วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยแบบผสมผสานวิธี


วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology)

วิธีวิจัยแบบผสานวิธี

เป็นการวิจัยในแนวทางแบบผสมผสานวิธี ซึ่งเป็นการผสานวิธีคิดและระเบียบวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้การสังเกตกิจกรรม การร่วมกิจกรรมในพื้นที่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะ ๆ จากนักวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารโครงการและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผุ้กำหนดนโยบาย ผู้รับผิดชอบและภาคีที่ดำเนินงานโครงการนี้ในพื้นที่ปฏิบัติการด้วย(เนาวรัตน์ พลายน้อย.2549 : 3)
วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เป็นการออกแบบแผนการวิจัย ที่จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายประการดังนี้ (วิโรจน์ สารรัตนะ. 2545 : 13)
1. เพื่อเป็นการตรวจสอบสามเส้า ให้เพิ่มความเชื่อมั่นในผลของการวิจัย
2. เพื่อเป็นการเสริมให้สมบูรณ์หรือเติมให้เต็ม เช่น ตรวจสอบประเด็นที่ซ้ำซ้อนหรือประเด็นที่แตกต่างของปรากฏการณ์ที่ศึกษา เป็นต้น
3. เพื่อเป็นการริเริ่ม เช่น ค้นหาประเด็นที่ผิดปกติ ประเด็นที่ผิดธรรมดา ประเด็นที่ขัดแย้งหรือทัศนะใหม่ ๆ เป็นต้น
4. เพื่อเป็นการพัฒนา เช่น นำเอาผลจากการศึกษาในขั้นตอนหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับในอีกขั้นตอนหนึ่ง เป็นต้น
5. เพื่อเป็นการขยาย ให้งานวิจัยมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากขึ้น
วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) จำแนกเป็นสองลักษณะ คือ การประยุกต์ลักษณะเดี่ยว( single application) และการประยุกต์ลักษณะพหุ(mulitiple application) โดยการผสมนั้นเกิดขึ้นภายในขั้นตอนของการวิจัย ซึ่งกระบวนทัศน์การวิจัยที่ใช้อาจเป็นเชิงปริมาณ แต่การรวบรวมข้อมูลอาจเป็นเชิงคุณภาพ หรือในทางกลับกันหรือข้อมูลที่รวบรวมมาอาจเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่อาจวิเคราะห์ให้เป็นเชิงปริมาณ ด้วยการปรับข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นเชิงปริมาณ หรือข้อมูลเชิงปริมาณ แต่วิเคราะห์ให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการปรับข้อมูลเชิงปริมาณให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยรวมๆแล้วหมายถึง คุณลักษณะของข้อมูลที่นักวิจัยรวบรวมมาใช้ในการศึกษาวิจัย มีข้อสังเกตว่า เราสามารถตั้งสมมติฐานต่างๆ กัน ในเรื่องธรรมชาติของความรู้ สมมติฐานที่แตกต่างกันนี้ได้ถูกแปลงไปเป็นการใช้ประเภทข้อมูลที่ต่างกัน นักวิจัยกลุ่มปฏิฐานนิยมตั้งสมมติฐานว่าเราสามารถสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ได้ ทั้งยังสามารถวัดและวิเคราะห์เป็นตัวเลขและในเชิงวัตถุวิสัยได้การใช้การวัดและวิเคราะห์เป็นตัวเลข เรียกกันว่าเป็นแนวทางศึกษาเชิงปริมาณ ซึ่งได้แก่การวิจัยที่เกี่ยวกับปริมาณที่สามารถวัดได้ ฉะนั้น เราอาจจะสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนทางเศรษฐกิจในการกีฬา กับความสำเร็จในเวลาต่อมา เราอาจจะศึกษาเรื่องนี้โดยการวัดว่า เราได้ใช้จ่ายเงินลงทุนไปมากน้อยเท่าใดในกีฬาชนิดหนึ่ง (เช่น กีฬาฟุตบอล) และวัดผลการแข่งขันในกีฬาประเภทนั้นได้แง่ของการนับเหรียญรางวัลในการแข่งขันครั้งสำคัญๆ เช่น กีฬาโอลิกปิก เป็นต้น วิธีนี้จะทำให้เราได้ข้อมูลเป็นตัวเลขมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งจากนั้นจะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อที่จะกำหนดว่า ระหว่างตัวแปรทั้งสองนั้น มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ วิธีนี้ คือการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแปรนั้นสามารถวัดได้โดยตรงและแปลงไปใช้ในรูปของตัวเลขได้ง่าย ซึ่งจากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ (ฉะนั้น จึงเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกระบวนทัศน์แบบปฏิฐานนิยม)
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเป้าหมายที่จะศึกษาในเชิงคุณภาพซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะวัดได้ คือ ไม่สามารถลดทอนลงเป็นตัวเลขได้ เช่น ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งได้แก่ มโนทัศน์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับแนวทางศึกษาความรู้แบบนัยนิยม การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ไม่ใช่ตัวเลข เพื่อที่จะบรรยายและเข้าใจมโนทัศน์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น นักวิจัยอาจจะใช้แนวทางศึกษาทางเลือก เพื่อให้เข้าใจเจตนาของผู้ที่เข้าไปชมการแข่งขันต่างๆ โดยถามพวกเขาให้บอกเหตุผลว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจะไม่เข้าชมการแข่งขันในอนาคต ความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยากจะแปลงเป็นตัวเลขได้อย่างมีความหมาย และด้วยเหตุนั้นข้อมูลในรูปของถ้อยคำที่นักวิจัยนำมาใช้แปลเป็นตัวเลขได้อย่างมีความหมาย และด้วยเหตุนั้นข้อมูลในรูปของถ้อยคำที่นักวิจัยนำมาใช้แผลความหมายมีความเหมาะสมในการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่เหมือนกับเชิงปริมาณ ประเด็นเรื่อง “จำนวนเท่าไหร่” อาจจะไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเชิงปริมาณหรือคุณภาพ
การตัดสินใจที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หรือเชิงคุณภาพ(Quantitative data) ขึ้นอยู่กับธรรมชาติหรือลักษณะของคำถามการวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัยของแต่ละคน เห็นได้ชัดว่าถ้าเราสนใจในการวัดปรากฏการณ์บางอย่าง ถ้าอย่างนั้นเราจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ถ้าเราสนใจในความคิดหรือความรู้สึกของคนมากกว่า ถ้าอย่างนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ยากที่จะทำให้เป็นเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพจะมีความเหมาะสมมากกว่า ไม่มีแนวทางศึกษาใดดีกว่าวิธีอื่น แต่ว่าแนวทางการศึกษาควรถูกกำหนดโดยคำถามการวิจัยมากกว่า ตัวอย่างเช่น อย่าตัดสินใจที่จะเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพเพียงเพราะว่าเราไม่สบายใจกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ จงแน่ในเสมอว่าแนวทางการศึกษาของเรามีความเหมาะสมกับคำถามวิจัย มากกว่าทักษะหรือความพอใจส่วนตัว

การผสมผสานข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
เราอาจตัดสินใจที่จะใช้ข้อมูลผสมกันระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณกับข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกัน นักวิชาการบางคนกล่าวว่าทั้งสองแบบเข้ากันไม่ได้เนื่องจากมันใช้สมมติฐานทางญาณวิทยาที่แตกต่างกัน นักวิชาการท่านอื่นกล่าวว่าเนื่องจากปัญหาข้อจำกัดด้านเวลาความจำเป็นที่จะจำกัดขอบเขตของการศึกษาและความยุ่งยากของการตีพิมพ์ผลการศึกษาเหล่านั้นนับเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการวิจัยที่ใช้ข้อมูลผสมผสานกันทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การผสานกันระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอาจทำให้ได้ผลผลิตสุดท้ายที่สามารถแสดงให้เห็นคุณประโยชน์อย่างสำคัญของวิธีการวิจัยทั้งสองแบบอย่างเด่นชัด
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญก็คือว่า แนวทางศึกษาของเราจะต้องเหมาะสมกับคำถามการวิจัยมากกว่าความพอใจส่วนตัวของเราเอง เราสามารถใช้วิธีผสมระหว่างการวิจัยเชิงประมาณกับเชิงคุณภาพได้ในลักษณะต่อไปนี้
1. วิธีการหนึ่งช่วยสนับสนุนอีกวิธีการหนึ่ง ฉะนั้น งานวิจัยเชิงปริมาณส่วนหนึ่งอาจชี้ให้เห็นว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งจากนั้นจะสามารถอธิบายได้โดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
2. วิธีทั้งสองศึกษาปัญหาเดียวกัน เราอาจใช้วิธีการเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลค่อนข้างไม่ซับซ้อน (Simple) หรือข้อมูลตัวเลขจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ในขณะที่วิธีการเชิงคุณภาพอาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดลึกจากกลุ่มตัวอย่างขนาดที่เล็กกว่า
สิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องพิจารณาตั้งแต่เริ่มแรกก็คือว่า เรามีเวลาและทรัพยากรที่จะดำเนินการวิจัยแบบพหุวิธี (MultiMethods) คือ การใช้วิธีวิจัยต่างๆ เพื่อศึกษาคำถามการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างเดียวกัน) หรือแบบวิธีผสม (Mixed Methods) คือ ซึ่งใช้สองวิธีวิจัยศึกษา คำถามการวิจัยอย่างเดียวกัน) บ่อยครั้งที่วิธีการศึกษาเช่นนั้นต้องใช้เวลาและเงินมากกว่า และเรื่องนี้เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรามีข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาและทรัพยากร

การวิจัยเชิงปริมาณ กับ การวิจัยเชิงคุณภาพ
Leedy และ Ormrod (2005:104) ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัย
เชิงคุณภาพ ในเชิงเปรียบเทียบสรุปสาระสำคัญได้ว่า โดยทั่วไป งานวิจัยเชิงปริมาณใช้เพื่อตอบคำถามที่
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีเป้าหมายที่จะ อธิบาย ทำนาย และควบคุม สถานการณ์ต่าง ๆ
(ที่สนใจ) วิธีการนี้บางครั้งเรียกว่า traditional, experimental หรือ positivist approach ในด้านงานวิจัย
เชิงคุณภาพนั้น ใช้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ซับซ้อน มักใช้เพื่อเป้าหมายใน
การสร้างความเข้าใจหรือบรรยายปรากฏการณ์จากทัศนะของผู้อยู่ในเหตุการณ์ วิธีเชิงคุณภาพนี้อาจ
เรียกว่าเป็น interpretive, constructive หรือ post positivist approach

การวิจัยเชิงปริมาณ มักจะเริ่มต้นด้วยการมีสมมุติฐานที่ต้องทดสอบ มีตัวแปรที่สนใจศึกษา
ชัดเจน มีการควบคุมตัวแปรภายนอกไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับผลวิจัยที่กำลังศึกษา ใช้วิธีการมาตรฐานใน
การรวบรวมข้อมูลเชิง-ปริมาณในรูปแบบต่าง ๆ ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ และหาข้อสรุปจาก
ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มักเริ่มต้นด้วยคำถามวิจัยทั่วๆไปมากกว่าจะเป็นสมมุติฐานที่
เฉพาะเจาะจง ทำการรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูดบรรยายจากผู้ร่วมเหตุการณ์ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดเล็ก
จัดการกับข้อมูลในลักษณะหาความสอดคล้อง ตีความ เพื่อหาคำอธิบายสถานการณ์ที่ศึกษา
การวิจัยเชิงปริมาณมักจบลงด้วยการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนสมมุติฐานที่ทดสอบ ขณะที่
การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมักจบลงด้วยคำตอบที่เป็นแนวโน้ม หรือข้อเสนอสมมุติฐานที่ต้องการทดสอบ
ต่อไปด้วย การทำวิจัยเชิงปริมาณ ในแนวทางดังกล่าววิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ จึงมีลักษณะของ
การเสริมเติมเต็มในกระบวนการวิจัยซึ่งกันและกัน
Leedy (1993 : 139-140) รายงานว่า ในช่วงปลาย ค.ศ. 1950 การวิจัยทางจิตวิทยาใช้วิธีเชิง
คุณภาพมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ เพราะในช่วงนั้นการวัดเชิงปริมาณของตัวแปรต่าง ๆยังไม่เจริญ จนหลัง
ค.ศ. 1960 วิธีการวัดเจริญมากขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณจึงเป็นที่นิยมมากจนปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่า
การวิจัยเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1960 นั้นเอง ตั้งแต่นั้นมา วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กับวิธีการวิจัย
เชิงประมาณจึงปรากฏควบคู่กัน
การวิจัยเชิงคุณภาพได้รับความสนใจมากขึ้นก็เพราะนักวิจัยเริ่มตระหนักว่า มิใช่ทุกปัญหาวิจัย
จะหาคำตอบได้ด้วยวิธีเชิงปริมาณ บางปัญหาวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอาจหาคำตอบได้ดีกว่า การวิจัยเชิง
คุณภาพมีจุดเด่นอย่างน้อย 5 ประการ ตามที่ Kerlinger และ Lee (2000 : 589) ระบุไว้ได้แก่
“ ประการแรก ใช้การสังเกตโดยตรง หรือการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ในการศึกษากับ สภาพการณ์จริง
ประการที่สอง นักวิจัยค้นหาความเชื่อมโยงทางสังคม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและเหตุการณ์
ประการที่สาม กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลมีโครงสร้างน้อยกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ จึงสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า
ประการที่สี่ นักวิจัยเชิงคุณภาพอาจทำการปรับวิธีการได้ตลอดช่วงของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประการที่ห้า นักวิจัยยังอาจพัฒนาสมมุติฐานขึ้นได้ระหว่างกระบวนการวิจัย”
การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีความเป็นธรรมชาติ เน้นการมีส่วนร่วม และให้ความสำคัญกับการตีความตามแนวความคิดของนักวิจัยที่มีประสบการณ์ (Creswell, 1998; Glesne & Peshkin, 1992) เห็น
ว่า การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความเหมาะสมสำหรับการตอบคำถามที่
ต่างกัน ในแง่ของการแสวงหาคำตอบ เราได้ความรู้ที่กว้างขวางขึ้นเมื่อเราใช้ 2 วิธีการ คือ ทั้งเชิง
ปริมาณและเชิงคุณภาพในงานวิจัยหนึ่งๆ มากกว่าที่เราจะจำกัดตัวเองอยู่เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
เพียงวิธีเดียว ฉะนั้นถ้านำวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพมาเสริมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ก็น่าจะทำให้
งานวิจัย มีพลังในการแสวงหาคำตอบได้มากยิ่งขึ้น

