาคตและแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
4. ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์ผลงาน คือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีการสร้างสรรค ์ผลงาน ให้ปรากฏต่อสายตาเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ
5. ประสานสิบทิศ นักบริหารมืออาชีพจำต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานงานกับ หน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถไกล่เกลี่ยข้อกรณีพิพาทได้ และสามารถ ขจัดปัดเป่าปัญหา ต่างๆ ในหน่วยงานได้
6. คิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ จะต้องคิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
7. จูงใจเพื่อร่วมงาน จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดความกระตือรือร้น ในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานสูง ประเมินผล การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม รู้จักให้การชมเชย ให้รางวัลหรือบำเหน็จ ความชอบ
8. ทนทานต่อปัญหาและอุปสรรค จะต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างสันติสุข ไม่หนีปัญหา และไม่หมักหมมปัญหาไว้
9. รู้จักยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องรู้จักยืดหยุ่น และอ่อนตัวตามเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกินไป บางครั้งก็ต้องดำเนินการในสายกลาง แต่ในบางครั้งต้องมี ความเด็ดขาด
10. บริหารงานแบบมีส่วนร่วม จะต้องบริหารงานแบบให้ทีมงานมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบ

สมบัติ บุญประเคน (2544 : 20 – 21) ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ในยุคปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า แบบผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องประกอบด้วย 6 ป สรุปได้ดังนี้
1. ปฏิรูป การทำงานของผู้บริหารแบบนี้จะเป็นนักคิด นักพัฒนา ปรับเปลี่ยนหน่วยงาน และพัฒนางานตลอดเวลา การดำเนินงานต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ ผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ
2. ประชาธิปไตย เป็นการบริหารงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาจะต้องพบกันครึ่งทาง หาแนวทางที่พึงประสงค์ให้ได้ ผู้บริหารจะต้องตัดสินปัญหาที่ไม่มีทางออกให้ได้ ผู้บริหารจะต้องมีบุคลิกภาพ และการทำงานเป็นประชาธิปไตย จึงจะเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
3. ประสาน เป็นลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมาก ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานจะคำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ รู้จักใช้ความสามารถ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด มีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาดีมาก ให้เกียรติปูนบำเหน็จรางวัล และยกย่องอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่แย่งเอาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ประนีประนอม บุคลิกลักษณะของผู้บริหารแบบนี้ จะพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความขัดแย้ง ในหน่วยงาน จะอะลุ่มอล่วยตลอดเวลา สิ่งใดที่พอยอมได้ก็จะยอม ไม่ติดใจกับปัญหา
5. ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะมีบุคลิกที่ว่าจะทำอะไร จะพูดที่ไหนจะเป็นเรื่องสำคัญทุกเรื่อง มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจสูง มีมนุษยสัมพันธ์ดี การทำงานจะสนับสนุน ให้ทุกคนทำรายงาน และ นำรายงานมาประชาสัมพันธ์
6. ประชาสงเคราะห์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาบุคลากรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในอาชีพ และครอบครัวอยู่เสมอ มีการให้อภัยเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการตักเตือนอย่างรุนแรง ผู้ร่วมงานจะมีความสุขมากในการทำงาน เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน

จากที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น สอดคล้องกับผลการวิจัยบางชิ้นงานที่สรุปและจำแนกถึง คุณลักษณะ ของผู้บริหารที่ส่งผลสำเร็จ ต่อการบริหารการศึกษาอย่างมืออาชีพ สามารถจำแนกได้เป็น 10 ประการ ได้แก่ ( สุรศักดิ์ ปาเฮ . 2543 : 72 – 73)
1. มีความพร้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Command of Basic Facts) ต้องรู้ความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและนอกองค์กร โดยมีข้อมูลและสารสนเทศ ช่วยในการดำเนินการ และบริหารงาน ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. มีความรู้ทางวิชาชีพ (Relevant Professional Knowledge) เป็นความรู้ที่รวมถึงความรู้ทางเทคนิค เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ทางการบริหาร เช่น หลักการทฤษฎีการบริหาร การวางแผน การจัดองค์กร หลักสูตร การสอน การวัดผลประเมินผล เหล่านี้เป็นต้น
3. มีความรู้เท่าทันในสถานการณ์ (Continuing Sensitivity to Events) สามารถปรับตัวและสนอง ได้ฉับไวและต่อเนื่องกับสถานการณ์รอบด้าน และดำเนินบทบาทได้อย่าง เหมาะสม รวดเร็ว และเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
4. มีทักษะในการเข้าสังคม (Social Skills and Abilities) โดยการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การกระจายอำนาจ การเจรจาต่อรอง การมอบหมายงาน การสมาคม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร
5. มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Analytical , Problem Solving , Decision Making Skills) อาศัยหลักตรรกศาสตร์ การใช้เหตุผลและ วิจารณญาณเข้าช่วย เพื่อรักษาความสมดุล ให้เกิดขึ้นทุกๆ ด้านในองค์กร
6. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Resilience) ผู้บริหารต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มั่นคงในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวง่าย จะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกมีจิตระลึกเสมอ และแสดงออก ได้อย่างเหมาะสม
7. มีพฤติกรรมกล้าเสี่ยง (Pro activity inclination to Respond Purposefully to events) ผู้บริหารการศึกษา มืออาชีพต้องมองงานได้อย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ระบบการทำงานอย่างดี รู้ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งตนเองและสมาชิกในองค์กร และรู้รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว และเป้าหมายโดยรวม
8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ริเริ่มโครงการใหม่ๆ และทำให้สำเร็จ เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่เกิดการยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดี มีความละเอียดรอบคอบ และยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
9. มีความรู้สึกไวต่อบุคคลอื่น (Mental Agility) เกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา สามารถค้นหาทางเลือก ได้หลากหลายเพื่อการแก้ไขปัญหา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติและสนใจในความรู้สึก ของคนอื่น
10. มีความรู้และฝึกฝนการเรียน (Balanced Leaning Habits and Skills) ต้องรู้ว่าจะรู้ต้องรู้อะไร และต้องรู้ให้จริง ต้องคิดเป็นคิดได้ และสามารถบูรณาการความรู้ได้ ประยุกต์ ใช้ได้ สามารถสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ ได้จากการปฏิบัติงาน สามารถพัฒนางานวิชาการ และรูปแบบวิธีการจากทฤษฎีได้

สุพล วังสินธ์ (2545 : 29 – 30) ได้สรุปคุณลักษณะที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ไว้ว่า
1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
2. มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงาน
3. มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น
4. ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ครูมีเสรีภาพในการคิด
5. ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
6. มีศักยภาพในการจัดการระบบบริหารโรงเรียน โดยการนำระบบคุณธรรมมาใช้ใน โรงเรียน
7. สร้างขวัญกำลังใจให้ครู มีกำลังใจที่จะเป็นครูดี ครูเก่ง ครูที่ปรึกษา ( Mentor)

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

1. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พอสรุป ได้ดังนี้
1. เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของครูและ นักเรียน
2. เป็นผู้นำในการบริหาร โดยยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
3. เป็นผู้นำด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
4. เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ
5. เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน
6. เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม อย่างแข็งขัน
7. เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา และเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในทางสร้างสรรค์
8. เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
9. เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการบริหารที่ใช้โรงเรียนฐาน (SBM : School Based Management) ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้ ( ธีระ รุญเจริญ . อัดสำเนา )
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก
4. การประสานความสัมพันธ์
5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
6. การสร้างแรงจูงใจ
7. การประเมินภายในและประเมินภายนอก
8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย พัฒนา
9. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 39 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542 ที่ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ ( สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . 2543 : 82 – 84)

ด้านวิชาการ
1. มีความรู้และเป็นผู้นำด้านวิชาการ
2. มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารงาน
3. สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที
4. มีวิสัยทัศน์
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
7. รอบรู้ทางด้านการศึกษา
8. ความรับผิดชอบ
9. แสวงหาข้อมูลข่าวสาร
10. รายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
11. ใช้นวัตกรรมทางการบริหาร
12. คำนึงถึงมาตรฐานวิชาการ

