วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

นำปรัชญา 14 เดมิ่งไปใช้


ปรัชญา 14 ข้อของ Dr.Demingการบริหารคุณภาพ TQM
1. ใช้ความคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงอยู่เสมอ (Constancy)ในทุกขั้นตอนของงาน โดยมุ่งไปที่

เป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ

- เพื่อแสดงความสามารถในการแข่งขัน

- ความอยู่รอดขององค์การ

- เพื่อสร้างงานให้ประชาชน

ผู้บริหารต้องเป็นผู้ริเริ่มหาความรู้ใหม่มาใช้ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆและต้องฝึกอบรมพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทุกคนรับรู้ข่าวสารข้อมูลของคู่แข่งตลอดเวลาจะได้รู้จุดอ่อนของตนเองและหาทางปรับปรุงตนเองให้ทันและล้ำหน้า

2. ต้องสร้างปรัชญาใหม่ (New Philosophy) เลิกยึดติดกับปรัชญาแบบเก่า โดย

- ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีการบริหารแบบเก่ามาเป็นการบริหารคุณภาพ

- ต้องสลัดความเชื่อเก่าๆทิ้งไปให้หมด เพราะการเปลี่ยนแปลงเทคนิคโดยไม่เปลี่ยนความคิดและวิธีการทำงานจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจากหัวขยับก่อน เป็นนายสายพันธ์ใหม่(new bleed)คือปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำใหม่ อย่างจริงจัง

แต่ถ้าองค์การวางแผนการปรับเปลี่ยนการทำงานใหม่ทุกคนเห็นด้วยแต่พอทำจริงๆ ก็ทำเหมือนเดิม ดูข้างนอกเหมือนมีการเปลี่ยนแปลง แต่ดูไส้ในเหมือนเดิม ไม่ใช่เป็นนายสายพันธุ์ที่สาม คือสายพันธุ์ใหม่แต่สันดานเดิม (new bleed old behavior)

3. เลิกใช้วิธีการตรวจสอบแบบเก่า (Cause Inspection) ที่มุ่งการจับผิด มาเป็นการตรวจสอบเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ต้องทำให้ทุกคนมีความสุข มีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีความภูมิใจในงาน

การตรวจสอบต้องมุ่งเพื่อการปรับปรุง และต้องทำในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน เพราะคุณภาพของงานจะดีได้ต้องมีการควบคุมในทุกขั้นตอนของกระบวนงาน ตั้งแต่วัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ การออกแบบ ขั้นตอนและวิธีการทำงาน เช่นการทำให้หน่วยงานราชการสามารถให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส คำนึงถึงความสำเร็จของงาน

4. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีหรือการประสานงานที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น (Partner Supplier) เพื่อให้ได้วัตถุดิบทุกชิ้นที่มีคุณภาพ เพราะผลงานที่มีคุณภาพต้องได้ส่วนประกอบทุกชิ้นที่มีคุณภาพ

ผู้บริหารต้องประสานส่งเสริมให้ผู้ผลิตวัตถุดิบปรับปรุงคุณภาพการผลิตของเขาเพื่อความเป็นเลิศในงานของเรา

5. การปรับปรุงต้องทำทุกขั้นตอนของระบบการทำงาน และทำเป็นประจำเสมอต้นเสมอปลาย ทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง (Improve Constantly)

6. ควรจัดให้มีสถาบันฝึกอบรม (Institute Training) และการฝึกอบรมต้องมีหลักการอย่างเป็นระบบ ต้องมีการสำรวจจุดบกพร่องของคนแล้วสร้างหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

เช่น ถ้าจะปฏิรูปการทำงานไปสู่องค์กรคุณภาพ จะต้องฝึกอบรมคนในองค์การอย่างไรต้องดูว่าคนเหล่านั้นมีความรู้แบบใหม่หรือไม่ มีความรู้พื้นฐานอย่างไร ยังขาดอะไรนำข้อมูลที่ได้รับมาจัดทำหลักสูตรที่จะฝึกอบรมเพื่อลบสิ่งที่บกพร่องและเติมสิ่งที่ต้องการให้เขา

7. อบรมผู้นำ (Institute Leadership) พนักงานทุกคนต้องการผู้นำไม่ใช่ผู้คุม ผู้นำสมัยใหม่ต้อง

ใช้ระบบผู้นำไม่ใช่ระบบการใช้อำนาจสั่งการ ข่มขู่ (Supervision)

- ผู้นำ คือผู้ให้การ สนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ ปลอบ ให้กำลังใจ สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ร่วมงาน ต้องมีการประเมินตนเอง ประเมินระบบงาน เสมอ

- ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น ให้ทุกคน ต้องมีความสามารถในการจูงใจผู้ร่วมงาน ทำให้ทุกคนทำงานอย่างมีความสุข มีความภูมิใจในงานที่ทำ

- ผู้นำจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมในบทบาท อำนาจหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง

8. ขจัดความกลัว (Drive out of fear ) และสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้น (Trust) เพื่อให้ทุกคนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ไว้วางใจ เชื่อถือ และนับถือซึ่งกันและกัน

การพัฒนาระบบริหารคุณภาพ พนักงานต้องมีความมั่นใจในความมั่นคงในงานที่ทำ ต้องมีการให้เกียรติ รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ต้องกล้าที่จะพูดถึงข้อบกพร่อง ยอมรับในปัญหาที่มีอยู่และหาทางแก้ไข ปรับปรุงตนเอง

การบริหารแบบเก่าที่ใช้วิธีการทำให้ลูกน้องกลัวนาย เมื่อเกิดข้อบกพร่องหรือมีปัญหาในงาน ก็ไม่กล้ารายงานๆแต่เรื่องดีๆ เพราะกลัวนายไม่พอใจ กลัวถูกลงโทษ

การพิจารณาความดีความชอบปลายปี ตามระบบคุณธรรม ควรเลิกใช้ เพราะทำให้ทุกคนกลัวว่าจะไม่ได้ จึงมักเห็นแก่ตัวไม่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน เพราะกลัวว่าจะมีผลงานมากกว่าตน

วิธีการที่น่าจะสอดคล้องกับความจริงและยุติธรรมคือ การกำหนดเป้าหมาย (Managing Performance) คือ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายขององค์การที่ชัดเจนก่อน หลังจากนั้นนำมาแบ่งเป็นเป้าหมายย่อยๆเป็นรายบุคคล เพื่อให้รู้ว่าต้องทำงานอะไรให้สำเร็จอย่างไร แล้วจะได้อะไร

การตั้งเป้าต้องมีความเป็นธรรม ทุกคนต้องมีงานพอๆกัน โดยพิจารณาจากค่าจ้างเงินเดือน ใครเงินเดือนมากต้องทำงานมาก มีเป้าใหญ่กว่าคนที่เงินเดือนต่ำกว่า ไม่ใช่ใครเก่งต้องทำมากกว่าคนไม่เก่ง 9. ขจัดอุปสรรค (Eliminate Barrier) ในการประสานงาน โดยทำให้ทุกหน่วยงานในองค์การหันมาประสานงานกัน ร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า เพื่อประโยชน์ขององค์การ

10. อย่าติดป้ายชักชวนให้คนอย่าทำผิด (Eliminate Slogan) เพราะเป็นสิ่งไม่จำเป็น ถ้ามีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องสิ่งผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อยมาก

11. เลิกโควตา (No Quotas) เพราะการกำหนดโควตาเป็นตัวเลขเป็นการวัดปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพให้เลิกใช้ แต่ให้ใช้ระบบการสร้างทีมงาน และระบบผู้นำแทน เอาความพึงพอใจของลูกค้าเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จแทนตัวเลข

12. สร้างความสุขในงาน (Increase Joy) ต้องสร้างระบบงานที่สามารถสร้างความกระตือรือร้นในการทำงาน ความสบายใจ ความรู้สึกมั่นคงในงาน มีความสุขในการทำงานให้เกิดขึ้นในองค์การ

วิธีการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย และการลงโทษ ด้วยการตำหนิ เก็บเข้ากรุ เป็นการรังแกผู้ปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความหวาดระแวง ความไม่สบายใจและความขัดแย้งในองค์การ

การให้รางวัลและสิทธิประโยชน์ต้องทำด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้คนเก่ง คนดี มีกำลังใจอยากทำงานอยู่กับองค์การต่อไป

ดังนั้นเกณฑ์การตัดสินเงินเดือน รางวัล หรือตำแหน่ง ต้องมีความชัดเจนและเป็นธรรม การจักการคนเก่งไม่ยาก คือการให้เงินเดือน ผลประโยชน์ตอบแทน ตำแหน่งความรับผิดชอบที่สูงขึ้น แต่การจัดการกับคนไม่เก่งเป็นเรื่องยากมาก คือทำอย่างไรให้พอไปได้ ( ปลดออก ไล่ออก)

13. ให้มีการศึกษา(Education) การหาความรู้เพื่อพัฒนาสมองคนให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ พยายามที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ไม่มีองค์การอยู่รอดถ้าไม่มีการพัฒนาคน

14. ลงมือปฏิบัติ (Do it) เพื่อความสำเร็จขององค์การ ผู้นำต้องมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง มีความรู้จริงเรื่องระบบคุณภาพเพื่อความอยู่รอดle

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น