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการเสริมกันระหว่างวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ
เหตุผลประการแรก ก็เพราะทั้งสองวิธีการต่างมีความสำคัญ ซึ่ง Datta (1994) เห็นว่ามีอย่าง
น้อย 5 ประการคือ 1) ได้มีการใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพมานานแล้ว 2) นักวิจัย
และนักประเมินจำนวนมากใช้ทั้งสองวิธีดังกล่าว 3) แหล่งทุนได้ให้การสนับสนุนทั้งสองวิธี 4) ทั้งสอง
วิธีต่างมีอิทธิพลในเชิงนโยบาย และ 5) มีการสอนกันมากทั้งสองวิธีในสถาบันต่าง ๆเหตุผลประการที่สอง เพราะทั้งสองวิธี ต่างก็มีข้อจำกัดในตัวเอง (Tashakkori & Teddlie,1998: 97) กล่าวคือ จุดอ่อนของการวิจัยเชิงปริมาณก็คือบางครั้งดำเนินการในห้องทดลอง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้น แม้จะมีการควบคุมอย่างดีแต่บางครั้งผลไม่อาจสรุปอ้างอิงไปยังสภาพที่เป็นธรรมชาติได้ ในทางตรงข้ามการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาในสภาพธรรมชาติ ซึ่งผลของการวิจัยอาจเป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงเสียจนไม่สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่บริบทอื่นได้
ด้วยข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าว ทำให้ไม่มีเหตุผล ที่
จะทำให้นักวิจัยต้องเลือกวีธีใดวิธีหนึ่งเพื่อการศึกษาในแต่ละครั้ง นักวิจัยอาจเลือกทั้งสองวิธีการประกอบกัน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น a mixed method design
กล่าวได้ว่าทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพต่างมีความสำคัญ ต่างมีจุดเด่น
และมีข้อจำกัดของตนเอง ถ้าได้นำมาเสริมกันจะช่วยเพิ่มจุดเด่นและลดจุดอ่อน เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ของการวิจัย และความครอบคลุมชัดเจนของผลการวิจัยยิ่งขึ้น
ขณะที่ Padgett (1998 อ้างถึงใน Kerlinger & Lee, 2000 : 592) ได้ออกแบบการวิจัยที่ผสมผสานระหว่าง 2 วิธี เป็น 3 แบบ การผสม 2 วิธีที่เป็นเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ เข้าด้วยกันเรียกว่า วิจัยแบบพหุวิธี(multimethods) โดยสาระสำคัญคือ
วิธีที่ 1 เริ่มต้นด้วยวิธีเชิงคุณภาพแล้ว ดำเนินการด้วยวิธีการเชิงปริมาณ แล้วกลับไปใช้เชิง
คุณภาพอีก วิธีเชิงคุณภาพใช้เพื่อสำรวจ กำหนดความคิด สมมุติฐาน และตัวแปร ที่อยู่ในกรอบความคิด
ของนักวิจัย ซึ่งทำได้โดยใช้การสังเกต สัมภาษณ์ หรือ focus group จากความคิดรวบยอดที่ได้จากการศึกษาส่วนของเชิงคุณภาพนี้ สามารถศึกษาต่อได้ด้วยวิธีการเชิงปริมาณและทำการทดสอบสมมุติฐาน จากนั้นอาจเชื่อมโยงผลขั้นสุดท้ายกับสภาพที่เป็นจริง ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ
วิธีที่ 2 ใช้วิธีเชิงปริมาณในขั้นแรก และตามด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ ผลจากส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพต่อไป Padgett (1998 อ้างถึงใน Kerlinger &Lee, 2000 : 592) เห็นว่าการศึกษาเชิงปริมาณจำนวนมากสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิธีการเชิงคุณภาพสามารถตอบคำถามบางคำถามที่ไม่อาจตอบได้โดยการศึกษาเชิงปริมาณ
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า พัฒนาการของการใช้วิธีการวิจัยนั้น เริ่มตั้งแต่ monomethod study สู่
mixed method study จนถึง mixed model study ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้ระเบียบวิธีขั้นสูงยิ่งขึ้น
ตั้งแต่ก่อน คศ. 2000 เป็นต้นมาจนถึงปัจจัน (ค.ศ. 2009) ซึ่งก็สิบกว่าปีแล้ว วิธีการวิจัยได้
เจริญก้าวหน้าไปมากจนกล่าวได้ว่า ในขณะนี้รูปแบบหลักของการวิจัยมี 3 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิง
ปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) สิ่งที่มาผสมกันในรูปที่
สามนี้ คือ การวิจัย 2 รูปแบบแรกนั่นเอง การผสมของสองรูปแบบแรกนี้ อาจเป็นการผสมครึ่งต่อครึ่ง
หรือการผสมแบบมีรูปแบบหลักร่วมกับรูปแบบรอง
สรุป
การวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) เทคนิควิธีวิจัยแบบนี้เป็นการนำเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณและ เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกันในการทำวิจัยเรื่องเดียวกัน เพื่อที่จะตอบคำถามการวิจัยได้สมบูรณ์ขึ้นกว่าในอดีต มีพื้นฐานแนวคิด จากการหลอมรวม ปรัชญาของกลุ่มปฏิฐานนิยม และกลุ่มปรากฎการณ์นิยมเข้าด้วยกัน อาจเรียกว่า เป็นกลุ่มแนวคิด ของกลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatist) ซึ่งมีความเชื่อว่าการยอมรับธรรมชาติของความจริงนั้นมีทั้งสองแบบตามแนวคิด ของนักปรัชญาทั้งสองกลุ่ม










บรรณุกรม

เนาวรัตน์ พลายน้อยและศุภวัลย์ พลายน้อย. การติดตามประเมินผลและการสังเคราะห์ความรู้ : บทเรียน
การพัฒนานักจัดการความรู้ท้องถิ่นในโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข(สรส.) ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549.
วิโรจน์ สารรัตนะ. วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหาร
การศึกษา. ขอนแก่น : อักษราพิพัฒน์, 2545.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน และอัมพร ม้าคนอง. (กำลังดำเนินการ). การฝึกอบรมจิตลักษณะ และทักษะ
แบบบูรณาการที่มีต่อพฤติกรรมการพัฒนานักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ภาวนา เผ่าน้อย และคณะ. (2548). การวิจัยเพื่อศึกษาตัวแบบของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองที่มีประสิทธิภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณภาพการศึกษากับวิธีคิดเชิงระบบ


คุณภาพการศึกษากับวิธีคิดเชิงระบบ
นางสาวเศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา
ศูนย์บริการจังหวัดนครราชสีมา รหัสนิสิต 53070560014

ทฤษฎีเชิงระบบเป็นแนวคิดที่มองสิ่งต่างๆรอบตัวเป็นหนึ่งหน่วยของระบบ มีวงจรในการทำงาน คือ มีปัจจัยนำเข้า (INPUT) มีกระบวนการ(PROCES) และผลลัพธ์(OUTCOM) ความเป็นระบบจะเป็นวงจร ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานหลายๆระบบ แต่ละหนึ่งหน่วยในการทำงานก็จะมีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ผลผลิตจะไหลจากหน่วยการผลิตหนึ่งไปสู่อีกหน่วยหนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุดตามมิติต่างๆ ในเวลาเดียวกัน เช่นระบบการทำงานของร่างกายประกอบไปด้วย ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบการขับถ่าย ซึ่งเป็นระบบอยู่ในร่างกาย แต่ระบบก็ยังมีระบบย่อยๆออกไปอีกทุกระบบทำงานในเวลาเดียวกันแต่แตกต่างหน้าที่กัน เช่นเดียวกับระบบการทำงานในโรงเรียน “ระบบ” ในโรงเรียน เป็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในองค์กรที่รวมกันให้องค์กรขับเคลื่อนตามบทบาทภารกิจ ซึ่งในการจัดระบบและการบริหารระบบในโรงเรียนนั้นเป็นการจัดกลุ่มมาตรฐานและตัวบ่งชี้กับงานหรือโครงการที่โรงเรียนดำเนินการให้เป็นระบบย่อยๆ การนำกรอบแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming มีขั้นตอนการทำงาน วิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และบันทึกการทำงาน แล้วบริหารระบบนั้นด้วยกระบวนการ PDCA Model ที่ประกอบด้วย
1. P = Planning หมายถึง การวางแผน
2. D = Doing หมายถึง การปฏิบัติตามแผน
3. C = Correcting หมายถึง การแก้ไข
4. A = Acting หมายถึง การปฏิบัติหลังการแก้ไข
ระบบย่อยในโรงเรียนที่สะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินภายนอก 27 มาตรฐาน 91 ตัวบ่งชี้ มีอยู่ 10 ระบบย่อย ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้
1) ระบบหลัก (Core system) ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบกิจกรรมนักเรียน
2) ระบบสนับสนุน (Support system) ได้แก่ ระบบการนำองค์กร ระบบยุทธศาสตร์ ระบบบริหารจัดการ ระบบการดูแลคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ ระบบการพัฒนาบุคคลากร ระบบชุมชนสัมพันธ์ และระบบสารสนเทศ
ระบบต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเป็นตัวขับเคลื่อนและต้องทำงานไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดคุณภาพขึ้นมา ฉะนั้นบุคลากรในโรงเรียนต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ จากการคิดแยกส่วนไม่เกื้อหนุนกันมาคิดใหม่ คือ คิดอย่างมีระบบ (system thinking) การคิดอย่างมีระบบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งวิจารณ์ พานิช, (2548.) ได้กล่าวถึงรูปแบบขององค์การเรียนรู้ว่า วิธีการคิดอย่างมีระบบ System Thinking เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการให้เกิดการเรียนรู้(Learning) ต้องทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ในองค์การเพื่อจะได้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning organization) เน้นการดึงปัญญาของคนในองค์การ เน้นการทำงานเป็นทีม ใช้สูตรสร้างบรรยากาศ 575 คือสร้าง 5 ลด 7 เสริม 5 คือสร้างให้เกิดวินัย 5 ประการของ Peter Senge, ลดความไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ขององค์การ(Learning disability) และเสริมกิจกรรมที่ช่วยสร้างให้คนในองค์การเกิดการเรียนรู้ 5 ประการ ดังนี้
วินัยทั้ง 5 ประการของ Peter M. Senge ประกอบด้วย
1) Personal Mastery ต้องมีวินัยในตัวเอง มีสติสามารถบังคับตนเองได้ ควบคุมตนเองได้ ปรับปรุงตนเองสม่ำเสมอ มีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นปกติ กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
2) Mental Model ไม่มีมิจฉาทิฐิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจิตใจที่มีพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งคิดเชิงบวก คิดนอกกรอบและคิดแบบบูรณาการ
3) Shared Vision สร้างความฝันร่วมกัน รู้เป้าหมายทั่วทั้งองค์การ ใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน
4) Team Learning มีการเรียนรู้ร่วมกันของทีม สร้างความเข้าใจร่วมกับคนอื่นๆผ่านกระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง พยายามหาความเห็นร่วม (Consensus) ที่เหมาะสมต่อองค์การ เปลี่ยนการทำงานจาก ME เป็น WE (จากฉันเป็นเรา)
5) Systemic Thinking คิดเป็นระบบ เห็นภาพรวม (Big picture) มองความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆในองค์การ มองให้ออกว่าแต่ละส่วนขององค์การส่งผลกระทบต่อกันและกันอย่างไร
แก่นแท้ของการนำความคิดเชิงระบบมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ การที่บุคลากรในโรงเรียนมองเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสิ่งต่างๆ และการมองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และบุคลากรในสถานศึกษาต้องคิดตนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบอีกด้วย หลักการที่น่าท้าทายสำหรับการคิดเชิงระบบคือ การที่บุคลากรมีส่วนร่วมเรียนรู้ในการแก้ปัญหาอย่างเสมอและต่อเนื่อง และนั่นคือสิ่งที่น่าทายสำหรับผู้บริหาร
ตัวอย่าง การคิดเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
ครูโรงเรียนมาตรฐานวิทยา ได้รับการต่อว่าจากนักเรียนและผู้ปกครองเรื่องครูไม่มีการใช้สื่อการสอนและไม่ให้การบ้านนักเรียน ในช่วงภาคเรียนที่ผ่านมา ผู้อำนวยการโรงเรียน จึงเรียกประชุมครูและนำคำต่อว่าที่ได้รับมาเล่าให้ที่ประชุมฟัง โดยผู้บริหารถามครูว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
ครูสมสวย เป็นครูที่อาวุโสมากที่สุดในโรงเรียนจึงตอบผู้อำนวยการโรงเรียนไปว่า เมื่อเทอมที่ผ่านมาท่านผู้อำนวยการให้นโยบายกับครูทุกคนให้เตรียมการประเมินรอบที่สอง ครูทุกคนตั้งใจทำงานนั้นอย่างเต็มที่ ซึ่งผลออกมาน่าพอใจ เพราะโรงเรียนผ่านการประเมินไปได้ทุกมาตรฐาน แต่เนื่องจากงานประเมินเป็นงานที่หนักมาก ครูจึงไม่มีเวลาให้กับการเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ทำให้ได้รับการต่อว่าตามที่ผู้อำนวยการได้ข้อมูล
จะเห็นว่าปัญหาดังกล่าว สาเหตุที่แท้จริงนั้น คือ การที่ผู้บริหารให้นโยบายที่ผิดพลาดทำให้ครูทุกคนทุ่มเททำงานตามนโยบายอย่างเต็มที่ นั่นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบและสามารถส่งผลกระทบต่อระบบได้อย่างแน่นอน
ดัดแปลงมาจาก หนังสือการคิดเชิงระบบ เครื่องมือจัดการความซับซ้อนในโลกธุรกิจเขียนโดย Virginia Anderson and Lauren Johnson แปลโดย ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ศิรศักย เทพจิต. บริษัท อี ไอ สแควร์ พับบลิซซิ่ง จำกัด : 2550
การนำหลักการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เข้าสู่ระบบงานในโรงเรียนและถือว่าเป็นระบบหนึ่งที่ทำให้โรงเรียนมีระบบการประกันคุณภาพของโรงเรียน ซึ่งเราเรียกว่าการบูรณาการ (Integration) ซึ่งเป็นการประสานกลมกลืนของแผนกลยุทธ์ (Strategies plan) และแผนปฏิบัติการโรงเรียน (Action plan) เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นคุณภาพนักเรียนเป็นสำคัญ คือผู้เรียนมีคุณธรรม มีความรู้และมีความสุข ซึ่งเป็นเป้าประสงค์หลักของโรงเรียน การบูรณาการที่มีประสิทธิภาพนั้น จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อองค์ประกอบแต่ละส่วนของระบบมีการดำเนินการที่เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ การนำแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) เข้ามาพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีรูปแบบที่หลากหลายในที่นี้ขอนำเสนอรูปแบบการประกันคุณภาพ (The QA Model) ที่เป็นการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า มิติสามเหลี่ยมแห่งการประกันคุณภาพ (The Quality Assurance Triangle)
Defining Quality (QD)