การบริหารงบประมาณ
1. เข้าใจนโยบาย อำนาจหน้าที่ และกิจกรรมในหน่วยงาน
2. มีความรู้ระบบงบประมาณ
3. เข้าใจระเบียบคลัง วัสดุ การเงิน
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. มีความละเอียดรอบคอบ
6. มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
7. หมั่นตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เสมอ
8. รายงานการเงินอย่างเป็นระบบ

การบริหารงานบุคคล
1. มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล
2. เป็นแบบอย่างที่ดี
3. มีมนุษยสัมพันธ์
4. มีอารมณ์ขัน
5. เป็นนักประชาธิปไตย
6. ประนีประนอม
7. อดทน อดกลั้น
8. เป็นนักพูดที่ดี
9. มีความสามารถในการประสานงาน
10. มีความสามารถจูงใจให้คนร่วมกันทำงาน
11. กล้าตัดสินใจ
12. มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร

การบริหารทั่วไป
1. เป็นนักวางแผนและกำหนดนโยบายที่ดี
2. เป็นผู้ที่ตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการที่ดี
3. มีความรู้ และบริหารโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
4. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
5. รู้จักมอบอำนาจและความรับผิดชอบแก่ผู้ที่เหมาะสม
6. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และตื่นตัวอยู่เสมอ
7. มีความรับผิดชอบงานสูง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค
8. กำกับ ติดตาม และประเมินผล

4. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียน เป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน และสาธารณชนมั่นใจในคุณภาพของนักเรียน ดังนั้น โรงเรียนต้องจัด ให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่กล่าวถึงที่ยังเป็นผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม มีลักษณะของผู้นำแบบประชาธิปไตย จะให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพ ในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน ยอมรับและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็นร่วมแก้ปัญหาและร่วมตัดสินใจ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้ร่วมงาน ซื่อสัตย์ จริงใจ มีความสามารถกระตุ้น และจูงใจให้เกิดความรักและความผูกพันในโรงเรียน
ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลง บทบาทของตนเองโดยการใช้หลักการบริหารคุณภาพที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิดร่วม ตัดสินใจ โรงเรียนสร้างทีมงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)

ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ

นอกจากคุณลักษณะและบทบาทที่สำคัญของการเป็นนักผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่จะเป็นตัวชี้วัด (Indicators) สำคัญของการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ได้อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่เชิงบริหารจัดการศึกษา ในสถานศึกษา ปัจจัยบ่งบอกความสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
1. คุณวุฒิด้านการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญจะต้องมี กล่าวคือ ต้องมีคุณวุฒิด้านการศึกษา ตรงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดในกฎหมายวิชาชีพ โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการมืออาชีพทางการบริหาร บุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โท เอก ด้านการศึกษาเป็นสำคัญ
2. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต้องมีประสบการณ์สั่งสมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ประสบการณ ์ด้านการบริหารทางการศึกษาในองค์กรทางการศึกษาระดับต่างๆ ในตำแหน่งทาง การบริหารการศึกษา ที่ได้ดำเนินบทบาทภารกิจตามสายงานที่กำหนดไว้
3. ประสบการณ์การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องได้รับการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การศึกษาดูงานจากแหล่งวิทยาการความรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การสร้างผลงานทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบของการสร้างนักบริหารการศึกษาก้าวสู่มืออาชีพ โดยมีผลงานทางวิชาการเป็นเครื่องมือยืนยันถึงศักยภาพดังกล่าว ผลงานสามารถจัดกระทำได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านการวิเคราะห์งานวิจัย การเขียนและเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ การเขียนบทความ ตำรา ฯลฯ ออกเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ให้แพร่หลายทั่วถึง รวมทั้งการเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผลงานดีเด่นที่สั่งสมไว้ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ อาจดูจากหลักฐาน ที่เป็นผลงานที่สั่งสมไว้ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
6. ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะตัว (Character) ที่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรเสริมสร้างให้บังเกิดขึ้น ได้แก่
1. มีบุคลิกที่ดี สง่างาม น่านับถือ
2. มีความขยันหมั่นเพียร สัมมาอาชีพ
3. มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงาน
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. ตรงต่อเวลา บริหารเวลาได้ดี
6. กระตือรือร้นในการทำงาน
7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
8. รักษาระเบียบวินัยได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดี

สรุป

ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์

บรรณานุกรม

ถวิล อรัญเวส . “ นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา ” วารสารวิชาการ . 4(2) : 17-18; กุมภาพันธ์ , 2544
ธีระ รุญเจริญ . “ การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา ” อัดสำเนา . ม . ป . ป .
บุรัญชัย จงกลนี . คุณธรรมของนักบริหาร . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สัตยการพิมพ์ . ม . ป . ป .
สมบัติ บุญประเคน . “ ผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษาตามลักษณะ 5 ป . ”
วารสารครูขอนแก่น . 1(2) : 20-21; สิงหาคม 2544
สุพล วังสินธ์ . “ การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา" วารสารวิชาการ. 5(6) : 29-30; มิถุนายน , 2543
สุรศักดิ์ ปาเฮ “ สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ ” วารสารวิชาการ . 3(6) : 70-74; มิถุนายน , 2543
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . “ การบริหารตามแนวปฏิรูปการศึกษา ” วาสารวิชาการ . 5(6) : 23-30; พฤษภาคม , 2545
..................... “ คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ . ” วาสารวิชาการ . 5(7) : 16-17; กรกฎาคม , 2545
..................... “ภาวะผู้นำ :สมรรถภาพหลักของผู้บริหารในยุคปฏิรูป”วารสารวิชาการ .5(9) : 35-44; กันยายน,2545

เขียนโดย...นายวิเชียร วงค์คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุดเชียงมี

ที่มา http://www.santitham.org

ภาวะผู้นำการมีส่วนร่วม


ความสนใจเรื่องภาวะผู้นำได้เพิ่มขึ้นในช่วงต้นๆ ของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีภาวะผู้นำในช่วงเริ่มแรกจะมุ่งเน้นที่ความแตกต่างของคุณภาพของผู้นำ และของสมาชิก ในขณะที่ทฤษฎีที่ตามมาจะมองไปที่ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์ประกอบด้านสถานการณ์และระดับทักษะ ในขณะที่ทฤษฎีภาวะผู้นำที่แตกต่างกันจะเกิดขึ้นทฤษฎีทั้งหลายเหล่านี้จะ สามารถจัดให้อยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งของทฤษฎี 8 ทฤษฎีดังต่อไปนี้
ทฤษฎีที่ 1 Great Man Theory ทฤษฎีนี้ถือว่าศักยภาพของภาวะผู้นำเป็นเรื่องของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นมาแต่กำเนิดไม่ใช่สร้างทีหลัง ทฤษฎีนี้มักจะฉายภาพผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในลักษณะที่เป็นวีรบุรุษ เทพนิยาย และคำว่าผู้ยิ่งใหญ่ดังกล่าวแล้ว ถูกนำมาใช้เนื่องจากในช่วงเวลานั้นภาวะผู้นำมักจะถูกคิดว่าเป็นลักษณะเบื้อง ต้นของผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะผู้นำทางด้านการทหาร
ทฤษฎีที่ 2 Trait Theory มีความคล้ายคลึงบางประการกับทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ ทฤษฎีคุณลักษณะนี้ถือว่า บุคคลจะได้รับคุณลักษณะบางประการซึ่งทำให้เขามีความเหมาะสมกับภาวะผู้นำ ทฤษฎีลักษณะนี้มักจะแยกแยะบุคลิกภาพบางอย่าง หรือคุณลักษณะทางด้านพฤติกรรมซึ่งเป็นของผู้นำแต่ถ้าลักษณะบางประการเป็น ลักษณะที่สำคัญของภาวะผู้นำ เราจะอธิบายได้อย่างไรว่าบุคคลนั้นมีลักษณะดังกล่าวแล้วมิได้เป็นผู้นำ คำถามนี้จึงเป็นสิ่งที่ยุ่งยากประการหนึ่งที่ใช้อธิบายภาวะผู้นำ
ทฤษฎีที่ 3 Contingency Theory เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงความเป็นผู้นำ โดยมุ่งเน้นที่ตัวแปรบางอย่างที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเป็นตัว กำหนดว่า รูปแบบเฉพาะของภาวะผู้นำอะไรที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น สืบเนื่องจากทฤษฎีนี้ ไม่มีรูปแบบภาวะผู้นำใดที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกสถานการณ์ ความสำเร็จทั้งหลายขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายๆ ด้าน ได้แก่ รูปแบบภาวะผู้นำคุณภาพสมาชิก และสถานการณ์ในด้านต่างๆ
ทฤษฎีที่ 4 Situational Theory ทฤษฎีนี้นำเสนอว่า ผู้นำทั้งหลายจะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่สุดโดยมีพื้นฐานมาจากตัวแปรด้าน สถานการณ์ รูปแบบของภาวะผู้นำที่แตกต่างกันนั้น อาจจะมีความเหมาะสมมากกว่าสำหรับประเภทของการตัดสินใจบางอย่าง
ทฤษฎีที่ 5 Behavioral Theory ทฤษฎีภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมจะมีพื้นฐานขึ้นอยู่กับความเชื่อว่าผู้นำที่ยิ่ง ใหญ่จะได้รับการพัฒนามา มิใช่ติดตัวมาแต่กำเนิด รากฐานนี้มาจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีภาวะผู้นำนี้ให้ความสำคัญกับการกระทำของผู้นำ มิใช่เรื่องคุณภาพทางด้านจิตใจหรือสภาวะภายในของบุคคล ตามทฤษฎีนี้บุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำได้โดยผ่านจากกระบวนการการสอน และการสังเกต
ทฤษฎีที่ 6 Participative Theory ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมได้เสนอแนะว่าแบบแผนภาวะผู้นำในอุดมคตินี้ เป็นแบบแผนที่ให้การยอมรับว่าสิ่งที่บุคคลอื่นให้ความร่วมมือมาจะต้องนำมา พิจารณา ผู้นำเหล่านี้จะส่งเสริมความร่วมมือและการช่วยเหลือจากสมาชิกของกลุ่ม และเพื่อช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีความรู้สึกมีความหมายและผูกพันต่อกระบวนการ ตัดสินใจอย่างไรก็ตาม ผู้นำทฤษฎีความร่วมมือนี้จะเก็บรักษาสิ่งที่ถูกต้องไว้แต่ในขณะเดียวก็ อนุญาตให้สมาชิกมีส่วนร่วม
ทฤษฎีที่ 7 Management Theory ทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ มุ่งเน้นที่บทบาทของผู้นิเทศ และการปฏิบัติของกลุ่ม โดยมีพื้นฐานของระบบการให้รางวัลและการลงโทษ ทฤษฎีบริหารจัดการถูกนำมาใช้เสมอในเชิงธุรกิจ เมื่อพนักงานประสบความสำเร็จเขาก็จะได้รับรางวัล แต่หากเมื่อไหร่ก็ตามเขาผิดพลาดพนักงานก็จะต้องถูกลงโทษ
ทฤษฎีที่ 8 Relationship Theory ทฤษฎีสัมพันธภาพมุ่งที่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้นำกับสมาชิก ผู้นำเหล่านี้จูงใจและกระตุ้นบุคคลโดยการช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มให้เห็นถึง ความสำคัญและความดีของภารกิจในการปฏิบัติงาน ผู้นำเหล่านี้จะสนใจที่ผลงานของสมาชิก แต่ต้องการให้พนักงานแต่ละคนเติมเต็มศักยภาพของตนเองด้วย ผู้นำเหล่านี้มักจะมีมาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมสูง
ในฐานะผู้นำของทีมการขาย ควรจะยอมรับว่าท่านต้องมีภาวะผู้นำสูงเพื่อจะนำกลุ่มของท่านให้ประสบความ สำเร็จในการทำงาน ดังนั้น ควรจะทำความเข้าใจว่าตนเองมีภาวะผู้นำหรือไม่อย่างไร ตลอดจนตรวจสอบความเชื่อเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีภาวะผู้นำ ด้วยในที่สุดผู้นำทั้งหลายก็ควรจะรู้ว่า ภาวะผู้นำเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีภาวะผู้นำกี่ประเภท และจะทำอย่างไรที่จะใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จของการปฏิบัติงานต่อไป

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม


กรอบแนวคิด
- ความหมายและความสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
- การมีส่วนร่วมของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แนวทางการสร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วม
- ปัญหาและข้อจำกัดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม


‏ความหมายและความสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม

“การบริหาร” ความหมาย คือ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการและการควบคุม การปฏิบัติการในองค์การ และการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ กระบวนการทำงานเพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยการใช้บุคคล และทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุซึ่งเป้าหมายของความต้องการ



“การมีส่วนร่วม” ความหมาย คือ ทรัพยากรในการบริหารที่เป็นส่วนของบุคคลในแต่ละระดับการปฏิบัติมีส่วนในกระบวนการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และควบคุมการปฏิบัติในแต่ละส่วน ๆ อย่างเต็มความสามารถ ทั้งในทิศทางเพื่อการปฏิบัติด้านเดียว หรือการนำเสนอซึ่งความคิดในการดำเนินการตามกระบวนการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

“การบริหารแบบมีส่วนร่วม” จึงหมายถึง การที่บุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จ ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมนั้น ๆ จะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ ก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ข้อจำกัดขององค์กรในแต่ละกระบวนการของการดำเนินการบริหารเป็นเกณฑ์

บุคคลในการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารงานหรือการจัดการงาน สามารถที่จะแยกได้กว้าง ๆ คือ
- ภายในองค์กรจะประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชา (ผู้บริหารระดับสูง) ผู้บริหารระดับกลาง (กลุ่มงานต่าง ๆ) และผู้ปฏิบัติ (คนงาน ผู้ทำงานระดับล่าง) สายสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรจะเป็นไป ตามลักษณะบังคับบัญชาตามลำดับ โดยทั่วไปขององค์กรแล้วจะมีข้อกำหนดไว้เป็นแนวทางอย่างชัดเจน ซึ่งทุกระดับต้องปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการเสมอ การมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการในองค์กรจึงเป็นในทิศทางเพื่อการปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบ ความจำเป็นของการมีส่วนร่วมอาจไม่ทั้งหมดของบุคคลในทุกระดับ อาจเฉพาะเพียงแต่ในระดับเดียวกันเท่านั้น หรือเหนือขึ้นไปในระดับหนึ่งก็เป็นไปได้ ลักษณะการมีส่วนร่วมของการจัดการหรือบริหารภายในองค์กรมีรูปแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม รูปแบบเบื้องต้นก็คือการเสนอเช่นข้อคิดเห็นเป็นเอกสาร ผ่านกระบวนการสอบถามหรือโดยส่งเอกสาร
- ต่างองค์กรจะประกอบด้วยในหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดกระทำในระดับผู้บริหารระดับสูง การมีส่วนร่วมจะเป็นในรูปของการให้ความเห็นข้อคิด แลกเปลี่ยนหรือสนับสนุนเพื่อการจัดการ หรือระดับผู้ปฎิบัติก็เป็นในทิศทางของการจัดการร่วมกันในกิจกรรมอย่างเดียวกัน ทั้งนี้โดยผลประโยชน์ขององค์กรทั้งสองต้องไม่ขัดแย้งหรือมีการสูญเสียผลประโยชน์ต่อกันในรูปใด ๆ
ในการมีส่วนร่วมของบุคคลในระบบราชการจะเห็นได้ว่ามีในหลายลักษณะเช่นเดียวกับรูปของ องค์กรในปัจจุบัน กรณี ภารกิจการดำเนินการของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ต้องมีบทบาทและหน้าที่สัมพันธ์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคลในสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดต้องเป็นผู้มีภารกิจหน้าที่เพื่อการสำรวจออกแบบประมาณการต่องานขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ (อบต.) เพื่อโครงการถ่ายโอนกิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ การก่อให้เกิดความมีส่วนร่วมของบุคคลในท้องถิ่น จะเป็นผลให้การปฏิบัติงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์ กลไกต่าง ๆ ในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องที่ต้อง ดำเนินการอย่างมาก

ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นเหตุผลที่จำเป็นต่อการบริหารหรือการจัดการองค์กร คือ
1) ก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานที่มุ่งหวัง
2) กระบวนการตัดสินใจสามารถรองรับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรได้กว้างขวางและเกิดการยอมรับได้
3) เป็นหลักการของการบริหารที่เป็นผลต่อการดำเนินการเชิงวิเคราะห์ด้วยเหตุผลวิวัฒนาการเพื่อความคิด (การเปิดกว้าง) การระดมความคิด (ระดมสมอง) ซึ่งนำไปสู่ การตัดสินใจได้
4) ลดช่องว่างของระบบการสื่อสารในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งได้



การมีส่วนร่วมของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในองค์กรของการปฏิบัติงานใด ๆ จะปรากฏบุคคลในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานเพื่อการนั้น ๆ โดยสังเขป อาทิ ผู้นำองค์กร (ผู้บริหารระดับสูง) ได้แก่ หัวหน้าสำนักงาน , ผู้จัดการ หรือประธานกรรมการ- บริษัท ฯลฯ ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ผู้ช่วยผู้จัดการ , กรรมการบริหาร ฯลฯ ผู้บริหารระดับต้น อาทิ หัวหน้างาน , วิศวกรโครงการ หัวหน้าโครงการ ฯลฯ ผู้ปฏิบัติงาน อาทิ ธุรการ , การเงินฯ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ กลุ่มผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ อาทิ ภารโรง , คนงาน ฯลฯ และประชาชนที่อาจเกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะ
การปฏิบัติงานขององค์กรโดยทั่วไปจะเป็นไปโดยการแบ่งแยกหน้าที่มีการงานแต่ละแผนก ฝ่าย กอง หรือ หน่วยงานตามคำสั่งมอบหมายหน้าที่การงาน หรือแผนภูมิรูปแบบการจัดองค์กรของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีแยกต่างกันทั้งราชการหรือเอกชน การปฏิบัติงานเชิงคำสั่งหรือแผนภูมิเหล่านั้นเป็นลักษณะของการสั่งการ จะเป็นทั้งรูปแบบประสานจากเบื้องบนลงล่าง หรือจากเบื้องล่างสู่บน หรือในระดับเดียวกันได้เสมอ พฤติกรรมการปฏิบัติลักษณะแนวสั่งการนี้เป็นเรื่องปกติ โดยมีพื้นฐานจากหลักองค์กรที่ได้วางไว้ การพัฒนาหรือการประสบความล้มเหลวหรือการประสบความสำเร็จของงานในองค์กรเป็นสิ่งที่สามารถมองออกและมองได้ โดยการทำงานเชิงบุคคลเป็นสำคัญ แนวเปลี่ยนผ่านซึ่งความสำเร็จใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการเสนอความคิด และร่วมกระทำ กระทำได้แต่ไม่สอดรับเท่าที่ควร การจัดกระทำเพื่อองค์กรให้มีการพัฒนาและเร่งรัดจะต้องก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม






องค์กรที่มีส่วนร่วมต่อกันของบุคคลหรือคนในองค์กรมีข้อโยงยึดถือความคิดเห็นในทิศทางของ


1) ลักษณะของปัญหาหรือความต้องการที่จะแก้ไขหรือตัดสินใจ บนพื้นฐานของบุคคลที่รับรู้
2) การเรียนรู้ว่าสิ่งที่เป็นความต้องการเพื่อแก้ไขหรือข้อมูลของปัญหามีที่มาและอยู่ในทิศทางใด
3) การนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเหตุและผลซึ่งเป็นการระดมจากความคิดบุคคล เอกสาร หรือข้อเสนอหรือข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
4) การประเมินผลลัพธ์ว่ามีความเป็นไปได้อย่างไรมีข้อจำกัดหรือมีความเสี่ยงอย่างไร และ
5) การตัดสินใจของผู้บริหาร การหาทางเลือกในการตัดสินใจ เหตุผลของการตัดสินใจ และผลลัพธ์ที่ได้



ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ต้องมาจากความคิดในบุคคลทุกระดับร่วมกันเสนอหรือให้ข้อมูลหรือวินิจฉัยเป็นมูลฐาน


แนวทางการสร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วม

ในการบริหารงานขององค์กรใด ๆ นั้น มีรูปแบบอยู่หลายสถานะ สิ่งที่จะส่งผลต่อการเกิดบรรยากาศเพื่อทุกคนและยังไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายที่ต้องการนั้น มีความจำเป็นในทิศทางของการสร้างและสนับสนุน คือ
การพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการที่บุคคลในฐานะต่าง ๆ ต้องก่อความรู้สึกและสร้างแรงกระตุ้นต่อบุคคลอื่น ๆ ให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ บนพื้นฐานแห่งความที่บุคคลมีความมั่นใจว่าเหตุและผลทางความคิดจะได้รับการสนับสนุน
การริเริ่มลักษณะแห่งพฤติกรรมบุคคล เป็นข้อคิดแห่งการสร้างรูปลักษณ์ของการแสดงออกของบุคคล ลดและขจัดปมความคิดแย้งหรือความขลาดกลัวจากพฤติกรรมบุคคลให้ลดน้อย สร้างความกล้าต่อการแสดงออก
การเปิดโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยน ย่อมเป็นผลดีต่อกลุ่มและบุคคลได้ในระดับกระทำ เพราะโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใด ๆ หรือประสบการณ์มักถูกปิดกั้นด้วยคำสั่งหรือความคิดเบื้องบน การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อเหตุและผลในการพัฒนาความคิดต่าง ๆ ได้
การสนับสนุนแนวความคิดที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ ซึ่งการสนับสนุนแนวคิดเหล่านั้นสามารถดำเนินการในทิศทางของงบประมาณหรืออื่นใดเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลแห่งการสร้างสถานะบุคคลให้ไว้วางใจองค์กรให้ความร่วมมือต่อองค์กรได้มาก
สถานการณ์เพื่อการบริหารหรือจัดการ ผู้บริหารต้องคำนึงถึงสถานการณ์ในการจัดการงานด้วยเสมอ เพื่อผลสูงสุด การเลือกแบบการบริหารใด ๆ ย่อมส่งผลต่อการมีส่วนร่วมได้ ปัจจุบันการบริหารส่วนใหญ่ มุ่งแบบการมีส่วนร่วมเพราะเป็นการเปิดโอกาสแห่งบรรยากาศการริเริ่มสร้างสรรค์
การมองหาความคิดเฉพาะในส่วนที่ดี เป็นมุมมองของการบริหารที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ว่าเมื่อบุคคลใดเสนอแนวคิดเพื่องานแล้วควรได้เห็นความเหมาะสมและทิศทางการเสนอของบุคคลอื่น ๆ ด้วยดี มิใช่มุ่งแนวทางเพื่อความขัดแย้งหรือสร้างฐานการไม่ยอมรับให้เกิดขึ้น
จูงใจให้เกิดการสร้างกระบวนการความคิดให้เกิดในทุกกลุ่มงาน การสร้างแรงจูงใจย่อมเป็นผลต่อบุคคลที่ก้าวมาสู่การต้องการมีส่วนร่วมเสมอหากผลตอบแทนเหล่านี้มีคุณค่าและประโยชน์ต่อตน ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับปฏิกิริยาของบุคคลโดยรวมขององค์กรด้วยว่าจะทำให้ได้เพียงใด



ขั้นของความสำเร็จที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมและบุคคลยอมรับ อาจได้แก่



- การเรียนรู้ในกิจกรรมของตนหรือหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นผลต่อความรู้สึกในการอยากรู้ อยากเข้าใจ และอยากเข้าไปมีส่วนร่วม (เป็นการทำการบ้านเพื่อตนเอง)
- สไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล เป็นโอกาสของการเลือกเพื่อให้ตนเองก้าวต่อไปหรือได้รับการสนับสนุน
- ความมีอารมณ์ที่มั่นคง
- การยอมรับจุดอ่อนของตนเอง หรือความบกพร่องต่าง ๆ ของตนเอง
- รู้ตนเอง (จุดแข็งที่มีอยู่หรือศักยภาพของตนเอง)
- มีความคิดเห็นในเชิงทะเยอทะยาน โดยเป้าหมายเป็นจุดน่าทดลองเสี่ยงเพื่อความสำเร็จในงานของตนเอง
- สร้างข่ายงานได้ โดยมีการพึ่งพาต่อกัน ทั้งเพื่อน , ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
- เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มว่ามีขั้นตอนอย่างไร
- เรียนรู้ที่จะเงียบ และ
- ถือสัตย์ เป็นแบบแผนการทำงาน



