วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

การบริหารแบบมีส่วนร่วม

การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นความพยามที่จะจูงในให้ผู้ที่ร่วมปฏิบัติงานในองค์กร ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันพัฒนางานด้วยความเต็มใจ
ธงชัย สันติวงษ์ (2543 : 138 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม คือการที่ผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการใช้วิธีการแบบเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การให้มีส่วนร่วม ในการวางแผน ช่วยเสนอแนะข้อคิดเห็น เพื่อประกอบ การตัดสินใจ ของผู้บริหาร ตลอดจนการให้โอกาสและอิสระกับกลุ่มที่จะตัดสินใจ ทำงานเองภายใต้เป้าหมาย และนโยบายที่มอบหมายไว้ให้กว้าง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2540 : 16) ได้ให้ความหมายของ การบริหารแบบมีส่วนร่วมว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงาน ในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันในการพัฒนาปฏิบัติอยู่ด้วยความเต็มใจ
สมเดช สีแสง ( 2547 : 229) ได้สรุปความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วมไว้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management) เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงาน ทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ ภายในขอบเขตหน้าที่ของตน ถือว่าเป็นการบริหารที่ดี และเหมาะสมที่สุดกับคุณสมบัติของมนุษย์ในปัจจุบัน การบริหารแบบมีส่วนร่วมนี้เป็นหลักการสำคัญ ของการบริหารแบบใหม่ที่เรียกว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Control หรือ TQC)
จากความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าว จะเห็นว่ามีผู้ให้ความหมาย ไว้แตกต่างกันพอสรุปได้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้การจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผิดชอบ เพื่อการพัฒนาที่ปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงขึ้น
เทคนิคในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ธงชัย สันติวงษ์ (2543 : 138) กล่าวว่า วิธีปฏิบัติในการให้ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงาน มีส่วนร่วมในการบริหาร อาจทำได้ หลายวิธีแตกต่างกันสุดแต่ความเหมาะสม เช่น การจัดให้มีการร่วมประชุมออกความคิดเห็น การเปิดโอกาส ให้ผู้ปฏิบัต ิให้ข้อเสนอแนะให้การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ และให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการปรึกษาผลงานต่างๆ และทบทวนเป้าหมายหรือ จัดกลุ่มคุณภาพ กลุ่ม Q.C. เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันพิจารณา และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มงานด้วยกันเอง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 16-17) ได้ให้ความเห็นว่าเทคนิคที่สำคัญในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่
1. การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Commottee)2. การมีคณะกรรมการคอยให้คำแนะนำ3. การใช้แนวคิดของหมุดเชื่อมโยง (Linking Pin)3. การติดต่อสื่อสารแบบเปิดประตู4. การระดมความคิด5. การฝึกอบรมแบบต่าง ๆ6. การบริหารแบบยึดหลักวัตถุประสงค์ (MBO)
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( 2540 : 17 ) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมไว้ดังนี้
1. ช่วยสร้างความสามัคคีรวมพลังของบุคคลในองค์กร2. ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์กรทั้งหมด3. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการปฏิบัติงานและการย้ายงาน4. ช่วยลดความขัดแย้งและการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และให้สุขภาพจิตของคนในองค์กรดีขึ้น6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร7. สร้างสรรค์หลักการประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์กร8. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม9. ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร10 เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในการควบคุมงานให้ลดน้อยลงและ ทำให้ผลของงานดีขึ้น
สมเดช สีแสง ( 2547 : 230) ได้สรุปถึงประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมว่าประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานรวมกลุ่มกันใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญาและประสบการณ์ของแต่ละคนร่วมกันปรับปรุงงานในหน่วยงานของตน มีข้อดี คือ
1. ผู้ที่รู้ปัญหาดีที่สุด และสามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุดจะแก้ปัญหาได้ถูกต้องที่สุด2. บุคลากรได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และมีส่วนร่วมในการบริหาร3. ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจและทำงานเต็มความสามารถ
ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาในชุมชน
กองนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2543 ก : 91-95) ได้กล่าวถึงขั้นตอนกระบวนการ มีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาไว้ ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานก่อนดำเนินการ2. การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน3. การสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้มีส่วนร่วม4. การสร้างกิจกรรม5. การต่อรองเพื่อดำเนินกิจกรรม6. การร่วมกันดำเนินการ7. การร่วมกันประเมินผลการดำเนินการ8. การร่วมกันรับผลการดำเนินการ
การกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว การทำงานที่ยึดการทำงานแบบมีส่วนร่วมต้องมี การทำงานเป็นระบบทีม มีการทำงานเป็นกลุ่ม ที่มีการเน้นพฤติกรรมกระบวนการกลุ่ม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ที่ร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เน้นคุณภาพนักเรียน
รุ่ง แก้วแดง ( 2542 : 277-278) กล่าวถึงแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชม และนักวิชาการ ในหนังสือปฏิวัติการศึกษาไทยว่า การจัดการศึกษาเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองจึงต้องกระจายความรับผิดชอบไปให้ผู้ปกครอง ต้องส่งเสริมให้มีสมาคมผู้ปกครอง (Parent teachers Association) หรือ PTA ในทุกสถานศึกษาเพื่อให้มีบทบาทความร่วมมือ ด้านวิชาการกิจการนักเรียน สามารถแสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ปกครอง และผ่านผู้แทน ที่อยู่ในคณะกรรมการโรงเรียน เป็นวิธีที่ให้ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น เอกสารอ้างอิงธงชัย สันติวงษ์. (2543) หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน จำกัด (มาหาชน). สมเดช สีแสง. ( 2547 ) . คู่มือมือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ . (2540). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาหมวด 2 บริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ . (2543 ก ). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ . กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ .

อ้างอิงมาจาก http://www.krukeng.ob.tc/kd1/Participation%20Management.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น