Quality Assurance
(Q A)


Improving Quality Measuring Quality
(QI) (QM)
มิติสามเหลี่ยมแห่งการประกันคุณภาพ เป็นการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งต้องอาศัยพลังทั้งสามขับเคลื่อนไปพร้อมๆกันและมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นระบบการทำงานที่ใช้ในการบริการสุขภาพในโรงพยาบาล หากนำมาประยุกต์ใช้ในระบบงานในโรงเรียนจะเกิดมิติที่เป็นระบบขึ้นมาเพื่อใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
1. การกำหนดคุณภาพ (Defining Quality) (QD) การกำหนดคุณภาพคือสิ่งที่ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่านิยมขององค์กรในเรื่องการกำหนดคุณภาพ โดยนำนโยบายด้านคุณภาพเป็นข้อกำหนด เป็นมาตรฐานในการดำเนินการ เช่นมาตรฐานด้านการเรียนการสอน มาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน มาตรฐานด้านการบริหารการจัดการและด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการโรงเรียน เป็นผู้กำหนด นโยบายด้านคุณภาพของโรงเรียน ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน นโยบายด้านคุณภาพเป็นตัวกำหนดระบบการจัดการที่มีคุณภาพและผลลัพธ์ของโรงเรียน
2. การวัดคุณภาพ (Measuring Quality) (QM) เป็นการวัดผลด้านกิจกรรมที่ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงานประจำ การกำกับติดตามด้านคุณภาพ รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กร การตรวจสอบมาตรฐานในการปฏิบัติและการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
3. การปรับปรุงคุณภาพ (Improving Quality) (QI) เป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนประกอบไปด้วย P D S A เป็นมิติที่ทำให้เกิดการยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเปรียบเหมือนวงล้อที่ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง


ภาพที่ 2.7 : วัฏจักร PDSA นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา
ที่มา : William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 476.
P = PIAN คือการออกแบบวางแผนเพื่อหาข้อมูลเมื่อเกิดปัญหาและติดขัด
D = DO คือปฏิบัติตามสิ่งตามสิ่งที่กำหนดไว้ว่าควรแก้ปัญหาตรงจุดไหน
S = STUDY/LEARNING คือ การศึกษาเรียนรู้และแก้ปัญหาในการปฏิบัติและตรวจดูในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในการปฏิบัติ เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนวงล้อหมุนไปได้ตลอดเวลา เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา อย่างไม่หยุดนิ่ง เรียนรู้อะไรบ้าง เช่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ร่วมงานทำงานได้ง่ายขึ้น ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
A = Act เป็นการควบคุมกำกับในกาปฏิบัติจากการที่ได้เรียนรู้ เมื่อเกิดการเรียนรู้ จะต้องมองเห็นโอกาสในการพัฒนาทุกอย่างให้ไปพร้อมกันและมีเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้นำไปสู่การวางแผนใหม่ ให้มีการพัฒนาขึ้น ดังนั้นขั้นตอนของ QI จะต้องมี P D S A เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงจะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้



เอกสารอ้างอิง

เกษม วัฒนชัย. (2545) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
เฉลิม ฟักอ่อน. (2551) แนวคิดการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา.
[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.nites.com (7 กันยายน 2553)
วิจารณ์ พานิชย์. 2551. โมเดลปลาทู. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/km/index.php2about-km/5-article-from-external/4-fish- model.html (30 กันยายน 2553)

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาศักยภาพของครูเพื่อพัฒนาประเทศ


ระดับการพัฒนาศักยภาพของคน ความรู้ เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ง่าย ทักษะ เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ในระดับปานกลางต้องอาศัยการฝึกฝนจนกระทั่งเกิดความชำนาญ สิ่งที่พัฒนาได้ยากขึ้น คือเจตคติ และ สิ่งที่ยากมากที่สุด คือ ทักษะการสังคม เช่น ความรับผิดชอบ จิตอาสา ทักษะการให้บริการ

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่ดีดีที่ได้จากผู้ร่วมงาน


การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
โดย เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร

ศักยภาพการทำงานของมนุษย์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ การคิดและการแสดงออกในการปฏิบัติ ซึ่งทั้งสองประการดังกล่าวนี้ “สมอง” เป็นกลไกที่สำคัญที่สุด องค์กรหรือสถาบัน ซึ่งประกอบด้วย บุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทันยุคทันสมัย และพัฒนาก้าวหน้าสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ ยิ่งกว่านั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้บุคคลพัฒนาศิลปะและวิทยาการให้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหาได้ ความคิดคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของคนในองค์กร ทำให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงาน พอสรุปได้ ดังนี้
1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ช่วยให้เกิดการปรับปรุงงาน
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ช่วยในการแก้ปัญหา
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ช่วยในการกระตุ้นให้มีการเสริมสร้างพลังแห่งจินตนาการและเสริมสร้างวิสัยทัศน์ในการทำงาน
5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นการกระตุ้นให้เกิดผลงานที่แตกต่าง แปลกใหม่และดีกว่าเดิม

ความหมายของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อาจแยกได้เป็น สองคำ คือ ความคิดริเริ่มกับความคิดสร้างสรรค์ สำหรับความคิดริเริ่มคือ ความสามารถที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ เป็นความเริ่มแรกที่ไม่ซ้ำแบบใคร ส่วนความคิดสร้างสรรค์ คือความสามารถที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม และพัฒนาขึ้นเป็นความคิดใหม่ที่มีต่อเนื่องและมีคุณค่า
กิลฟอร์ด (Guilford อ้างถึงใน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2545 : 25)ได้อธิบายว่า เป็นลักษณะการคิดอเนกนัย
(Divergent Thinking) คือความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลความคิดอเนกนัยนี้ประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
1. ความคิดดั้งเดิม (Originarity) เป็นความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร
2. ความคิดฉับไว (FluEncy) เป็นความคล่องในความคิดเรื่องเดียวกันที่พรั่งพรูออกมาโดยไม่ซ้ำแบบกันเลยในเวลาที่กำหนด
3. ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความคิดที่สามารถพลิกแพลงออกมาได้หลายลักษณะ ไม่คิดแบบนี้ก็ไปคิดอีกแบบหนึ่งก็ได้

4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นความคิดที่แตกต่างหรือหาทางควบคุมป้องกันสิ่งที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ลักษณะต่างๆของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เมื่อกล่าวถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจกล่าวถึงได้ในลักษณะต่างๆกันถึง 3 ลักษณะคือ
1.1 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในลักษณะกระบวนการ (Creative Process) ตามลักษณะนี้ เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานทำงานของสมองอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ ขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทำงานของสมองมีผู้เสนอไว้หลายแบบ ดังนี้
วอลลาส (Wollas อ้างถึงใน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550 : 18) แบ่งขั้นตอนของกระบวนการเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียม (Preparation) เป็นขั้นเตรียมข้อมูลต่างๆ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำหรือแนวทางเลือกที่ถูกต้องหรือข้อมูลระบุปัญหา หรือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง
2. ขั้นฟักตัว (Incubation) เป็นขั้นอยู่ในความวุ่นวายของข้อมูลต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่สะเปะสะปะ ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สามารถจัดรูปแบบ หรือหมวดความคิดเป็นกลุ่มก้อนได้ จึงปล่อยความคิดไว้เงียบๆ
3. ขั้นความคิดกระจ่างชัด (Illumination) เป็นขั้นที่ความคิดสับสนได้ผ่านการเรียบเรียงและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ให้มีความกระจ่างชัดและเห็นภาพพจน์มโนทัศน์ของความคิด
4. ขั้นพิสูจน์ (Verification) เป็นขั้นตอนที่ได้รับความคิดจากขั้นตอนทั้งสามขั้นข้างต้น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความคิดที่เป็นจริงและถูกต้อง
ทอแรนซ์และเมเยอร์ (Torrance and Mayer อ้างถึงใน ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา, 2545 : 19) ได้แบ่งกระบวนการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การพบความจริง (Fact Finding) เป็นขั้นที่เริ่มตั้งแต่เกิดความกังวล มีความสับสนวุ่นวายเกิดขึ้นในใจ
2. การค้นพบปัญหา (Problem Finding) เป็นขั้นที่ได้พิจารณารอบคอบแล้วจึงเข้าใจและสรุปว่าความกังวลใจ ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือการเกิดปัญหาขึ้นนั่นเอง
3. การตั้งสมมุติฐาน (Idia Finding) เป็นขั้นพยายามคิดและตั้งสมมุติฐานขึ้น รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นต่อไป
4. การค้นพบคำตอบ (Solution Finding) เป็นขั้นตอนการพบคำตอบที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานในขั้นตอนที่ 3
5. การยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance Finding) เป็นการยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่า จะแก้ปัญหาสำเร็จได้อย่างไร และต่อจากจุดนี้จะนำไปสู่หนทางที่ทำไว้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไป

1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในลักษณะบุคคล (Creative Person) ตามลักษณะนี้เป็นการมองบุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ โดยไม่ถอยหนี รับประสบการณ์ต่างๆ โดยไม่หลีกเลี่ยงหรือหลบถอย
2. เป็นผู้ที่ทำงานเพื่อความสุขของตนเอง มิใช่เพื่อหวังแค่ประเมินผล หรือการยกย่องจากบุคคลอื่น
3. มีความสามารถในการคิดและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ฟรอมม์ (Fromm อ้างถึงใน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2545) กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไว้ว่า
1. มีความรู้สึกประหลาดใจที่ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่น่าทึ่งน่าประหลาดใจ สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ หรือของใหม่ๆ
2. มีสมาธิสูง เป็นผู้ที่สามารถให้ความสนใจหรือมีสมาธิจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่สนใจได้เป็นเวลานานๆ ไม่วอกแวก เพื่อใช้เวลานั้นไตร่ตรองหรือคิดในเรื่องที่กำลังสนใจอยู่ 3. สามารถยอมรับสิ่งต่างๆได้ ยอมรับความไม่แน่นอน หรือสิ่งที่เป็นข้อขัดแย้งหรือตรึงเครียด
4. มีความเต็มใจที่จะทำสิ่งใหม่ๆ มีความกล้าหาญที่จะเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่ได้ทุกวัน
อนาตาสิ (Anatatasi อ้างถึงในอเนก ศรีภูมิ, 2550 : 18) กล่าวถึงผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. มีความรู้สึกวัยต่อปัญหา
2. มองเห็นกาลไกล
3. มีความเป็นตัวของตัวเอง
4. มีความสามารถในการคิดหลายแง่หลายมุม
5. มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงความคิดอย่างคล่องแคล่ว
การิสัน (Garison อ้างถึงใน อเนก ศรีภูมิ. 2550 : 19) กล่าวถึงลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไว้ว่า
1. เป็นคนที่สนใจปัญหา ยอมรับความเปลี่ยนแปลง กล้าเผชิญปัญหา กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาและพยายามหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
2. เป็นคนที่มีความสนใจอย่างกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์รอบด้าน สนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ ยอมรับฟังความคิดเห็นที่มีสารประโยชน์ และนำข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงงานของตน
3. เป็นคนที่คิดชอบหาทางแก้ไขปัญหาไว้หลายๆทาง เตรียมทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาไว้มากกว่าหนึ่งเสมอเป็นการช่วยให้คล่องตัวประสบผลสำเร็จ
4. เป็นคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เป็นคนช่างซักถามจดจำเรื่องราวได้แม่น และสามารถนำข้อมูลที่จดจำได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดี
5. เป็นคนที่ยอมรับและเชื่อมั่นในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จึงจัดบรรยากาศ และสถานที่ให้เหมาะกับการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และขจัดสิ่งรบกวนหรืออุปสรรคออกไป

1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในลักษณะผลิตผล (Creative Product)
ตามลักษณะนี้เป็นการมองดูสิ่งที่เป็นผลิตผลจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจได้เป็นทั้งรูปธรรม นามธรรม
นิวเวลล์ ชอว์ และซิมซัน (Newell Shaw and Simson อ้างถึงใน อเนก ศรีภูมิ, 2550:19) ได้กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าผลผลิตใดที่จะจัดเป็นผลผลิตจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ ดังนี้
1. เป็นผลิตผลที่แปลกใหม่ มีค่าต่อผู้คิด สังคม และวัฒนธรรม
2. เป็นผลิตผลที่ไม่เป็นไปตามปรากฏการณ์นิยม ในเชิงที่ว่ามีความคิดดัดแปลงหรือยกเลิกผลผลิต หรือความคิดที่เคยยอมรับกันมาก่อน
3. เป็นผลผลิตที่เกิดจากการที่ได้รับการกระตุ้นอย่างสูงและมั่นคงเป็นระยะเวลายาวหรือความพยายามอย่างสูง

ที่มาของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นหรือมีในบุคคลนั้น เมื่อพิจารณาถึงที่มาแล้วอาจจำแนกได้ ดังนี้
1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นเพราะความจำเป็น ซึ่งแยกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ความจำเป็น
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกิดจากความบังเอิญ
บ่อยครั้งที่ความบังเอิญก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยที่ไม่จงใจที่จะทำ แต่เมื่อผลงานปรากฏมามีความแปลกใหม่ สามารถแก้ปัญหาหรือใช้ได้ดี ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แบบนี้ก็ต้องอาศัยช่างสังเกตมากกว่าปกติ จึงจะเกิดแนวคิดที่เกิดจากความบังเอิญ เช่นคนโบราณทำเนื้อหล่นลงไปในกองไฟ เมื่อหยิบมากินก่อนที่จะไหม้พบว่ารสชาติดีขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการปิ้ง ย่างเนื้อให้สุกก่อนรับประทานในทุกวันนี้

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการใช้ผังความคิดเพื่อพิชิต A


แผนที่ความคิด(MIND MAP)