คุณสมบัติของบุคคลเพื่อการมีส่วนร่วม1. หาแนวคิดและวิธีการในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอตลอดเวลา
2. แสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเอง
3. รู้จักใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
4. วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยมีระยะเวลา
5. มีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ
6. เป็นสมาชิกที่ดีและเป็นผู้นำที่ดีด้วย
7. สร้างแรงกระตุ้นต่อตนเองและรู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจ
8. รู้งานทุกส่วนและหน้าที่อย่างดี
9. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
10. สำนึกถึงการสูญเปล่าและรู้ต้นทุน
11. แสวงหาแรงจูงใจที่ไม่มีเงินเกี่ยวข้อง
12. ปรับและรับฟังความคิดเห็นได้ในทุกระดับ
13. สนใจงานที่ทำแทนการพยายามหางานทำที่สนใจ
14. มีความสม่ำเสมอ
15. เชื่อว่าการทำงานเป็นผลให้ฉลาดและไม่เป็นเรื่องหนักงาน
16. ไม่บ่น
17. ทำงานได้ดีกว่ามาตรฐาน
18. นิสัยในการทำงานที่ดี
19. เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เร็วและทันสมัย
20. มีประวัติดีและก่อผลงานสม่ำเสมอ


ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กร สิ่งที่มีผลต่อการก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่สำคัญที่สุด คือ แรงจูงใจ และภาวะของบุคคล (ผู้นำ)

แรงจูงใจ คือ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น เพื่อก่อให้เกิดการกระทำของพลังในบุคคลส่งผลต่อการแสดง
ซึ่งพฤติกรรมและวิธีการในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายหลักที่ต้องการ เพราะแรงจูงใจมีผลต่อกระบวนการทำงานของคนในทิศทางแห่งประสิทธิภาพและสัมฤทธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลักษณะของแรงจูงใจจะแสดงออกได้โดยลักษณะพฤติกรรมซึ่งมีหลายทิศทางขึ้นอยู่กับบุคคล และ ขึ้นกับธรรมชาติแห่งความต้องการของบุคคลด้วย ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยเป็นไปตามความปรารถนา ความคาดหวัง และจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ของตนเอง
ความสำคัญของแรงจูงใจต่อกระบวนการมีส่วนร่วม มีคำกล่าวว่า “ผู้บริหารที่ดี คือ ผู้ที่สามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยผู้ร่วมงาน” หมายถึง การที่องค์กรหรือผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญ และนำมาใช้ในกิจการต่าง ๆ ของงาน เพื่อส่งผลให้
1) การร่วมมือร่วมใจเพื่องาน
2) ความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์กร
3) เกื้อหนุนให้เกิดระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อผลในการกำกับควบคุมคนในองค์กร
4) การเกิดความสามัคคีในองค์กรหรือกลุ่ม
5) เข้าใจต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ร่วมกันของบุคคลในองค์กร
6) สร้างความคิดใหม่เพื่อองค์กร
7) มีศรัทธาความเชื่อมั่นต่อตนเองและกลุ่ม



ภาวะผู้นำ มีผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรหรือบุคคลในองค์กร ในทิศทางของกระบวนการตัดสินใจ เพราะการมีแรงจูงใจให้ปฏิบัติหรือการมีส่วนร่วมให้ปฏิบัติใด ๆ หากกระบวนการตัดสินใจไม่เป็นผลแล้ว ยังส่งผลต่อการที่ไม่บรรลุความสำเร็จได้ การตัดสินใจในระดับผู้นำขึ้นอยู่กับ
- ความเชี่ยวชาญ คือการย่อมรับและให้ความร่วมมือ
- ความดึงดูดใจ คือเหตุผลทางอารมณ์และอิทธิพลซึ่งเป็นพรสวรรค์เฉพาะตัว



ปัญหาและข้อจำกัดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม

สิ่งที่ไม่เป็นผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานการมีส่วนร่วม คือ
1) ลักษณะการสื่อสารในองค์การและระหว่างบุคคลไม่เหมาะสม
2) พฤติกรรมหรือแรงจูงใจต่อบุคคลไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม
3) ผู้นำมีปัญหา



ลักษณะการสื่อสารในองค์การและระหว่างบุคคลไม่เหมาะสม ลักษณะทั่วไปของสื่อที่ไม่เหมาะสมจะเกิดจาก
1) การมีข้อมูลหรือการมีคำสั่งที่ถ่ายทอดไม่ชัดเจน เป็นผลให้ผู้รับฟังข้อมูลหรือได้รับคำสั่ง ขาดความเข้าใจ หรือไม่เข้าใจทำให้นำไปสู่การปฏิบัติได้ไม่ดี
2) การรับข่าวสารหรือข้อมูลเอกสาร ต้องมีการตีความ ทำให้การปฏิบัติเป็นข้อโต้แย้งหรือถกเถียง ผลของการโต้แย้งหรือถกเถียง ไม่สามารถนำไปสู่การตัดสินใจได้ดีทำให้ความร่วมมือลดลงหรือขาดหายไป
3) มีผู้ก่อกวน อาจเป็นตัวเอกสารที่มีการสั่งการขัดกันเองหรือมีผู้ปฏิบัติที่มีปฏิกริยาขัดแย้งชี้นำการปฏิบัติ ผลคือการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ลดบทบาทความร่วมมือไป
4) ทิศทางการสื่อสารของบุคคลในองค์กร ซึ่งจะมีการสื่อต่อกันได้ทั้งในแนวบนลงล่าง จากล่างขึ้นบนหรือในแนวระดับเดียวกัน การสื่อสารแต่ละแนวย่อมส่งผลต่อการสั่งการ การตัดสินใจ หากกลุ่มบุคคลของแต่ละแนวมีแนวคิดแตกต่างกัน

พฤติกรรมหรือแรงจูงใจต่อบุคคลไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม เหตุที่พฤติกรรมหรือแรงจูงใจต่อบุคคล ไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม จะเกิดจากการที่
1) การใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการจัดกระทำไม่ถูกต้อง อาทิ การนำเอาความพอใจเป็นหลัก หรือการนำเอาความต้องการของมนุษย์เป็นหลักมาใช้ในกรอบแนวคิดการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งอาจ ส่งผลต่อการโต้แย้งหรือไม่พอใจเกิดขึ้นทำให้การอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรม นั้นๆ ถดถอยลง
2) พฤติกรรมของบุคคลมีอคติต่อองค์กร ย่อมส่งผลต่อการมีส่วนร่วม เพราะถ้าบุคคลเห็นว่าองค์กรหรือบ้านของตนเองที่อยู่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมแล้วการกระทำใด ๆ ย่อมขัดแย้งและไม่เอื้อประโยชน์ได้ แต่หากการแก้ไขบทบาทของบุคคลให้มีทัศนคติดี มีความกระตือรือร้น มีสมาธิ มีความรับผิดชอบหรือมีพลังเพื่องาน กิจกรรมใด ๆ ที่เขาเหล่านั้นมุ่งจัดการย่อมเป็นจุดมุ่งหมายเพื่อการกระทำโดยส่วนร่วมได้ง่าย
3) การมีส่วนร่วมของทุกคนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ไม่มีความขัดแย้งหรือมีความ ขัดแย้งแต่พร้อมต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลง รับผลของการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำย่อมเป็นทิศทางของการอยากมีส่วนร่วม

ผู้นำมีปัญหา เหตุที่กล่าวถึงกรณีการไม่สามารถบริหารงานได้อย่างดีในการมีส่วนร่วมมีผลมาจากผู้นำในระยะเริ่มต้น อาทิ
1) คนทุกคนมีจุดมุ่งหมายในชีวิตเพื่อความต้องการในปัจจุบันและอนาคตในกรณีต่าง ๆ อาทิ มีความเป็นอยู่บนชีวิตที่ดี (กินดีอยู่ดี) , มีความมั่นคง ปลอดภัยในตนเองและครอบครัว มีความรัก มีหน้ามีตาในสังคม , มีการยอมรับยกย่องนับถือ และมีความสำเร็จในชีวิต เมื่ออยู่ในองค์กรแต่ประสบปัญหากดดันและไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำกลุ่มหรือองค์กรย่อม เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบและเป็นความขัดแย้ง
2) การขาดแรงจูงใจในการนำไปสู่ความสำเร็จของงาน เหตุด้วย ผู้นำขาดภาวะการเรียนรู้ ไม่มีความชำนาญ ไม่มีความเชื่อมั่นตนเอง หรือมีโรคภัยเบียดเบียน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลทางจิตใจต่อการมีส่วนร่วมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
3) ผู้นำขาดมนุษยสัมพันธ์ ความรับผิดชอบ หย่อนคุณธรรม และทักษะการเรียนรู้จากงาน เป็นผลให้ไม่สามารถเข้ากับบุคคลได้อย่างดี ทำให้การนำเสนอความต้องการหรือการตัดสินใจเพื่อกลุ่มหรือส่วนร่วมเป็นไปได้โดยยากหรือไม่เหมาะสม

การบริหารงานการมีส่วนร่วม เป็น การบริหารที่ทุกคนในองค์กรหรือต่างองค์กรได้มีโอกาสจัดกระทำการงานตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิตามประสงค์ที่ต้องการ ผู้นำในการบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงต้องเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพดี มีทักษะในงานและความฉลาด มีความสามารถในงานและการตัดสินใจ มีมนุษยสัมพันธ์และคุณธรรมในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในบทบาทของตนเองอย่างดี กระบวนการบริหารจึงจะบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการได้ด้วยดี


การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารราชการ



นิยามของการมีส่วนรวมของประชาชน ระบบราชการมุ่งประสงค์ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินงานทางการบริหาร หรือการดำเนินกิจการของรัฐ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง (ประชาชน) การมีส่วนร่วมทางตรง จะเห็นได้จากการที่ประชาชนสามารถตัดสินใจทางเลือกเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะหรือเข้าร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของรัฐในแต่ละสาขา หรือการลงประชามติในเรื่องต่าง ๆ หรือการเข้าร่วมเป็นกรรมการในการดำเนินงาน อาทิ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจรับการจ้าง หรือการกำหนดราคาการจ้างต่าง ๆ ได้ สำหรับการมี ส่วนร่วมทางอ้อม ก็คือการที่ประชาชนสามารถเสนอความคิดความเห็นผ่านเครือข่ายหรือกลุ่มตัวแทนต่าง ๆ และทั้งการให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารราชการผ่านสื่อใด ๆ อาทิ วิทยุ , โทรศัพท์ , เว็บไซต์ หรือจดหมายข่าว



การบริหารราชการเชิงการพัฒนาที่มุ่งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สามารถพิจารณาได้ในแนวทางดังนี้



1) มีการเปิดเผยข้อมูลและโปร่งใสในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานโดยมีช่องทาง เพื่อการให้ข้อมูลข่าวสารที่กว้างขวางต่อประชาชนและเข้าถึงได้โดยสะดวก
2) มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เปิดช่องทางเพื่อการนี้อย่างจริงจัง
3) มีระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารที่ได้จากประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการ ปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารงาน , การให้บริการ และการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ หรือนโยบายอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือประโยชน์ของประชาชนอย่างชัดเจน โดยมีผู้รับผิดชอบและรายงานผลการดำเนินการเชิงสรุปเสนอที่เป็นรูปธรรมต่อเนื่อง
4) เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม (เอกชน , ประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ) ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาในกิจกรรมกระบวนงานของหน่วยงานสำหรับการกำหนดทิศทางแห่งนโยบาย และกิจกรรมสาธารณะ ที่กระทบต่อประชาชนหรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
5) ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในส่วนราชการ โดยสามารถเข้าถึงในการจัดกระบวนการหรือกลไกต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และร่วมในการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินงาน หรือผลสำเร็จของการทำงานของหน่วยงานราชการได้


กรมโยธาธิการและผังเมืองกับเป้าหมายการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในภาพรวมของภารกิจหลัก ๆ
จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์สำคัญที่กรมได้กำหนดไว้ คือ การเสริมสร้างการพัฒนาเมืองและการพัฒนา ความปลอดภัยในอาคาร การจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเสริมสร้างการพัฒนาเมืองและชุมชน
และการพัฒนาระบบการบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ ซึ่ง ทั้ง 4 ประเด็นเป็นเรื่องที่กำหนดไว้และส่งผลต่อประชาชนแทบทั้งสิ้น การดำเนินงานในกิจกรรมหรือเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อสนองตอบตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ สามารถเห็นภาพของการให้โอกาสหรือยอมรับว่ามีประชาชนหรือภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจกรรมหรือขั้นตอนต่าง ๆ ยังไม่ขยายวงกว้างให้สอดคล้องต่อหลักการการบริหารเชิงการพัฒนา อาทิ การวางผังเมือง การควบคุมอาคาร และการจัดรูปที่ดิน ซึ่งเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับและต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้และในหลาย ๆ ขั้นตอนซึ่งกำหนดโดยแนวปฏิบัติตามกฎหมาย ประชาชนหรือองค์กรเอกชน หรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถมาร่วมในการพิจารณา , นำเสนอ และให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าการพิจารณา การนำเสนอหรือการให้ ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำไปสู่การได้รับการตัดสินใจ เพื่อการปรับปรุง แก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงแห่งเหตุสาระของการงานที่เกิดขึ้นในกระบวนงาน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นจุดผ่านแห่งการพัฒนา เพื่อความสำเร็จของงานในอนาคตต่อไปอย่างดี

ความสำเร็จของการมีส่วนรวมภาคประชาชนในฐานะองค์กรของรัฐจะต้องเร่งรัดและปรับปรุง การจัดการบริหารเพื่อก่อผลแห่งการพัฒนา กล่าวคือ



** องค์กรต้องมีคณะทำงานเพื่อการนี้อย่างเป็นรูปธรรมและประสานการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและวิเคราะห์สถานภาพแห่งภารกิจ ประกอบยุทธศาสตร์การบริหารและงบประมาณอย่างจริงจัง เพื่อกำหนดกระบวนงานที่เหมาะสมสำหรับการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมที่ดี



** ช่องทางของการเข้าถึง ซึ่งข้อมูลและข่าวสารใด ๆ ต้องปรากฏอย่างชัดเจนและมีหลายช่องทางที่จัดกระทำได้ และต้องมีการประชาสัมพันธ์ทิศทางการเข้าหาหรือเข้าถึงอย่างเป็นรูปธรรมโดยต่อเนื่องพร้อมทั้งแสดงผลจากการมีส่วนร่วมด้วยความน่าเชื่อถือ เชิงผลแห่งการกระทำจริง และสร้างศรัทธาความเชื่อมั่น



‏ ** องค์กรต้องเปิดโอกาสเพื่อการเข้ามาเป็นส่วนร่วมในคณะทำงานหรือคณะกรรมการหรือกลุ่มใด ๆ อย่างกว้างขวางทั้งภาคเอกชน , ประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสียตามภารกิจนั้น ๆ ทั้งนี้จะเป็นการเข้ามาทั้งทางตรง และทางอ้อมก็ได้ โดยปราศจากการปิดกั้น



** องค์กรต้องฟังความเห็น , ข้อเสนอ , ข้อมูล หรือแนวทางการตัดสินใจของประชาชน หรือ แนวปฏิบัติให้มากที่สุดทั้งนี้ต้องจัดกระทำโดยปราศจากอคติหรือบนเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง อันรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถชี้แจง หรือประกอบเหตุผลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางในเวทีที่สามารถกำหนดได้



** องค์กรต้องรวบรวมผลแห่งความมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมบทสรุปทั้งความสำเร็จ และความขัดแย้งเพื่อประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าความเห็นเหล่านั้น อาจจะนำไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ตัดสินใจของผู้บริหารขององค์กร หรือของรัฐก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียให้มองเห็นความจริงใจและเป็นช่องทางต่อการนำเสนอหรือติดตามผลในลำดับต่าง ๆ