Mind Map คือ อะไร
Mind Map หรือ แผนที่ความคิด เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้าง และที่ชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆทั้งสิ้น เป็นการเขียนตามความคิด ที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเขียนมีลักษณะเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้าน สาขาออกไปเรื่อยๆ ทำให้สมองได้คิดได้ทำงานตามธรรมชาติอย่างและมีการจินตนาการกว้างไกล
แผนที่ความคิด ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกความคิดของการอภิปรายกลุ่ม หรือการระดมความคิด โดยให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็น และวิทยากรจะทำการ จดบันทึกด้วยคำสั้นๆ คำโตๆ ให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเข้าหากิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรวบรวมความคิดที่หลากหลายของทุกคน ไว้ในแผ่นกระดาษแผ่นเดียว ทำให้ทุกคนได้เห็นภาพความคิดของผู้อื่นได้ชัดเจน และเกิดความคิดใหม่ต่อไปได้

ความเป็นมาของ Mind Map
แผนที่ความคิด เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุด นาย ธัญญา ผลอนันต์ เป็นผู้นำความคิดและวิธีการเขียนแผนที่ความคิดเข้ามาใช้ และเผยแพร่ในประเทศไทย ผู้คิดริเริ่มคือโทนี บูซาน (Tony Buzan) เป็นชาวอังกฤษ เป็นผู้นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้เพื่อการเรียนรู้ของเขา โดยพัฒนาการจากการจดบันทึกแบบเดิมที่ เป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด ๆ เป็นแถว ๆ ใช้ปากกาหรือดินสอในการจดบันทึก เปลี่ยนมาเป็นบันทึกด้วยคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่รัศมี ออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของ กิ่งไม้ โดยใช้สีสัน การเขียนแผนที่ความคิดของโทนี บูซาน เป็นการบันทึกในทุกๆเรื่อง ทั้ง ชีวิตจริงส่วนตัวและการงาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การช่วยจำ การแก้ปัญหา การ นำเสนอ และการเขียนหนังสือ เป็นต้น การบันทึกแบบนี้เป็นการใช้ทักษะการทำงานร่วมกัน ของสมองทั้งสองซีก คือ ซีกซ้าย วิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับ ความเป็นเหตุ เป็นผล ส่วนสมองซีกขวา จะทำหน้าที่สังเคราะห์คิด สร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีแถบเส้นประสาทคอร์ปัสคอโลซั่มเป็นเสมือนสะพานเชื่อม

หลักการเขียน Mind Map
การเขียน Mind Map ใช้กระดาษแผ่นเดียว การเขียนใช้สีสันหลากหลาย ใช้โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง ใช้เส้นโยง มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมอง


วิธีการเขียน Mind Map
1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี
ความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อม
กรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน

ข้อดีของการทำแผนที่ความคิด
1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

สรุป Mind Map เป็นแผนที่ความคิดที่อัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่ การจดจำ การเรียบเรียง การจัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติ การทำงานของสมองตั้งแต่ต้น นั่นหมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ในภายหลัง จะทำได้ง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม





Mind Map การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map)

การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map)
(เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้จัดระเบียบความคิด จำได้ทนนานนักแล....)
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map)
ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป
การสร้างแผนที่ความคิด
ขั้นตอนการสร้าง Mind Map

1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ
เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น
กฏการสร้าง Mind Map
1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถ ประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น
6. ใช้สีทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
วิธีการเขียน
Mind Map โดยละเอียดอีกวิธีหนึ่ง

1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้นซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
การนำไปใช้
1. ใช้ระดมพลังสมอง
2. ใช้นำเสนอข้อมูล
3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
แผนที่ความคิด(mind maps) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราคิดและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ข้อความที่จะอ่านต่อไปนี้จะอธิบายให้เรารู้ว่า เราจะทำแผนที่ความคิดได้อย่างไร และในแต่ละส่วนที่นำเสนอในที่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการศึกษา, ในการเรียนรู้, ในการเขียนบทความ, ในการอ่าน, ในการฟังบรรยาย, ในการสัมมนา, และการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งหากได้มีการฝึกฝนจนชำนาญแล้ว เราจะพบว่า การทำแผนที่ความคิดจะเป็นประโยชน์แก่เรามาก
How to do Mind Map : จะเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิดอย่างไร
แผนที่ความคิด(Mind Mapping or Concept Mapping) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจดบันทึกแก่นของไอเดียและความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงไอเดียหรือความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งไอเดียหลักขึ้นมาที่กลางหน้ากระดาษ(แนวนอน-landscape)ก่อน แล้วบันทึกไอเดียต่างๆกระจายออกเป็นกิ่งๆ รายรอบออกจากศูนย์กลางของไอเดียหลักที่กลางหน้ากระดาษนั้น
ดังนั้น กฎข้อแรกก็คือ การโฟกัสลงไปที่ไอเดียต่างๆที่เป็นกุญแจสำคัญ โดยการจดลงไปที่กลางหน้ากระดาษด้วยคำพูดของเราเอง, และต่อจากนั้นก็ขยายกิ่งก้านสาขาออกไป โดยแต่ละกิ่งก็มีไอเดียของกิ่งนั้น หลังจากที่ได้ทำเช่นนี้ไปจนมากพอแล้วในขั้นต้น จากนั้นก็ตรวจตราดูไอเดียต่างๆที่สัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงไอเดียของแต่ละกิ่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน. การกระทำเช่นนี้ เรากำลังวาดแผนที่ความรู้(ความคิด, ไอเดีย)ในลักษณะที่จะช่วยให้เราเข้าใจและโยงประเด็นสำคัญ รวมถึงจดจำข้อมูลใหม่ๆได้ (ดูภาพประกอบ 1)
ก่อนที่เราจะเข้าไปลึกมากกว่านี้ เพื่อป้องกันความสับสน จึงขอให้ภาพทั้งหมดของเอกสารหรือบทความฉบับนี้ทั้งหมดก่อน เพื่อทำความเข้าใจและเห็นภาพกว้างโดยรวมทั้งหมด
1. การเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิด
1.1 Look for relationships (การค้นหาความสัมพันธ์)
1.2 Draw quickly on unlined paper without pausing, judging or editing (เขียนอย่างรวดเร็วลงบนกระดาษโดยไม่หยุดหรือสะดุด, โดยไม่ต้องมีการตัดสินใจ หรือเรียบเรียง)
1.3 Use Capitals (ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หรือตัวหนากว่าปกติ)
1.4 Put Main idea in the center (วางไอเดียหลักเอาไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ)
1.5 Leave lots of space (ปล่อยเนื้อที่ว่างกระดาษเอาไว้มากๆ)
2. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแผนที่ความคิดในด้านต่างๆ
2.1 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการเตรียมเขียนบทความหรือความเรียงต่างๆ(Essay Preparation)
2.2 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ (understand your reading)
2.3 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้ในบันทึกคำบรรยาย, การสัมมนา, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนการสอน (Lectures, Seminars, Workshops and Tutorials)
3. Brainstorming : ปฏิบัติการพายุสมอง
4. Mind Mapping (2) : แผนที่ความคิด
4.1 What is a mind map ? (แผนที่ความคิดคืออะไร?)
4.2 What can you do with a mind map (เราจะทำแผนที่ความคิดขึ้นมาได้อย่างไร?)
4.3 Creative Writing & Report Writing (การนำแผนที่ความคิดไปใช้ในการเขียนรายงาน และข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์)
4.4 Studying the easy way (การศึกษาด้วยหนทางง่าย - ช่วยในการอ่านเรื่องยากๆ)
4.5 Studying as a group (การศึกษาในลักษณะกลุ่ม)
4.6 Meeting & Think Tanks (การพบปะกันเพื่อระดมความคิด และ การสร้างถังความคิด)
4.7 Giving a Talk (การเตรียมพูด)
4.8 Some model of mind maps (ตัวอย่างบางอันเกี่ยวกับ แผนที่ความคิด)
เริ่มเรื่อง
1. การเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิดนั้น อาจเริ่มด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1.1 Look for relationships (การค้นหาความสัมพันธ์)
การเริ่มต้นทำแผนที่ความคิด เราควรจะต้องเตรียมกระดาษขึ้นมา 1 แผ่น โดยเขียนตามแนวนอนของหน้ากระดาษ(landscape) นอกจากนี้ ควรมีดินสอสี(หรือปากกาเมจิก)หลายๆสี เพื่อสะดวกต่อการสังเกตไอเดียต่างๆ ที่เราใช้ดินสอสีแต่ละสีบันทึกไอเดียแต่ละไอเดียของเราลงไป (ทั้งนี้เพื่อให้เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนและโดยทันทีถึงความสัมพันธ์กันของไอเดีย และเพื่อลากเส้นเชื่อมที่โยงกับไอเดียที่สัมพันธ์กัน ภายหลังจากที่เราได้จดบันทึกความคิดลงไปจนเกือบเต็มหน้ากระดาษแล้ว)
ใช้เส้น, สี, ลูกศร, กิ่งก้านที่แผ่ขยายออกไปจากศูนย์กลางไอเดีย หรือวิธีการอื่นๆ ที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไอเดียที่เกิดขึ้นมาบนแผนที่ความคิดของเรา. ความสัมพันธ์กันเหล่านี้จะมีความสำคัญต่อความเข้าใจข้อมูลใหม่ๆ หรือช่วยในการก่อรูปโครงสร้างแผนงานต่างๆขึ้นมา. ในการสร้างแผนที่ความคิด เราอาจใช้รูปประกอบที่เราเขียนขึ้นมาเองเป็นสัญลักษณ์ก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็น และสร้างความเชื่อโยงทางความหมายระหว่างไอเดียต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราได้ระลึกถึงมันและเข้าใจมัน
1.2 Draw quickly on unlined paper without pausing, judging or editing (เขียนอย่างรวดเร็วลงบนกระดาษโดยไม่หยุดหรือสะดุด, ไม่มีการตัดสินใจ หรือเรียบเรียง)
ในกระบวนการเกี่ยวกับการใช้ความคิดทั่วๆไป เรามักจะคิดถึงอะไรในลักษณะที่เรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(linear thinking) แต่การทำแผนที่ความคิดนั้น จะต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ และคิดในวิธีการที่ไม่ต้องเรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(non-linear manner) เราจะต้องปล่อยให้ไอเดียหรือความคิดพรั่งพรูออกมา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ามันแปลกประหลาด ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างอิสระโดยไม่ต้องมาคอยตรวจตราดูหรือเรียบเรียงมันแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะเรามีเวลามากมายเหลือเกินที่จะแก้ไขปรับปรุงข้อมูลต่างๆเหล่านี้ภายหลัง. แต่ ณ ขั้นตอนแรกนี้ มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะเก็บเอาความเป็นไปได้ทั้งหมด จดลงไปบนแผนที่ความคิด. ซึ่งบางครั้ง หนึ่งในความเป็นไปได้ที่คลุมเครือเหล่านั้น อาจกลายเป็นกุญแจสำคัญต่อความรู้ของเราเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ หรือการแก้ปัญหาที่มีอยู่
1.3 Use Capitals (ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หรือตัวหนากว่าปกติ)
สำหรับหัวข้อกลางหน้ากระดาษที่เราทำแผนที่ความคิด และไอเดียสำคัญ(key point)ของแต่ละกิ่งที่กระจายออกไปจากศูนย์กลางคล้ายรัศมีของดวงอาทิตย์ แต่ละกิ่งนี้ให้ใช้อักษรตัวหนา เพราะจะง่ายต่อการสังเกตภายหลัง. อย่างไรก็ตาม เราอาจจะต้องเขียนอะไรลงไปเพื่อเป็นการขยายความ มีบางคนที่กระทำเช่นนี้เมื่อเขาได้กลับมาดูแผนที่ความคิดของตนเองอีกครั้ง
1.4 Put Main idea in the center (วางไอเดียหลักเอาไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ)
คนส่วนใหญ่ จะวางกระดาษตามแนวนอน(landscape) ในการเขียนแผนที่ความคิด เพราะในเชิงจิตวิทยา กระดาษตามแนวนอนจะให้ความรู้สึกผ่อนคลายกว่าแนวตั้ง และไม่รู้สึกว่าถูกบีบด้วยความแคบของเนื้อที่กระดาษ. จากนั้นก็บันทึกไอเดียหลักหรือหัวข้อที่เราจะทำแผนที่ลงไปตรงกลางหน้ากระดาษ การทำเช่นนี้ จะช่วยให้เรามีพื้นที่ว่างมากมายอยู่รอบๆเพื่อจะขยายกิ่งก้านไอเดียที่เกิดจากศูนย์กลางต่อๆมาได้อย่างสะดวก แผ่ไปได้ทุกทิศทาง
1.5 Leave lots of space (ปล่อยเนื้อที่ว่างกระดาษเอาไว้มากๆ)
แผนที่ความคิดที่มีประโยชน์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการเพิ่มเติมไอเดียหรือความคิดลงไปภายหลังหลายๆครั้งในแต่ละโอกาส. หลังจากการเขียนแผนที่ความคิดขึ้นมาครั้งแรกแล้ว เราอาจต้องหวนกลังไปหามันอีก ทั้งนี้เพราะ เราเกิดความคิดเพิ่มเติมขึ้นมาโดยบังเอิญ หรือไปสะดุดอะไรเข้าแล้วนึกถึงมันขึ้นมาได้ เราจึงอยากจะไปเพิ่มเติมหรือขยายแผนที่. ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นความคิดที่ดีที่เราจะปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากๆ เพื่อสะดวกแก่การเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง
2. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแผนที่ความคิดในด้านต่างๆ
การทำแผนที่ความคิดนั้น สามารถทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายด้านด้วยกัน และนอกจากประโยชน์ที่จะอ่านต่อไปนี้แล้ว เราอาจนำไปประยุกต์กับการวางแผนกิจกรรมใดๆก็ตาม ที่เราคิดฝันจะทำได้ในทุกๆด้าน แต่สำหรับที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือตัวอย่างการนำเอาแผนที่ความคิดไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาเป็นหลัก
2.1 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการเตรียมบทความหรือความเรียงต่างๆ(Essay Preparation)
แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยเราได้ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นสำหรับการเตรียมเขียนบทความขึ้นมาเลยทีเดียว โดยการสรุปสิ่งที่เราวิจัยและเตรียมที่จะเสนอด้วยแผนที่ ทั้งนี้เพื่อให้เราเห็นภาพของแง่มุมต่างๆทั้งหมด และคำถามหรือปัญหาต่างๆ. ต่อจากนั้น เราก็สามารถที่จะเคลื่อนจากความคิดที่ไม่เป็นเส้นตรงในแผนที่(non-linear mind map)ไปสู่โครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น สำหรับการวางแผนการเขียนบทความหรืองานวิจัยของเรา
2.1.1 Housekeeping (บ้านวางแผน)
จะเป็นประโยชน์มากที่จะวาง"แผนที่ความคิด"ลงไปในส่วนนี้ด้วยรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น
-การประเมินถึงมาตรฐานและน้ำหนักของข้อมูลต่างๆ
- วันเวลาที่กำหนดนัด
- ตารางเวลา
- และความจำเป็นอื่นๆ ฯลฯ
2.1.2 Prior Knowledge (ความรู้ที่มีอยู่ก่อน)
เราควรจะวาง"แผนที่ความคิด"เกี่ยวกับสิ่งที่เรารู้แล้วทั้งหมดเกี่ยวกับคำถามหรือปัญหาในบทความลงในหน้ากระดาษก่อน. ความรู้อันนี้อาจมาจากประสบการณ์ส่วนตัว, การฟังบรรยาย, การอ่าน หรือจากต้นตออื่น. เราจะรู้สึกประหลาดใจเกี่ยวกับส่วนนี้ของแผนที่ความคิด ซึ่งมันได้แตกกิ่งก้านออกไปอย่างกว้างขวางมาก
2.1.3 Possible topics to be covered (หัวข้อต่างๆที่เป็นไปได้ที่จะครอบคลุม)
บทความส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดการกับหัวข้อต่างๆ ซึ่งหัวข้อเหล่านั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่หรือต้องแก้ไข. บันทึกหัวข้อความเป็นไปได้เหล่านี้ลงไปทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจไม่มีเวลาพอหรือเนื้อที่กระดาษมากพอที่จะตอบปัญหาหัวข้อเหล่านั้นได้ทั้งหมด ดังนั้นใส่มันลงไปก่อน และพยายามค้นหาความสัมพันธ์สอดคล้องกันของมัน และจากนั้น ค้นหาจุดเริ่มต้นที่พิเศษในการเปิดเรื่องเพื่อสร้างความสนใจ และเชื่อมโยงประเด็นต่างๆให้เข้ากัน


2.1.4 Areas to research (ขอบเขตพื้นที่ที่จะทำวิจัย)
ขอบเขตที่จะวิจัยอาจได้รับการนำเสนอขึ้นมาโดยหัวข้อที่เป็นไปได้ และจากตรงนี้ แผนที่ความคิดของเราจะนำเราไปยังต้นตอข้อมูลอันหลากหลายของความรู้ ซึ่งเราจะติดตามมันไปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์. บ่อยทีเดียว เราจะต้องเลือกพวกมันอย่างระมัดระวัง ซึ่งขอบเขตเหล่านั้นจะต้องมีผลดี และสอดคล้องกับการวิจัย
2.1.5 Alternative approaches (ทางเลือกใหม่ๆในการเข้าถึง)
หนึ่งในสิ่งที่มีพลังของ"แผนที่ความคิด"ก็คือ มันเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และบ่อยครั้ง มันเป็นการแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์สำหรับอุปสรรคต่างๆ. ให้เรามองหาหนทางเลือกต่างๆเสมอๆ และสำหรับในที่นี้ก็คือ มองหาทางเลือกของคำถามหรือปัญหาของความเรียงของเรา และเตรียมตัวเป็นนักวิจัยหรือนักเขียนเชิงวิพากษ์คนหนึ่ง ผู้ซึ่งกำลังตระเตรียมที่จะออกไปนอกขอบเขตความรู้ปกติ
2.2 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้กับการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ (understand your reading)
แผนที่ความคิด สามารถช่วยให้เราเข้าใจและจดจำประเด็นสำคัญของการอ่านหนังสือของเราได้ และข้อแนะนำวิธีการ 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ในการสร้าง"แผนที่ความคิด"ขึ้นมา จะช่วยให้เราสรุปงานที่เรากำลังอ่านอยู่ได้ และเข้าใจความซับซ้อนเชื่อมโยงกันของมัน
2.2.1 Skim (กวาดตามอง)
แรกสุด ให้เราอ่านบทคัดย่อ, คำนำ, ข้อสรุป, หัวข้อสำคัญ หรือหัวข้อในแต่ละบทก่อน. จากนั้นให้เรากวาดดูหนังสือเล่มนั้น โดยสังเกตบรรดาภาพ, แผนผัง, หรือภาพประกอบในลักษณะอื่นๆ รวมไปถึงแผนภาพสถิติต่างๆ. การทำเช่นนี้ จะทำให้เราเห็นภาพรวมของสิ่งที่เราจะอ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น. ใส่มันลงไปในบริบท และการทำเช่นนั้นอาจให้ร่องรอยบางอย่างกับเราเกี่ยวกับว่า ตรงไหนบ้างที่ส่วนซึ่งมีความสัมพันธ์กัน หรือสอดคล้องกันตั้งอยู่
2.2.2 Read (อ่าน)
ให้นั่งอ่านบทความเรื่องหนึ่ง (หรืออ่านมันทุกส่วน/ทุกบท ถ้าหากว่ามันเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง) และลองตรวจดูส่วนต่างๆที่คุณไม่ค่อยแน่ใจมันเท่าไรนัก
2.2.3 Mind map (ทำแผนที่ความคิด)
มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำ แผนที่ความคิด จากความทรงจำ ณ ขั้นตอนนี้ โดยไม่ต้องปรึกษาหารือ หรือย้อนกลับไปดูต้นตอใดๆของข้อมูล
2.2.4 Study (ศึกษา)
แผนที่ความคิด ที่เราเพิ่งเขียนขึ้นมาจะมีค่าอย่างยิ่ง ดังที่มันจะแสดงให้เห็นทั้งขอบเขตความรู้ที่คุณเข้าใจ และสิ่งที่คุณยังไม่ค่อยแน่ใจ. ลองศึกษาแผนที่ความคิดของเราเพื่อค้นหาช่องว่างต่างๆในความรู้ และอ้างอิงกลับไปยังต้นตอเนื้อหา เพื่อเติมเต็มช่องต่างๆว่างเหล่านี้.
2.2.5 Personalize (ทำให้เป็นความรู้ส่วนตัวของเรา)
ใช้สีที่แตกต่างกันหรือสัญลักษณ์, เพิ่มเติมความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์รวมทั้งคำถามต่างๆของเราเองลงไปในแผนที่ความคิด. โยงคำถามหรือข้อสงสัยที่มีความสัมพันธ์กัน, ความเกี่ยวโยงกัน, ทางเลือกต่างๆ, ความมีประโยชน์, ความชัดเจนแจ่มแจ้ง, สำหรับประสบการณ์ส่วนตัว เราสามารถที่จะนำมาพิจารณาได้ทั้งหมด ณ ขั้นตอนนี้. ด้วยขั้นตอนการทำให้เป็นส่วนตัวของเรา แผนที่ความคิดของเราก็จะเริ่มช่วยเหลือเราได้จริงๆในการเรียนรู้. เคล็ดลับตอนนี้ จะต้องพูดถึงคำถามหรือข้อสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดที่เราได้ยกขึ้นมา และหวนกลับไปสู่แผนที่ความคิดความคิดของเราด้วยคำตอบต่างๆ
2.3 การนำเอาวิธีการทำแผนที่ความคิดไปใช้ในการฟังบรรยาย, สัมมนา, การประชุมปฏิบัติการ และการเรียนการสอน (Lectures, Seminars, Workshops and Tutorials)
คนหลายคนพบว่า มันเป็นประโยชน์ที่จะสร้างแผนที่ความคิดขึ้นมาสำหรับกิจกรรมต่างๆ หรือการประชุมหลายๆชนิด ที่ที่ข้อมูลใหม่ๆได้ถูกนำเสนอออกมา. ในส่วนของขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติการในการทำแผนที่ความคิดขึ้นมานั้นมีดังนี้
2.3.1 Adds structure (เพิ่มโครงสร้าง)
ทั้งหมดของยุทธศาสตร์การสอนเหล่านี้สามารถที่จะได้รับการมาทำให้มีลักษณะปลายเปิด และการไหลเลื่อนได้อย่างอิสระ. แผนที่ความคิด สามารถช่วยให้เราบันทึกหรือเก็บข้อมูลในรูปของโครงสร้างที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของเรา และมีความหมายบางอย่างสำหรับเรา
ในการฟังการบรรยาย หรือประชุมเชิงปฏิบัติการ ข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆที่ได้รับ อาจประดังเข้ามาหาเราอย่างห่ากระสุนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่"แผนที่ความคิด"จะทำให้เราสามารถจัดวางข้อมูลลงที่เราต้องการมัน และสร้างความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กันขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม
2.3.2 Helps review (ช่วยในการทบทวน)
การเปิดพื้นที่ให้เหลือเนื้อที่ไว้มากๆของแผนที่ความคิด จะทำให้เราสามารถเพิ่มเติมความคิดหรือไอเดียต่างๆลงไปได้ ในการย้อนกลับมาทบทวนมันอีกครั้ง หลังจากกิจกรรมหรือการประชุมนั้นได้ผ่านไปแล้ว. ในการกลับมาทบทวนนั้น เราสามารถที่จะให้ความสนใจในพื้นที่ที่สำคัญ, ช่องว่างต่างๆในความเข้าใจของเรา และตั้งคำถามที่สิ่งที่ถูกกล่าวถึง
คนบางคนพบว่ามันยากที่จะไปพิจารณากับ แผนที่ความคิด ในช่วงระหว่างที่มีการบรรยาย ด้วยเหตุนี้จึงใช้วิธีการบันทึกกันตามวิธีการปกติในการฟังบรรยาย. หลังจากนั้นจึงได้ทำ"แผนที่ความคิด"ขึ้นมา เมื่อย้อนทวนกลับไปดูบันทึกคำบรรยายดังกล่าว
2.3.3 Suits repeated reviews (การทบทวนซ้ำๆ)
โดยการย้อนกลับไปดู แผนที่ความคิด ของเราอยู่อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านี้ เราสามารถที่จะใช้พื้นที่ว่างเปล่าเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆใส่ลงไป และเพื่อขยายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับงานที่ครอบคลุมกิจกรรมนั้นๆได้
2.3.4 Better recall (ช่วยให้นึกถึงได้ดีกว่า)
โดยการมีข้อมูลทั้งหมดที่ครอบคลุมกิจกรรมที่เราได้มีส่วนเข้าร่วมในแผนที่ความคิด คนหลายคนพบว่า การทำเช่นนี้ได้ช่วยให้พวกเขาจดจำสิ่งที่ได้รับการพูดถึง หรือถูกครอบคลุมถึงได้
2.3.5 Prompts question (พรักพร้อมคำถาม)
เราควรจะตั้งคำถามบางคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับข้อมูลที่เราได้รับใน"แผนที่ความคิด"ของเรา. คำถามเหล่านี้จะต้องได้รับการกระทำไปตามเรื่องที่จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุดของสัญลักษณ์ของเราเองบนแผนที่ และทำให้มันพรักพร้อมมีคำตอบในเกือบทุกๆด้าน เท่าที่จะเป็นไปได้
2.3.6 Helps Exam preparation (ช่วยในการเตรียมตัวสอบ)
จินตนาการว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้าเผื่อว่าเรามี"แผนที่ความคิด"ชุดหนึ่งสำหรับการได้ฟังการบรรยายในแต่ละครั้งของแต่ละวิชา. แผนที่ความคิดเหล่านี้จะแสดงให้เราเห็นขอบเขตหรือพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเราต้องประสบกับความยุ่งยาก และการตามข้อมูลที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อที่จะสร้างความกระจ่างให้กับปัญหาต่างๆเหล่านี้. เรายังสามารถที่จะสร้าง แผนที่ความคิด ขึ้นมาฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาทั้งหมดก่อนการสอบ และนี่จะช่วยให้เราจำแนกแยกแยะแนวเรื่องหลักๆ และความเป็นไปได้ของคำถามในข้อสอบได้
สรุป : สมองของมนุษย์เรานั้นแตกต่างอย่างมากจากคอมพิวเตอร์ ขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงานในแบบของเส้นตรง สมองของมนุษย์ทำงานแบบสหสัมพันธ์ ซึ่งไม่เป็นไปในลักษณะเชิงเส้นมากนัก - กล่าวคือ มันมีการเปรียบเทียบ, ผสมรวมตัวกัน, และสังเคราะห์ข้อมูลดังที่มันเป็น. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงแสดงบทบาทเด่นอันหนึ่งในเกือบทุกๆหน้าที่ในการใช้ความคิด และแม้แต่ในคำพูดในตัวของมันเอง ก็ไม่มีการยกเว้น. คำโดดๆทุกๆคำ และไอเดียมีการเชื่อมโยงมากมายเกาะเกี่ยวกับไอเดียอื่นๆและแนวความคิดต่างๆ.
แผนที่ความคิดต่างๆ คือการเริ่มต้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนโครงสร้างความจำ. เมื่อ แผนที่ความคิดได้ถูกวาดหรือบันทึกลงไป มันก็ไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องถูกอ้างถึงอีกครั้ง เพราะแผนที่ความคิดจะช่วยรวบรวมข้อมูลต่างๆเอาไว้. เนื่องจากว่ามันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นจำนวนมากที่ต้องไปเกี่ยวข้อง ดังนั้นมันจึงสามารถที่จะสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง มันมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆและความสัมพันธ์กันใหม่ๆที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน ทุกๆเครื่องหมายที่อยู่ในแผนที่นั้นคือ สิ่งที่จะยังให้เกิดผลลัพธ์ตามมา กล่าวคือ มันจะเป็นศูนย์กลางของแผนที่อีกฉบับหนึ่ง
ศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ของ"แผนที่ความคิด" เป็นประโยชน์ในกิจกรรมของการระดมสมอง. คุณเพียงแต่ต้องเริ่มต้นด้วยพื้นฐานของปัญหาเอาไว้ที่ตรงกลาง และสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงและก่อเกิดไอเดียต่างๆจากมัน เพื่อที่จะไปถึงวิธีการหรือการเข้าถึงปัญหาที่เป็นไปได้และแตกต่างจำนวนมาก. โดยการนำเสนอความคิดและการรับรู้ของคุณลงในพื้นที่ว่าง และโดยการใช้สีและรูปภาพ, การมองเห็นได้ดีกว่าและความเชื่อมโยงใหม่ๆสามารถถูกทำขึ้นมาให้เห็นได้
แผนที่ความคิด คือหนทางหนึ่งของตัวแทนความคิดที่มีความเชื่อมโยงกันต่างๆของสัญลักษณ์ มากกว่าคำหรือตัวอักษรที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งบางทีดูแล้วมันคล้ายๆกับตัวหนอนที่เรียงๆกัน(ยากจะสังเกตได้ในทันทีว่าหมายถึงอะไร). ความคิดที่ได้รับการสร้างขึ้นเป็นรูปหรือสัญลักษณ์ เราจะมองเห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของมันได้เกือบจะในทันที และแผนที่ก็ยอมให้เราเขียนไอเดียต่างๆได้รวดเร็วกว่าที่จะแสดงมันออกมาเพียงการใช้คำหรือวลี
3. Brainstorming : ปฏิบัติการพายุสมอง
ศัพท์คำว่า"Brainstorming" เป็นคำที่ค่อนข้างคุ้นเคยกันทั่วไปแล้วในภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับคำว่า"การระดมสมอง"ในภาษาไทยที่เรารู้จักกันทั่วไป แต่คำว่า"ปฏิบัติการพายุสมอง"เป็นคำที่คิดขึ้นมาเล่นๆตามรูปศัพท์ เพื่อเรียกร้องความสนใจ(spectacular) ในเชิงความคิดสร้างสรรค์.
พื้นฐานการระดมสมองคือ ไอเดียที่ก่อเกิดขึ้นมาอันหนี่งในสถานการณ์ที่เรามารวมกันเป็นกลุ่มบนพื้นฐานหลักการของการไม่ตัดสินชั่วคราว(suspending judgement - หยุดพักการตัดสินชั่วคราว) - มันเป็นหลักการหนึ่งซึ่ง การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความพยายามที่มีประสิทธิผลอย่างมากทั้งในด้านส่วนตัวและกลุ่ม. "ช่วงตอนของการให้กำเนิดความคิด"(generation phase) ได้ถูกแยกออกจาก "ช่วงตอนของการตัดสินความคิด"(judgement phase of thinking).
ดังนั้น หลักการที่ต้องตระหนักในที่นี้เกี่ยวกับปฏิบัติการพายุสมองคือ
- Suspending Judgement (แขวนลอยการตัดสินเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งพิพากษาว่าใช้ได้หรือไม่ได้)
- การระดมสมอง เป็นขั้นตอนของการให้กำเนิดความคิด (generation phase)
ในหนังสือของ Michael Morgan เรื่อง Creative Workforce Innovation (นวัตกรรมเกี่ยวกับปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์) เขาได้ให้ข้อแนะนำต่างๆดังต่อไปนี้:
การระดมสมอง คือ กระบวนการอันหนึ่งที่ทำงานได้ดีที่สุดในรูปกลุ่มคน เมื่อเราได้ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ 4 ประการดังต่อไปนี้
1. การนิยามหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาได้อย่างชัดเจน
2. ให้ใครบางคนจดบันทึกไอเดียต่างๆทั้งหมดที่กลุ่มทำให้เกิดขึ้นมาลงไป(บนกระดาน)
3. มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่พอเหมาะ
4. ให้ใครสักคนดูแลรับผิดชอบ ที่จะช่วยผลักดันหรือบีบคั้นให้สิ่งต่อไปนี้ดำเนินไป
4.1 อย่าเพิ่งตัดสินไอเดียต่างๆที่เกิดขึ้นมา ให้แขวนลอยการตัดสินไว้ก่อน(suspending judgement)
4.2 ไอเดียทุกอย่างต้องได้รับการยอมรับและบันทึกลงไป(every idea is accepted and record)
4.3 สนับสนุนให้ผู้คนสร้างไอเดียขึ้นมาจากไอเดียต่างๆของคนอื่น(encourage people build on the ideas of others) หรือคิดอย่างลื่นไหลต่อจากไอเดียของคนอื่น โดยไม่ไปสะกัดกั้น
4.4 สนับสนุนไอเดียที่แปลกๆ และยอมเปิดทางให้กับไอเดียเหล่านั้น(encourage way-out and odd ideas)
ในการสร้างสรรค์ที่เอาจริงเอาจัง, Edward de Bono ได้อธิบายถึงการระดมสมองว่า เป็นวิธีการแบบจารีตอันหนึ่งในการใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างรอบคอบสุขุม โดยผลที่ตามมา ผู้คนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถกระทำเช่นนั้นได้ในกลุ่มคนต่างๆ. ทั้งหมดของไอเดียเกี่ยวกับการระดมสมองก็คือ ข้อสังเกต หรือข้อคิดเห็นของคนอื่นๆที่เกิดขึ้น มันจะมาช่วยกระตุ้นหรือปลุกเร้าไอเดียของตัวเราในลักษณะของปฏิกริยาลูกโซ่ของไอเดีย(a sort of chain reaction of ideas).
อันที่จริง กลุ่มคนไม่ใช่ความจำเป็นทั้งหมดสำหรับความคิดสร้างสรรค์ที่รอบคอบสุขุม, และความคิดสร้างสรรค์ที่จริงจัง(serious Creativity) ได้อธิบายถึงเทคนิคต่างๆสำหรับการที่ปัจเจกบุคคลที่จะใช้มันในการสร้างไอเดียต่างๆขึ้นมา. ในกลุ่มคน เราจะต้องฟังคนอื่น และเราอาจใช้เวลาทวนหรือย้ำไอเดียของเราเอง เพื่อคนในกลุ่มจะได้ให้ความสนใจอย่างเต็มที่. ความคิดในฐานะกลุ่มที่ใช้การระดมสมอง สามารถที่จะผลิตไอเดียขึ้นมาได้, แต่ความคิดของปัจเจกใช้เทคนิคต่างๆ อย่างเช่น ที่ได้รับการอธิบายเหล่านั้นโดย de Bono ก็ควรที่จะได้รับการนำมาใช้เช่นกัน.
De Bono เชื่อว่า จะเป็นการดีกว่า ที่ปัจเจกบุคคลทั้งหลายจะให้กำเนิดไอเดียต่างๆขึ้นมาและเป็นไปในทิศทางที่สดใหม่ไม่ซ้ำกัน. เมื่อไอเดียอันนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว กลุ่มอาจจะดีกว่าตรงที่สามารถช่วยพัฒนาไอเดียดังกล่าว และปฏิบัติการกับไอเดียนั้นๆไปในหลายๆทิศทางได้ดีกว่าผู้ให้กำเนิดมันขึ้นมา