การบริหารแบบมีส่วนร่วมภาคประชาชน เป็นความยุ่งยากและมีความซับซ้อนอย่างมากสำหรับ ผู้บริหารขององค์กรเชิงปฏิบัติ ความสำเร็จในกิจกรรมหรือภารกิจใดที่สามารถน้อมนำความคิดเห็น ข้อเสนอ ของประชาชนมาจัดการได้ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จสุดยอด การดำเนินงานเพื่อการบริหารดังกล่าวจึงต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งภายในองค์กรต่างองค์กร และประชาชนรวมถึงผู้เกี่ยวข้องหรือมิได้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่มี ความคิดเห็น กระบวนการวิเคราะห์และพิจารณาตัดสินใจเพื่อการใด ๆ ที่สามารถขจัดความขัดแย้ง ความเคลือบแคลงสงสัย ปัญหาหรืออุปสรรคที่เป็นปัจจัย จึงเป็นเป้าประสงค์ที่องค์กรแห่งรัฐตั้งความหวัง เพื่อการดำเนินงานอย่างสูงสุดในอนาคต

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม


การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) คือ การบริหารราชการที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการบริหารและดำเนินงานของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

วัตถุประสงค์การพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
- สร้างความเข้าใจในความหมายและความตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารราชการแบบ มีส่วนร่วม
- สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
- เสริมสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารราชการที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานราชการในระดับต่างๆ
- สร้างความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะสำคัญของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม


หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการนั้น International Association for Public Participation ได้แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
2. การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วย วิธีต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
3. การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะแนวทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น
4. ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็น หุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการ เป็นต้น
5. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เป็นต้น



การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน อาจทำได้หลายระดับและหลายวิธี ซึ่งบางวิธีสามารถทำได้อย่างง่าย ๆ แต่บางวิธีก็ต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ค่าใช้จ่าย และความจำเป็นในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน การรับฟังความคิดเห็น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาทักษะและศักยภาพของข้าราชการทุกระดับควบคู่กันไปด้วย


ลักษณะพื้นฐานของระบบราชการแบบมีส่วนร่วม
ป็นองค์กรที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง (Accessibility) ได้ โดยช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น ตู้ไปรษณีย์ เว็บไซต์ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์
- เป็นองค์การที่มีการติดต่อสื่อสารสองทาง (Two ways cmmunication) กับประชาชนอยู่ตลอดเวลา และเป็นการสื่อสารที่เปิดให้กับทุกคน
- เป็นองค์การที่มีการติดต่อสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างองค์การกับผู้มีส่วนได้เสีย ในกิจการหรือโครงการที่กำลังทำอยู่
- มีการนำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากประชาชนมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ พร้อมอธิบายเหตุผล
การไม่ปฏิบัติตามข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำของประชาชน
- จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในลักษณะทันท่วงที ถูกต้อง จริงใจ และโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อถือและไว้วางใจกับหน่วยงาน
- สร้างนโยบายและหลักการขององค์การที่จะนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจขององค์การ




หลักวิธีการทำงานของข้าราชการใน "การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม"
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการประสานประโยชน์ให้แก่ทุกมิติของสังคม ได้แก่ ปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และธุรกิจเอกชน สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนแรงกดดันที่ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความเสมอภาค รักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และบริการประชาชน ดังนั้น หลักและวิธีการทำงานของข้าราชการยุคใหม่ ต้องเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
1. มีการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อส่วนรวมและประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
2. เคารพในสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
3. เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานอย่างเหมาะสม
4. มีความพร้อมรับผิด สามารถตรวจสอบได้
5. มีการทำงานที่รวดเร็ว โปร่งใส มีกลไกการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่ชัดเจน
6. ปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ที่ยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ ไปสู่ระบบคุณธรรม





กฎหมายต่างๆ ที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารราชการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูล และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้มีกลไกในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของภาครัฐมากขึ้น ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 10 ดังนี้
- ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (5) ได้บัญญัติให้รัฐต้อง “จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน”
- ส่วนที่ 10 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มาตรา 87 กำหนดว่ารัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมประชาชน โดยต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ อย่างครบวงจรเริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ การติดตามตรวจสอบ
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
4. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532

เพื่อพัฒนาระบบราชการสู่การบริหารที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดแนวทางการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 2 "ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม" ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555) โดยมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมไว้ ดังนี้
1. จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วนในการจัดบริการสาธารณะ โดย
1.1 ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การประสานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชนในลักษณะการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย (Networking)
1.2 เน้นการทำงานแบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนในงานบริการสาธารณะ (Public-Private Partnership - PPP) โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนในโครงการพัฒนาสำคัญ ๆ ของประเทศ
2. สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ โดย
2.1 สร้างความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในการพัฒนาระบบราชการ เน้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Action Learning) เพื่อให้ภาคประชาชนมีศักยภาพในการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมมากขึ้นจนถึงระดับของการเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และร่วมติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความรู้และความตระหนักในสำนึกพลเมืองว่าจะต้องเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2 พัฒนารูปแบบ กลไก ระบบ และวิธีทำงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น วางหลักเกณฑ์ให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีระบบการปรึกษาหารือกับประชาชน สำรวจความต้องการของประชาชนในโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการช่วยกันทำให้เกิดการบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น
2.3 ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการภาคประชาชน (Lay Board) ในทุกระดับ และจัดให้มีอาสาสมัครภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการริเริ่มให้มีการวางแผนและจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Planning and Budgeting)

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน


การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน
บทวิเคราะห์ “การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน”

(School-based Management : SMB)

------------------

ความเป็นมา

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหรือการบริหารแบบฐานโรงเรียน (School based

Management) ที่นิยมเรียกกันว่า SBM นี้ เป็นแนวคิดในด้านการบริหารสถานศึกษา (School Management Approach) ที่ริเริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา (ต่อมาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เช่น แคนนาดา นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อิสราเอล) ในช่วงทศวรรษ 1980 (2523) เป็นรูปแบบการบริหารที่ยึด

โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ มีการกระจายอํานาจการบริหารการจัดการศึกษาไป

สู่โรงเรียนโดยตรง โดยให้โรงเรียนดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยตนเอง มีการกระจาย

อํานาจการบริหารจัดการศึกษาไปจากส่วนกลาง หรือจากเขตการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง ให้สถานศึกษามีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารโรงเรียนทั้งโรงเรียนในแบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ในการสั่งการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของโรงเรียน ทั้งด้านหลักสูตร การเงินการงบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป

สิ่งสําคัญในกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนแนวนี้ที่เด่นชัด คือ ระบบการทํางานแบบมีส่วนร่วม ที่ยึดบทบาทของผู้มีส่วนร่วมเป็นแบบหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ร่วมหุ้น(Partner) ของผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เป็นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รูปแบบที่นิยมใช้กันมากคือการบริหารโดยคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน หรือตอบสนองและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนของผู้ปกครอง และของชุมชนให้มากที่สุด

ต่อมา พ.ศ. 2542 ประเทศไทย ได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ยึดหลักเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

มาตรา 9 (๒) ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 9 (6) ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร

ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา

สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในประเด็น

ดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่มาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในเวลาต่อมานั่นเอง


2. ความหมายและหลักการ

ความหมายของ SBM

หมายถึง การบริหารและการจัดการศึกษาที่ยึดหน่วยปฏิบัติหรือสถานศึกษาเป็นสำคัญ หรือ

เป็นฐาน หรือตัวตั้ง โดยมีการกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปยังโรงเรียนหรือสถานศึกษา

ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปภายใต้บอร์ดคระกรรมการสถานศึกษาที่มาจากตัวแทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ

หลักการของ SBM

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้ จะถือว่าเป็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนก็ว่าได้ โดย