สำหรับปฏิบัติการระดมสมองอันนี้ เราอาจนำไปประยุกต์ใช้กับ"แผนที่ความคิด" โดย"แผนที่ความคิด"จะทำหน้าที่บันทึกไอเดียของคนในกลุ่มลงไป ซึ่งจะทำให้เราเห็นความคิดใหม่ๆสดๆอย่างหลากหลาย และมองความเชื่อมโยงของมัน พร้อมทั้งช่วยกันหาทางเพิ่มเติมไอเดียเหล่านั้น. ในกรณีที่เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาหรือหาทางออกให้กับเรื่องบางเรื่อง หลังจากที่ทุกคนเสนอปัญหาและทางออกของตนแล้วลงในแผนที่ กลุ่มอาจมองเห็นประเด็นอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้โดยไม่คาดฝัน (การทำเช่นนี้ ควรทำไปในลักษณะผ่อนคลาย หรือทีเล่นทีจริง อันเป็นการปล่อยให้สมองซีกขวาสามารถปรากฎตัวออกมาได้)
4. Mind Mapping (2) : แผนที่ความคิด
[หมายเหตุ] เพื่อให้นักศึกษา และผู้อ่านได้รับข้อมูลกันอย่างสมบูรณ์ จึงแยกข้อมูลเรื่องที่ดูเหมือนจะซ้ำกับที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นเกี่ยวกับ "แผนที่ความคิด" ในอีก version หนึ่งออกมา ตามข้อมูลซึ่งเขียนขึ้นมาจากคนละคน และค้นมาจาก website คนละที่ แทนที่จะสังเคราะห์เนื้อหาไปรวมกันไว้ในเรื่องเดียวกัน. ดังนั้นจึงนำมาต่อท้ายในบทความนี้ โดยตั้งเป็นหัวข้อที่ 4 ชื่อเรื่องว่า "แผนที่ความคิด (2)"
4.1 What is a mind map ?
หลักการของ"แผนที่ความคิด" ประกอบด้วย "คำหลัก"ที่เป็นแกนกลาง(central word) หรือแนวความคิด(concept), ซึ่งรายรอบคำหลักนั้น เราจะบันทึกไอเดียหลักๆ(main ideas) 5-10 ไอเดียที่มีความสัมพันธ์กับคำหลักหรือแนวความคิดตรงกลาง. ถัดมา เราจะปฏิบัติการกับคำลูก(child words)(main ideas)พวกนั้นต่อมา คือ ในแต่ละคำลูกหรือไอเดียหลักที่ไปโยงกับแกนกลาง เราจะสร้างไอเดียที่สัมพันธ์กับมันขึ้นมาอีก 5-10 ไอเดีย.
ด้วยวิธีการเช่นนี้ ไอเดียที่สัมพันธ์กันจำนวนหนึ่ง สามารถที่จะได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ความพยายามทางความคิดจริงๆจังๆ (เน้นในที่นี้ คือ ให้มีลักษณะเป็นการเล่น เพราะการเล่นจะทำให้เราจินตนาการได้กว้างไกล และไปพ้นจากโลกของเหตุผล. จาการเล่นนี้ จะทำให้เราเกิดไอเดียใหม่สดขึ้นมาได้สะดวก).
4.2 What can you do with a mind map
การบันทึก (note taking) สำหรับวิธีการบันทึก"แผนที่ความคิด" มีประโยชน์หลายหลากเหนือกว่าระบบอื่นๆ
- คุณสามารถที่จะวางไอเดียใหม่ๆแต่ละอันลงในที่ทางที่เหมาะสม, โดยไม่ต้องคำนึงถึงระเบียบของการนำเสนอ
- สนับสนุนให้มีการลดทอนแต่ละแนวคิดลงมาเหลือเพียงคำสั้นๆ
- ผลรวมของ"แผนที่ความคิด"สามารถมองเห็นได้ด้วยตา และได้รับการจดจำโดยความทรงจำด้วยสายตา(visual memory) ซึ่งจะถูกแสดงหรือโชว์ออกมาเกือบจะสมบูรณ์
4.3 Creative Writing & Report Writing
แผนที่ความคิด จะยอมให้คุณผลิตไอเดียต่างๆจำนวนมากขึ้นมาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด, ในเวลาเดียวกัน ก็รวบรวมมันโดยวางแต่ละไอเดียต่อๆกันกับสิ่งที่มันถูกนำไปเกี่ยวโยงด้วย. อันนี้ได้สร้างเครื่องมือที่มีพลังอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับงานเขียนในเชิงสร้างสรรค์(creative writing) หรืองานเขียนรายงาน(report writing) ที่ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญต่อการบันทึกไอเดียทั้งหมดของคุณลงไปเป็นอันดับแรก. ต่อจากนั้น จะเป็นเรื่องซึ่งไม่สลักสำคัญเท่าใด ที่จะอ่านแผนที่ความคิดดังกล่าว และเขียนประโยคหรือย่อหน้าหนึ่งขึ้นมาบน"คำกุญแจหรือคำสำคัญ"(key word)แต่ละคำ
4.4 Studying the easy way
แทนที่จะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งในบางหัวข้อ, โอกาสต่อไปพยายามใช้วิธีการทำ แผนที่ความคิด ขณะที่คุณอ่านหนังสือ. ให้เขียนคำหลัก(central word)ลงไปกลางหน้ากระดาษที่เตรียมไว้ และต่อจากนั้นก็เริ่มอ่านหนังสือไป, ทุกครั้งที่คุณพบไอเดียบางอย่างที่มากระทบใจคุณในฐานะที่มันมีความสำคัญหรือความน่าสนใจ ให้เพิ่มไอเดียเหล่านั้นเข้าไปบนแผนที่ความคิดของคุณลงในที่ที่เหมาะสม
เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนั้นจบ คุณก็จะมีแผนที่ความคิดขึ้นมาแผ่นหนึ่งที่ได้สรุปทุกสิ่งทุกอย่างที่น่าสนใจและสาระสำคัญของหนังสือเอาไว้ เป็นไปได้ที่คุณจะเพิ่มเติมสิ่งต่างๆเข้าไปด้วยได้ ซึ่งคุณคิดขึ้นมาได้เองในช่วงระหว่างที่คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มนั้นอยู่. การกระทำในลักษณะสร้างสรรค์แผนที่ความคิด จะช่วยเพิ่มการรับรู้หรือซึมทราบเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านได้อย่างมาก และถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะทบทวนหัวข้อ ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็คือ ดูที่"แผนที่ความคิด"ดังกล่าว. ถ้าเผื่อว่าคุณต้องการจะเรียนรู้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ ก็พยายามเขียน"แผนที่ความคิด"อันนั้นขึ้นมาใหม่จากความทรงจำ. คุณจะพบว่ามันง่ายและสะดวกมาก
4.5 Studying as a group
คนกลุ่มหนึ่งสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เพื่อสร้าง แผนที่ความคิด ฉบับหนึ่งขึ้นมา โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :
1. ให้แต่ละคนเขียน"แผนที่ความคิด"ของตนขึ้นมา ในเรื่องที่เราต่างคนต่างทราบว่าจะเขียนเรื่องอะไร
2. จากนั้น เขียน"แผนที่ความคิดกลุ่ม" ที่รวมเอาสิ่งที่คุณรู้แล้วเข้าไป
3. ตัดสินว่า อะไรที่คุณต้องการเรียนรู้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนแผนที่ความคิดกลุ่มอันนี้
4. ศึกษาเนื้อหาของแต่ละคน, ซึ่งครอบคลุมขอบเขตความรู้อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด เพื่อความลึกของความรู้ หรือครอบคลุมพื้นที่ที่แตกต่างกันทั้งหมดด้วยความเร็วที่เหมาะสม. แต่ละคนทำ"แผนที่ความคิด"ของตนด้วยตัวเองให้สมบูรณ์.
5. รวมเป็นกลุ่มอีกครั้ง และสร้างแผนที่ความคิดของกลุ่ม"ที่เป็นฉบับสมบูรณ์สุดท้ายขึ้นมา.
4.6 Meeting & Think Tanks
เมื่อไรก็ตามที่คุณเขียนบางสิ่งบางอย่างลงไปบนกระดาน คุณก็ได้สูญเสียความคิดสร้างสรรค์อันนั้นที่ทุกๆคนมีไปทันที . ด้วยเหตุนี้ การพบปะกันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ควรจะเริ่มต้นโดยการให้คนทั้งหลายใช้เวลาส่วนตัวสักสองสามนาทีกับแผนที่ความคิด. ถัดจากนั้นก็มาถึงช่วงที่ปล่อยให้การพบปะกันดังกล่าวดำเนินไป โดยการสร้างแผนที่ความคิดร่วม(master mind map)อันหนึ่งขึ้นมาบนกระดาน โดยให้ไอเดียทุกๆไอเดียหรือข้อเสนอทุกอย่างได้รับการบันทึกลงไป และได้รับการวางลงในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อว่ามันจะได้ถูกนำมาสนทนากันได้ในช่วงเวลาของการใช้เหตุผล. ต้องอย่างลืมว่า ไอเดียทุกอย่างที่ถูกจดลงบนกระดานแผนที่ความคิดจะไม่ถูกเมินเฉย.
4.7 Giving a Talk
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดในที่ประชุม หรือเตรียมพูดในวาระโอกาสต่างๆ บันทึกชุดหนึ่งในรูปแบบของ"แผนที่ความคิด"ส่วนตัวฉบับหนึ่ง จะเป็นประโยชน์อย่างหลากหลาย มากกว่าวิธีช่วยเก็บความทรงจำในลักษณะอื่นๆ. หลักปฏิบัติสำหรับการเตรียมตัวอย่างง่ายๆมีดังต่อไปนี้
- Brief : (สั้นๆ) เพียงหน้ากระดาษหน้าเดียวเท่านั้นที่เป็นที่ต้องการ
- Not reading : (ไม่ต้องอ่าน) ไอเดียต่างๆถูกลดทอนลงมาเหลือเพียงคำโดดๆ คุณจะได้ไม่ต้องอ่านสิ่งที่จะพูด
- Flexibility : (ความยืดหยุ่น) ถ้าหากมีใครสักคนถามคำถามขึ้นมา คุณก็สามารถที่จะไปยังแผนที่ความคิดของคุณได้ในทันทีซึ่งสัมพันธ์กับคำถามอันนั้น และกลับไปยังที่ที่คุณอยู่ โดยไม่เสียเวลาตัวของคุณเองไปกับกองกระดาษหรือแผ่นการ์ดที่บันทึกเรื่องย่อที่หลายๆคนใช้วิธีการแบบนั้นในการเตรียมข้อมูล
4.8 Some model of mind maps
แบบจำลองแผนที่ความคิดบางอย่าง เพื่อนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเริ่มต้นทำ mind map เพื่อแก้ปัญหา
1. The six questions (คำถาม 6 ข้อ) what, when, where, why, who, how
1.1 ตั้งประเด็นหลักเอาไว้กลางหน้ากระดาษแนวนอน
1.2 จากตรงกลาง แยกออกไปหกกิ่ง และแต่ละกิ่งมีคำถาม เช่น กิ่งที่หนึ่งคำถาม what, กิ่งที่สอง, why
1.3 เช่น ตั้งประเด็นหลักว่า "จะมีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร"ไว้กลางหน้ากระดาษ. กิ่งที่หนึ่ง what ก็คือ ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร ในความคิดเรา, และคนอื่นว่าไว้อย่างไร ? กิ่งที่สอง why ให้เราตอบว่า ทำไมเราจึงต้องการความคิดสร้างสรรค์. กิ่งที่สาม how เราจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? ทำอย่างนี้เรื่อยๆไปทุกๆข้อ แล้วค่อยๆหาทางออกด้วยตนเองอย่างอิสระ
2. Life planing (การวางแผนชีวิต) อาจใช้กฎกงล้อ 8 ซี่ เกี่ยวกับชีวิต
2.1 เขียนคำว่า"การวางแผนชีวิต"ไว้กลางหน้ากระดาษแนวนอน
2.2 จากตรงกลาง แยกออกไป 8 กิ่ง และแต่ละกิ่งมีคำหลักดังนี้ อาชีพ, ครอบครัว, สมอง, การเงิน, สังคม, ชุมชน, ร่างกาย, จิตวิญญาน
2.3 เช่น ตั้งประเด็นว่า "แผนการเปลี่ยนงานอาชีพ". กิ่ง"อาชีพ" ให้เขียนทางเลือกอาชีพของเรา, กิ่ง"สมอง"ให้เขียนความพร้อมหรือความรู้ของเรา. กิ่ง"ครอบครัว"เขียนว่าครอบครัวเรายินยอม หรือส่งเสริมไหม, ต้องมีการย้ายครอบครัวไหม ? กิ่ง"สุขภาพ" อายุ สุขภาพกาย เหมาะสมไหม ? เหล่านี้เป็นต้น
ช่วงสัปดาห์ นี้ เป็นช่วงที่น้องหลายคนเข้าสู่สนามสอบ mid term กันแล้ว เป็นอย่างไรบ้างครับ ทำข้อสอบกันได้หริอเปล่าเอ่ย ยังไงก็สู้ๆนะ อย่าไปเครียด พี่ปอเอาใจช่วยเต็มที่เลย วันนี้พี่ปอไม่ได้มาเอาใจช่วยอย่างเดียว แต่ยังมี เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ที่ทำให้เราทำข้อสอบออกมาได้ A ทุกวิชา
น้องๆ คงเคยได้ยินได้ฟังเคล็ดลับการเรียน เคล็ดลับการทำข้อสอบ ให้ได้ A กันมามากมาย หลายเคล็ดลับ หลายกระบวนท่า เคล็ดลับนี้ก็เป็น 1 ในสุดยอดเคล็ดลับที่พี่ปอ แห่งสำนัก dek-d ภูมิใจนำเสนอ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราทุกคนนั้นน่าจะเคยเรียนรู้มาแล้วสมัยเด็กๆ นั่นคือ การทำ Mind Mapping
Mind Mapping คืออะไร
แผนที่ความคิด(Mind Mapping or Concept Mapping) เป็น การจดบันทึกแก่นของไอเดียและความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงไอเดียหรือความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งไอเดียหลักขึ้นมาที่กลางหน้ากระดาษ(แนวนอน-landscape)ก่อน แล้วบันทึกไอเดียต่างๆกระจายออกเป็นกิ่งๆ รายรอบออกจากศูนย์กลางของไอเดียหลักที่กลางหน้ากระดาษนั้น
แล้ว Mind Mapping เนี่ย มีประโยชน์ต่อการอ่านหนังสือสอบและการเรียนอย่างไรกัน ?
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Mind Map หรือ แผนที่ความคิดนั้น เป็นการจดบันทึก สิ่งต่างๆที่เราได้เรียน ได้รู้มา โดยจะจดไอเดียหลักๆ ลงไป ทำให้เราได้เห็นถึง ความคิดรวบยอด และได้เข้าใจถึงหลักการ ของบทเรียนนั้นๆมากขึ้น ที่สำคัญ ยังทำให้เราทบทวนเรื่องราวต่างๆที่เรียนมาได้ง่ายด้วย เพราะเราจด แต่สิ่งหลักๆลงไป ทำให้ไม่ต้องอ่านเยอะ น้องๆหลายคนอาจจะคิดว่า มันก็คล้ายๆกับ การโน้ตย่อ แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ครับ มันมีดีกว่าตรงที่ เราได้สรุป ส่วนหลักๆที่เราได้รู้มา แล้วเขียนลงไป มันจะทำให้เราได้คิด และเข้าใจมากขึ้นด้วย ไม่เชื่อลองทำดูเลย พี่ปอท้าพิสูจน์ อิอิ !!!
หลักการง่ายๆในการทำ Mind Mapping
- โฟกัส ลงไปที่ไอเดียต่างๆที่เป็นกุญแจสำคัญ โดยการจดลงไปที่กลางหน้ากระดาษด้วยคำพูดของเราเอง
- ต่อจากนั้นก็ขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยแต่ละกิ่งก็มีไอเดียของกิ่งนั้น หลังจากที่ได้ทำเช่นนี้ไปจนมากพอแล้วในขั้นต้น
- จากนั้นก็ตรวจตราดูไอเดียต่างๆที่สัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงไอเดียของแต่ละกิ่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน. การกระทำเช่นนี้ เรากำลังวาดแผนที่ความรู้(ความคิด, ไอเดีย) ในลักษณะที่จะช่วยให้เราเข้าใจและโยงประเด็นสำคัญ รวมถึงจดจำข้อมูลใหม่ๆได้
นอกจากนี้ ในการทำ Mind Map ทุกครั้ง ควร ใช้หลักที่ว่า เขียนแต่คำที่เป็น keyword หรือคำหลักลงไป ที่มาจากการสรุปรวบยอดความคิดของเรา
ทักษะอย่างหนึ่งของหัวหน้างานคือการเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง กระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถเก็บรายละเอียดของเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรอบด้าน มองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละส่วน และสามารถเข้าใจได้ง่ายคือการสร้าง Mind Map หรือแผนที่ความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการแตกแขนงของภาพกว้าง ๆ ไปสู่หัวข้อย่อยที่มีรายละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ในกระดาษแผ่นเดียว
ผมขอยกตัวอย่างการสร้าง Mind Map ด้วยเรื่องง่าย ๆ ดังนี้ : ผมต้องการทำ Blog ที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หากผมคิดแบบสะเปะสะปะ ก็จะมีชื่อสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ออกมาจากสมองมากมาย แต่ก็จะผสมปนเปไม่เป็นระเบียบและนำไปใช้งานต่อได้ยาก วิธีการทำ Mind Map คือเราอาจแบ่งสถานที่ท่องเที่ยวออกเป็นหมวดกว้าง ๆ ก่อน (วิธีการแบ่งนั้นแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายจะออกมาใกล้เคียงกัน) เช่น จากศูนย์กลางคือแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย - ผมแตกแขนงออกเป็นภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคกลาง, ภาคอีสาน, ภาคตะวันออก และภาคใต้ - จากแต่ละภาคผมแตกแขนงออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ - จากจังหวัดผมแตกแขนงออกเป็นประเภทของสถานที่ เช่น ทะเล, ภูเขา, น้ำตก, วัด, .. - จากประเภทของสถานที่ผมแตกออกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการ
ด้วยวิธีข้างต้น จะทำให้ผมสามารถรวบรวมข้อมูลได้โดยไม่ตกหล่น และสามารถนำการแบ่งสาขาที่ทำไว้แล้ว ไปจัดทำเป็นโครงสร้างของ Blog ได้ทันที ทั้งนี้วิธีการแบ่งสาขาจะแบ่งแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำ Mind Map เป็นหลัก ถ้าวัตถุประสงค์ต่างกันวิธีการแบ่งก็อาจจะไม่เหมือนกัน
เราสามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับการวางแผนงานได้เป็นอย่างดี เช่นทุกครั้งที่เราจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่เราจะต้องทำอะไรบ้าง ก็เขียนเป็น Mind Map ออกมา แล้วเราก็จะสามารถนำ Mind Map ตัวนี้เป็นต้นแบบไปใช้ได้ทุกครั้งที่เราออกผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงสามารถแบ่งงานให้ลูกน้องแต่ละคนทำงานตามแขนงที่เราแบ่งไว้แล้วได้โดยง่าย
อีกประการหนึ่งทีสำคัญคือ สมองของเราสามารถจดจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวอักษร หากเราสามารถแทนตัวอักษรใน Mind Map ด้วยรูปภาพแล้วล่ะก็จะช่วยให้เราสามารถจดจำความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ใน Mind Map ได้ดียิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทบาทของใครบ้างในการพัฒนาหลักสูตร


นับมาถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 4 ปี ผลการประเมินในบางส่วนที่ได้ศึกษามา พบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของไทยยังไม่พัฒนาไปถึงไหน ปัญหาที่พบ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะผู้จัดทำหลักสูตรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาไม่ชัดเจน เมื่อมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาก็ดำเนินการอย่างเร่งรีบในระยะเวลาอันสั้น ทำให้คณะครูในโรงเรียนขาดความเชื่อมั่นในความถูกต้อง เหมาะสม ของหลักสูตรตนเอง และยังพบว่าโรงเรียนจัดเวลาเรียนให้กับสาระเพิ่มเติมต่าง ๆ น้อย ทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนได้ ครูบางส่วนของแต่ละสถานศึกษาขาดความสนใจ และไม่ให้ความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเท่าที่ควร ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการและได้หลักสูตรสถานศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ สถานศึกษาจำนวนน้อยที่ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างถูกต้อง และโรงเรียนส่วนใหญ่ขาดการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือเชิญคณะกรรมการสถานศึกษามาเข้าร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา, 2545; หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7, 2545: 9-10)

จากประเด็นปัญหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคของการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 2 ประเด็นสำคัญ คือการขาดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานสร้างหลักสูตรสถานศึกษาของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา และการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งปัญหาทั้งสองประการส่งผลต่อคุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษาที่สร้างขึ้น นอกจากนี้จากการที่ผู้เขียนได้ลงไปร่วมมือกับครูในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ครูมีความเคยชินกับการรับหลักสูตรที่สำเร็จแล้วไปใช้ในการสอนมากกว่าการพัฒนาหลักสูตรด้วยตนเอง ดังนั้นความตั้งใจ หรือแรงจูงใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองจึงมีน้อย ขาดความร่วมมือที่จะมาทำงานร่วมกัน จะมีครูจำนวนน้อยที่ทุ่มเทให้กับงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เนื่องจากตนเองเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น เป็นฝ่ายวิชาการของโรงเรียน เป็นหัวหน้าหมวด หัวหน้าสาย หรือเป็นบุคคลที่มีคำสั่งให้ทำหลักสูตรสถานศึกษา