ทุกโรงเรียนจะต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ

1. หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา

2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

3. หลักการคืนอำนาจให้ประชาชน

4. หลักการบริหารโดยสถานศึกษาเอง

5. หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

6. มีการพัฒนาทั้งระบบ

7. การบริหารสามารถตรวจสอบได้

“หัวใจของการบริหารสถานศึกษาแบบ SBM คือ การบริหารจัดการตามความต้องการและ

ความจําเป็นของสถานศึกษานั้น ๆ โดยอาศัยคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่ได้ ร่วมกันวางแผน (PLAN) ร่วมตัดสินใจดำเนินการ (Doing) ร่วมกันตรวจสอบ (checking)และร่วมกัน

ประเมินและปรับปรุง (action) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร

จัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ”

การบริหารโรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจจะยึดรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น

1. การบริหารแบบเพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือยึดครูเป็นสำคัญ

2. การบริหารโดยการนำของผู้บริหาร หรือยึดผู้บริหารเป็นสำคัญ

3. การบริหารโดยคณะกรรมการผู้ปกครอง หรือยึดชุมชนเป็นสำคัญ และ

4. การบริหารโดยคณะกรรมการ หรือยึดครูและชุมชนเป็นสำคัญ


3. ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

มีปัจจัยดังต่อไปนี้

3.1 หน่วยงานส่วนกลาง (สพฐ.) และหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) : ต้อง

เปลี่ยนบทบาทในการทําหน้าที่การกําหนดนโยบายและแผน ด้านอํานวยการ ด้านการกํากับดูแลมาตรฐานด้านการสนับสนุนวิชาการ และการจัดสรรงบประมาณ

3.2. สถานศึกษา จะ ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากเดิมคอยรับคําสั่งจากหน่วยงานระดับสูงมาเป็น บริหารโดยการริเริ่มสร้างสรรค์งานด้วยสถานศึกษาเอง

3.3. ผู้บริหารสถานศึกษา : พัฒนาทักษะให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพมีภาวะผู้นําสามารถประสานความร่วมมือร่วมใจระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา มีวิสัยทัศน์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง

3.4. ครู : พัฒนาทักษะในหน้าที่ให้เป็นมืออาชีพ มีความสามารถในการปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.5. ผู้ปกครองและชุมขน : เข้าใจบทบาทของการมีส่วนร่วม(PARTICIPATION) ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาโดยตรง มีอํานาจหน้าที่ร่วมกัน



ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

น่าจะมีปัญหาและอุปสรรคดังต่อไปนี้

1. เวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ทําให้บุคลากรต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเวลาทํางานปกติแต่ละวัน โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ การทํางานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น

2. ความคาดหวัง โรงเรียนส่วนใหญ่จะกระตือรือร้นในการจัดทําโครงการและดําเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ อย่างมาก แต่เมื่อไม่ปรากฏผลสําเร็จรวดเร็วดังที่คาดหวัง ก็จะทําให้เกิดความท้อแท้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กระบวนกาiบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่จะเห็นผลนั้น ต้องใช้เวลานานพอสมควร สำหรับประเทศไทยเราเพราะสภาพบริบทแต่ละชุมชน และหมู่บ้านก็แตกต่างกัน

3. คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นถูกมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบมากมาย แต่บุคลากรที่เป็นคณะกรรมการยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่มากเช่น ขาดความรู้เรื่องการบริหารโรงเรียน สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่ ทั้งครูลูกจ้าง ผู้ปกครองหรือนักเรียน ต่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนน้อยมากทั้งด้านงบประมาณ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวก บุคลากร นโยบายและเรื่องอื่นๆ ที่จําเป็นสำหรับการตัดสินใจและการบริหารขาดทักษะกระบวนการกลุ่ม สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนส่วนมากจะขาดทักษะเรื่องกระบวนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม การลดปัญหาความขัดแย้ง การแก้ปัญหาและทักษะอื่นๆ
ขาดความชัดเจนในบทบาท สมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง หรือของคณะกรรมการ ว่าจะมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ไม่แน่ใจว่า คณะกรรมการโรงเรียนที่ตนเองสังกัดนั้น เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือเป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตัดสินใจ

4. ความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและการปฏิบัติ สิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป คือ เรื่องที่ได้รับมอบอํานาจในการตัดสินใจไม่ใช่เรื่องที่ต้องการ เช่น ครูต้องการมีอํ านาจตัดสินใจเรื่องหลักสูตรและการเรียนการสอน แต่บางเขตการศึกษาก็ไม่ได้มอบอํานาจให้โรงเรียนดํ าเนินการเรื่องนี้อย่างแท้จริง ความขัดแย้งดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มครู ซึ่งโดยปกติจะให้ความสนใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนมากกว่าเรื่องอื่นๆ ดังนั้นหากมีประเด็นปัญหาที่ไม่ตรงกับความสนใจของตนเอง ครูก็มักผลักภาระในการตัดสินใจกลับไปให้ผู้บริหารโรงเรียนเช่นเคย

5. ขาดอิสระในการตัดสินใจ โรงเรียนบางแห่งถูกกําหนดมาจากหน่วยงานส่วนกลาง เช่น รัฐ เขตการศึกษา สหภาพครู ให้นํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมาใช้ในการบริหารโรงเรียน โดยไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของครู ประกอบกับการขาดแคลนงบประมาณ ระยะเวลาไม่เพียงพอ การอบรมไม่เพียงพอ ทําให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มนํานโยบายการบริหารแบบนี้ไปปฏิบัติแล้ว จากการวิจัยยังพบอีกว่า หากไม่ได้มีการมอบอํานาจการตัดสินใจที่แท้จริงไปให้แก่

โรงเรียน โรงเรียนก็เห็นว่า รูปแบบการบริหารแบบนี้เป็นเหมือน“เรื่องเก่าที่เคยทํามาแล้ว (Same old thing)” กล่าวคือ มีเพียงแต่รูปแบบแต่ขาดการปฏิบัติให้เกิดผลมีความเป็นรูปธรรมเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเท่านั้น

6. ไม่ได้ให้ความสําคัญเรื่องวิชาการเท่าที่ควร

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องที่เป็นหัวใจของโรงเรียน คือ เรื่องการจัดการเรียนการสอนและผลการเรียนของนักเรียนอย่างแท้จริงส่วนใหญ่จะไปเน้นเรื่องกิจกรรมพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการต่างๆ การออกระเบียบสําหรับการบริหารโรงเรียน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นต้น แทบจะไม่ปรากฏงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากนํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใดดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาตํ่ากว่าปริญญาทุกแห่ง จะต้องใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทั้งนี้ ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ตามบทเฉพาะกลางในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรทําความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงแนวคิด หลักการ แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ควรทําการศึกษาวิจัยในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องการพัฒนาแบบจํ าลองหรือรูปแบบการบริหาร ทํ าการทดลองในลักษณะโครงการนําร่อง เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปโดยเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเทศชาติต่อไป

บทวิเคราะห์

แม้ว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จะส่งผลต่อการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนก็ตาม แต่การจะนำแนวคิดหรือหลักการบริหารรูปแบบนี้ไปใช้

ให้ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยปัจจัยที่เกื้อหนุนดังต่อไปนี้

1. การสร้างความตระหนักและความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะโรงเรียน

รัฐบาล เพราะผู้บริหารไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนเอง จำต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ปฏิบัติ

ตามแนวคิดและหลักการ SBM

2. พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบการบริหารแบบใหม่นี้

3. วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก จุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษาแล้วนำมากำหนด

เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์

4. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

5. เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาแสดงบทบาทให้มากที่สุด

7. จัดให้มีธรรมนูญโรงเรียนและระบบการประกันคุณภาพ

8. ให้คณะกรรมการสถานศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเป็นการ

สะท้อนถึงความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

8. การนำระบบข้อมูลสารสนเทศไปใช้



เงื่อนไขของความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. คัดเลือกผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ

2. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

3. ต้องมีการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาอย่างแท้จริง

4. ต้องเน้นการพัฒนาวิชาชีพในท้องถิ่น รวมทั้งปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเป็น

สมาชิกที่ของของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ควรปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มาก

5. มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันพอสมควร

6. ต้องมีระบบให้บำเหน็จรางวัลตามผลงานของสถานศึกษา

7. ต้องเน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นประการสำคัญ

8. ต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน

และเครือข่ายศิษย์เก่า