นอกจากนี้จากผลการวิจัยในปี พ.ศ. 2545 ของผู้เขียนเอง ที่ได้ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาร่วมกับครูในสถานศึกษา โดยใช้เวลาในการพัฒนาครูและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาร่วม 8 เดือน โดยมีการดำเนินการ 3 ส่วน คือ ระยะที่ 1 พัฒนาทีมงานให้กับคณะครูทั้งโรงเรียน โดยมีหลักสูตรฝึกอบรมให้ 3 วัน ระยะที่ 2 พัฒนาความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อบรมครู 3 วัน และระยะที่ 3 ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องอีก ประมาณ 7 เดือน ผลการวิจัย พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมหลังการทดลองและระยะติดตามผลอยู่ในระดับสูง มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาหลังการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง และคะแนนความสามารถในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาหลังการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2545: 152) ข้อค้นพบนี้ ได้แง่คิดว่า แม้ว่าจะพัฒนาหลักสูตรร่วมกับครูอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบปี ครูยังมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรและสามารถปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพได้เพียงระดับปานกลาง แล้วกระบวนการอบรมครูที่ใช้วิธีการขยายเครือข่าย แม่ไก่ อบรมลูกไก่ โดยใช้เวลาเพียง 3-5 วัน ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร? ครูจะมีความรู้และสามารถปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนได้ได้มีคุณภาพระดับใด? และผลที่ปรากฏก็คงจะประจักษ์กันแล้วว่าหลักสูตรสถานศึกษาในปัจจุบันโดยรวมมีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ต่างประเทศประสบปัญหามาก่อนแล้ว จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษากรณีตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละประเทศ พบปัญหาการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา เช่น ในประเทศออสเตรเลีย พบว่า ครูจำนวนมากขาดความสนใจและไม่เข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งครู ผู้ปกครอง และนักเรียนจำนวนมากขาดทักษะในการทำงานกลุ่มและการตัดสินใจร่วมกันในการปฏิบัติงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งในประเทศแคนาดาก็พบปัญหาการขาดทักษะของครูทางด้านประสบการณ์ และแรงจูงใจในการพัฒนาหลักสูตร เนื่องมาจากถูกควบคุมในการพัฒนาหลักสูตรโดยกลุ่มผู้มีความรู้และมีอำนาจเพียงไม่กี่คน และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในอังกฤษและเวลล์ ก็พบเช่นกันว่า บุคลากรในสถานศึกษาขาดทักษะการจัดการ ขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ขาดทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงาน ขาดการวางแผนด้านเวลาในการทำงาน ขาดทักษะในการสื่อสาร การให้คำปรึกษา การสนับสนุน การทบทวน การกำกับติดตามและการให้ผลย้อนกลับ รวมทั้งครูแต่ละคนมีข้อจำกัดด้านความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (Marsh et al., 1990: 7-20)

นอกจากนี้จากการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในประเทศฮ่องกง ของ Chan Chi Chiu (1996) พบว่า มีครูเพียงร้อยละ 50 เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และมีครูเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ที่อยู่ร่วมในการพัฒนาหลักสูตรโดยตลอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากครูขาดความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร เนื่องจากมีครูจำนวนน้อยที่รับการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งการขาดการเตรียมความพร้อมให้ครูในด้านการทำงานร่วมกัน ซึ่ง Skilbeck (1984: 16-19) และ Marsh et al. (1990: 58-66) สรุปปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในต่างประเทศ ไว้ดังนี้ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2545: 28-30)

1. ครูมีความรู้และความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรไม่เพียงพอในด้านการ

วางแผน ออกแบบ การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร ครูขาดความมั่นใจ และวิตกกังวลในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ดังนั้น จึงควรมีโปรแกรมพัฒนาความรู้และความสามารถของครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาหลักสูตรก่อนพัฒนาหลักสูตร

2.ครูขาดแรงจูงใจและมีเจตคติทางลบต่อการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนที่ล้มเหลว

เกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เนื่องมาจากการที่ครูมีเจตคติทางลบและเกิดการ

ต่อต้านจากครู ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะส่งเสริมและสนับสนุนบรรยากาศของโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น และมีการพัฒนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติ และแรงจูงใจที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร

3. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยโครงสร้าง

ของโรงเรียน และการบริหารจัดการเป็นสายงานบังคับบัญชาแบบดั้งเดิม

4. ขาดการวางแผนด้านเวลา การที่ไม่มีการวางแผนเรื่องเวลาในการทำงาน

พัฒนาหลักสูตร ไม่ลดคาบสอน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน การสะท้อนความคิดและการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเวลานี้เกี่ยวพันไปถึงเจตคติ และระดับแรงจูงใจของครู ครูและผู้มีส่วนร่วมบางส่วนจึงอาจมีปฏิกิริยาต่อต้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้

5. ขาดผู้เชี่ยวชาญสนับสนุน โดยขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะใน

การให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร

6. ขาดงบประมาณสนับสนุน ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเงินสนับสนุนช่วยเหลือครู

แต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร

7. บรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่ส่งเสริมการทำงาน เนื่องจากขาดผู้นำที่มี

ประสิทธิภาพและเกิดจากมีผู้ต่อต้านในการพัฒนาหลักสูตร

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน
บทวิเคราะห์ “การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน”

(School-based Management : SMB)

------------------

ความเป็นมา

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหรือการบริหารแบบฐานโรงเรียน (School based

Management) ที่นิยมเรียกกันว่า SBM นี้ เป็นแนวคิดในด้านการบริหารสถานศึกษา (School Management Approach) ที่ริเริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา (ต่อมาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เช่น แคนนาดา นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อิสราเอล) ในช่วงทศวรรษ 1980 (2523) เป็นรูปแบบการบริหารที่ยึด

โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ มีการกระจายอํานาจการบริหารการจัดการศึกษาไป

สู่โรงเรียนโดยตรง โดยให้โรงเรียนดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยตนเอง มีการกระจาย

อํานาจการบริหารจัดการศึกษาไปจากส่วนกลาง หรือจากเขตการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง ให้สถานศึกษามีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารโรงเรียนทั้งโรงเรียนในแบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ในการสั่งการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของโรงเรียน ทั้งด้านหลักสูตร การเงินการงบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป

สิ่งสําคัญในกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนแนวนี้ที่เด่นชัด คือ ระบบการทํางานแบบมีส่วนร่วม ที่ยึดบทบาทของผู้มีส่วนร่วมเป็นแบบหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ร่วมหุ้น(Partner) ของผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เป็นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รูปแบบที่นิยมใช้กันมากคือการบริหารโดยคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน หรือตอบสนองและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนของผู้ปกครอง และของชุมชนให้มากที่สุด

ต่อมา พ.ศ. 2542 ประเทศไทย ได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ยึดหลักเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

มาตรา 9 (๒) ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 9 (6) ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร

ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา

สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในประเด็น

ดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่มาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในเวลาต่อมานั่นเอง











-2-



2. ความหมายและหลักการ

ความหมายของ SBM

หมายถึง การบริหารและการจัดการศึกษาที่ยึดหน่วยปฏิบัติหรือสถานศึกษาเป็นสำคัญ หรือ

เป็นฐาน หรือตัวตั้ง โดยมีการกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปยังโรงเรียนหรือสถานศึกษา

ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปภายใต้บอร์ดคระกรรมการสถานศึกษาที่มาจากตัวแทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ

หลักการของ SBM

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้ จะถือว่าเป็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนก็ว่าได้ โดย

ทุกโรงเรียนจะต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ

1. หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา

2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

3. หลักการคืนอำนาจให้ประชาชน

4. หลักการบริหารโดยสถานศึกษาเอง

5. หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

6. มีการพัฒนาทั้งระบบ

7. การบริหารสามารถตรวจสอบได้

“หัวใจของการบริหารสถานศึกษาแบบ SBM คือ การบริหารจัดการตามความต้องการและ

ความจําเป็นของสถานศึกษานั้น ๆ โดยอาศัยคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่ได้ ร่วมกันวางแผน (PLAN) ร่วมตัดสินใจดำเนินการ (Doing) ร่วมกันตรวจสอบ (checking)และร่วมกัน

ประเมินและปรับปรุง (action) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร

จัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ”

การบริหารโรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจจะยึดรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น

1. การบริหารแบบเพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือยึดครูเป็นสำคัญ

2. การบริหารโดยการนำของผู้บริหาร หรือยึดผู้บริหารเป็นสำคัญ

3. การบริหารโดยคณะกรรมการผู้ปกครอง หรือยึดชุมชนเป็นสำคัญ และ

4. การบริหารโดยคณะกรรมการ หรือยึดครูและชุมชนเป็นสำคัญ







-3-



3. ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

มีปัจจัยดังต่อไปนี้

3.1 หน่วยงานส่วนกลาง (สพฐ.) และหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) : ต้อง

เปลี่ยนบทบาทในการทําหน้าที่การกําหนดนโยบายและแผน ด้านอํานวยการ ด้านการกํากับดูแลมาตรฐานด้านการสนับสนุนวิชาการ และการจัดสรรงบประมาณ

3.2. สถานศึกษา จะ ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากเดิมคอยรับคําสั่งจากหน่วยงานระดับสูงมาเป็น บริหารโดยการริเริ่มสร้างสรรค์งานด้วยสถานศึกษาเอง

3.3. ผู้บริหารสถานศึกษา : พัฒนาทักษะให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพมีภาวะผู้นําสามารถประสานความร่วมมือร่วมใจระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา มีวิสัยทัศน์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง

3.4. ครู : พัฒนาทักษะในหน้าที่ให้เป็นมืออาชีพ มีความสามารถในการปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.5. ผู้ปกครองและชุมขน : เข้าใจบทบาทของการมีส่วนร่วม(PARTICIPATION) ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาโดยตรง มีอํานาจหน้าที่ร่วมกัน



ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

น่าจะมีปัญหาและอุปสรรคดังต่อไปนี้

1. เวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ทําให้บุคลากรต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเวลาทํางานปกติแต่ละวัน โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ การทํางานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น

2. ความคาดหวัง โรงเรียนส่วนใหญ่จะกระตือรือร้นในการจัดทําโครงการและดําเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ อย่างมาก แต่เมื่อไม่ปรากฏผลสําเร็จรวดเร็วดังที่คาดหวัง ก็จะทําให้เกิดความท้อแท้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กระบวนกาiบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่จะเห็นผลนั้น ต้องใช้เวลานานพอสมควร สำหรับประเทศไทยเราเพราะสภาพบริบทแต่ละชุมชน และหมู่บ้านก็แตกต่างกัน

3. คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นถูกมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบมากมาย แต่บุคลากรที่เป็นคณะกรรมการยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่มากเช่น ขาดความรู้เรื่องการบริหารโรงเรียน สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่ ทั้งครูลูกจ้าง ผู้ปกครองหรือนักเรียน ต่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนน้อยมากทั้งด้านงบประมาณ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวก บุคลากร นโยบายและเรื่องอื่นๆ ที่จําเป็นสำหรับการตัดสินใจและการบริหารขาดทักษะกระบวนการกลุ่ม สมาชิกในคณะกรรมการโรงเรียนส่วนมากจะขาดทักษะเรื่องกระบวนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม การลดปัญหาความขัดแย้ง การแก้ปัญหาและทักษะอื่นๆ

-4-



ขาดความชัดเจนในบทบาท สมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง หรือของคณะกรรมการ ว่าจะมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ไม่แน่ใจว่า คณะกรรมการโรงเรียนที่ตนเองสังกัดนั้น เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือเป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตัดสินใจ

4. ความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและการปฏิบัติ สิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป คือ เรื่องที่ได้รับมอบอํานาจในการตัดสินใจไม่ใช่เรื่องที่ต้องการ เช่น ครูต้องการมีอํ านาจตัดสินใจเรื่องหลักสูตรและการเรียนการสอน แต่บางเขตการศึกษาก็ไม่ได้มอบอํานาจให้โรงเรียนดํ าเนินการเรื่องนี้อย่างแท้จริง ความขัดแย้งดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มครู ซึ่งโดยปกติจะให้ความสนใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนมากกว่าเรื่องอื่นๆ ดังนั้นหากมีประเด็นปัญหาที่ไม่ตรงกับความสนใจของตนเอง ครูก็มักผลักภาระในการตัดสินใจกลับไปให้ผู้บริหารโรงเรียนเช่นเคย

5. ขาดอิสระในการตัดสินใจ โรงเรียนบางแห่งถูกกําหนดมาจากหน่วยงานส่วนกลาง เช่น รัฐ เขตการศึกษา สหภาพครู ให้นํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมาใช้ในการบริหารโรงเรียน โดยไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของครู ประกอบกับการขาดแคลนงบประมาณ ระยะเวลาไม่เพียงพอ การอบรมไม่เพียงพอ ทําให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มนํานโยบายการบริหารแบบนี้ไปปฏิบัติแล้ว จากการวิจัยยังพบอีกว่า หากไม่ได้มีการมอบอํานาจการตัดสินใจที่แท้จริงไปให้แก่

โรงเรียน โรงเรียนก็เห็นว่า รูปแบบการบริหารแบบนี้เป็นเหมือน“เรื่องเก่าที่เคยทํามาแล้ว (Same old thing)” กล่าวคือ มีเพียงแต่รูปแบบแต่ขาดการปฏิบัติให้เกิดผลมีความเป็นรูปธรรมเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเท่านั้น

6. ไม่ได้ให้ความสําคัญเรื่องวิชาการเท่าที่ควร

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องที่เป็นหัวใจของโรงเรียน คือ เรื่องการจัดการเรียนการสอนและผลการเรียนของนักเรียนอย่างแท้จริงส่วนใหญ่จะไปเน้นเรื่องกิจกรรมพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการต่างๆ การออกระเบียบสําหรับการบริหารโรงเรียน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นต้น แทบจะไม่ปรากฏงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากนํารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใดดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาตํ่ากว่าปริญญาทุกแห่ง จะต้องใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทั้งนี้ ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ตามบทเฉพาะกลางในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรทําความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงแนวคิด หลักการ แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ควรทําการศึกษาวิจัยในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องการพัฒนาแบบจํ าลองหรือรูปแบบการบริหาร ทํ าการทดลองในลักษณะโครงการนําร่อง เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปโดยเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเทศชาติต่อไป





-5-

บทวิเคราะห์

แม้ว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จะส่งผลต่อการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนก็ตาม แต่การจะนำแนวคิดหรือหลักการบริหารรูปแบบนี้ไปใช้

ให้ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยปัจจัยที่เกื้อหนุนดังต่อไปนี้

1. การสร้างความตระหนักและความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะโรงเรียน

รัฐบาล เพราะผู้บริหารไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนเอง จำต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ปฏิบัติ

ตามแนวคิดและหลักการ SBM

2. พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบการบริหารแบบใหม่นี้

3. วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก จุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษาแล้วนำมากำหนด

เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์

4. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

5. เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาแสดงบทบาทให้มากที่สุด

7. จัดให้มีธรรมนูญโรงเรียนและระบบการประกันคุณภาพ

8. ให้คณะกรรมการสถานศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเป็นการ

สะท้อนถึงความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

8. การนำระบบข้อมูลสารสนเทศไปใช้



เงื่อนไขของความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. คัดเลือกผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ

2. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

3. ต้องมีการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาอย่างแท้จริง

4. ต้องเน้นการพัฒนาวิชาชีพในท้องถิ่น รวมทั้งปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเป็น

สมาชิกที่ของของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ควรปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มาก

5. มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันพอสมควร

6. ต้องมีระบบให้บำเหน็จรางวัลตามผลงานของสถานศึกษา

7. ต้องเน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นประการสำคัญ

8. ต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน

และเครือข่ายศิษย์เก่า