วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาวะผู้นำการมีส่วนร่วม


ความสนใจเรื่องภาวะผู้นำได้เพิ่มขึ้นในช่วงต้นๆ ของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีภาวะผู้นำในช่วงเริ่มแรกจะมุ่งเน้นที่ความแตกต่างของคุณภาพของผู้นำ และของสมาชิก ในขณะที่ทฤษฎีที่ตามมาจะมองไปที่ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์ประกอบด้านสถานการณ์และระดับทักษะ ในขณะที่ทฤษฎีภาวะผู้นำที่แตกต่างกันจะเกิดขึ้นทฤษฎีทั้งหลายเหล่านี้จะ สามารถจัดให้อยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งของทฤษฎี 8 ทฤษฎีดังต่อไปนี้
ทฤษฎีที่ 1 Great Man Theory ทฤษฎีนี้ถือว่าศักยภาพของภาวะผู้นำเป็นเรื่องของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นมาแต่กำเนิดไม่ใช่สร้างทีหลัง ทฤษฎีนี้มักจะฉายภาพผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในลักษณะที่เป็นวีรบุรุษ เทพนิยาย และคำว่าผู้ยิ่งใหญ่ดังกล่าวแล้ว ถูกนำมาใช้เนื่องจากในช่วงเวลานั้นภาวะผู้นำมักจะถูกคิดว่าเป็นลักษณะเบื้อง ต้นของผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะผู้นำทางด้านการทหาร
ทฤษฎีที่ 2 Trait Theory มีความคล้ายคลึงบางประการกับทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ ทฤษฎีคุณลักษณะนี้ถือว่า บุคคลจะได้รับคุณลักษณะบางประการซึ่งทำให้เขามีความเหมาะสมกับภาวะผู้นำ ทฤษฎีลักษณะนี้มักจะแยกแยะบุคลิกภาพบางอย่าง หรือคุณลักษณะทางด้านพฤติกรรมซึ่งเป็นของผู้นำแต่ถ้าลักษณะบางประการเป็น ลักษณะที่สำคัญของภาวะผู้นำ เราจะอธิบายได้อย่างไรว่าบุคคลนั้นมีลักษณะดังกล่าวแล้วมิได้เป็นผู้นำ คำถามนี้จึงเป็นสิ่งที่ยุ่งยากประการหนึ่งที่ใช้อธิบายภาวะผู้นำ
ทฤษฎีที่ 3 Contingency Theory เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงความเป็นผู้นำ โดยมุ่งเน้นที่ตัวแปรบางอย่างที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเป็นตัว กำหนดว่า รูปแบบเฉพาะของภาวะผู้นำอะไรที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น สืบเนื่องจากทฤษฎีนี้ ไม่มีรูปแบบภาวะผู้นำใดที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกสถานการณ์ ความสำเร็จทั้งหลายขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายๆ ด้าน ได้แก่ รูปแบบภาวะผู้นำคุณภาพสมาชิก และสถานการณ์ในด้านต่างๆ
ทฤษฎีที่ 4 Situational Theory ทฤษฎีนี้นำเสนอว่า ผู้นำทั้งหลายจะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่สุดโดยมีพื้นฐานมาจากตัวแปรด้าน สถานการณ์ รูปแบบของภาวะผู้นำที่แตกต่างกันนั้น อาจจะมีความเหมาะสมมากกว่าสำหรับประเภทของการตัดสินใจบางอย่าง
ทฤษฎีที่ 5 Behavioral Theory ทฤษฎีภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมจะมีพื้นฐานขึ้นอยู่กับความเชื่อว่าผู้นำที่ยิ่ง ใหญ่จะได้รับการพัฒนามา มิใช่ติดตัวมาแต่กำเนิด รากฐานนี้มาจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีภาวะผู้นำนี้ให้ความสำคัญกับการกระทำของผู้นำ มิใช่เรื่องคุณภาพทางด้านจิตใจหรือสภาวะภายในของบุคคล ตามทฤษฎีนี้บุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำได้โดยผ่านจากกระบวนการการสอน และการสังเกต
ทฤษฎีที่ 6 Participative Theory ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมได้เสนอแนะว่าแบบแผนภาวะผู้นำในอุดมคตินี้ เป็นแบบแผนที่ให้การยอมรับว่าสิ่งที่บุคคลอื่นให้ความร่วมมือมาจะต้องนำมา พิจารณา ผู้นำเหล่านี้จะส่งเสริมความร่วมมือและการช่วยเหลือจากสมาชิกของกลุ่ม และเพื่อช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีความรู้สึกมีความหมายและผูกพันต่อกระบวนการ ตัดสินใจอย่างไรก็ตาม ผู้นำทฤษฎีความร่วมมือนี้จะเก็บรักษาสิ่งที่ถูกต้องไว้แต่ในขณะเดียวก็ อนุญาตให้สมาชิกมีส่วนร่วม
ทฤษฎีที่ 7 Management Theory ทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ มุ่งเน้นที่บทบาทของผู้นิเทศ และการปฏิบัติของกลุ่ม โดยมีพื้นฐานของระบบการให้รางวัลและการลงโทษ ทฤษฎีบริหารจัดการถูกนำมาใช้เสมอในเชิงธุรกิจ เมื่อพนักงานประสบความสำเร็จเขาก็จะได้รับรางวัล แต่หากเมื่อไหร่ก็ตามเขาผิดพลาดพนักงานก็จะต้องถูกลงโทษ
ทฤษฎีที่ 8 Relationship Theory ทฤษฎีสัมพันธภาพมุ่งที่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้นำกับสมาชิก ผู้นำเหล่านี้จูงใจและกระตุ้นบุคคลโดยการช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มให้เห็นถึง ความสำคัญและความดีของภารกิจในการปฏิบัติงาน ผู้นำเหล่านี้จะสนใจที่ผลงานของสมาชิก แต่ต้องการให้พนักงานแต่ละคนเติมเต็มศักยภาพของตนเองด้วย ผู้นำเหล่านี้มักจะมีมาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมสูง
ในฐานะผู้นำของทีมการขาย ควรจะยอมรับว่าท่านต้องมีภาวะผู้นำสูงเพื่อจะนำกลุ่มของท่านให้ประสบความ สำเร็จในการทำงาน ดังนั้น ควรจะทำความเข้าใจว่าตนเองมีภาวะผู้นำหรือไม่อย่างไร ตลอดจนตรวจสอบความเชื่อเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีภาวะผู้นำ ด้วยในที่สุดผู้นำทั้งหลายก็ควรจะรู้ว่า ภาวะผู้นำเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีภาวะผู้นำกี่ประเภท และจะทำอย่างไรที่จะใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จของการปฏิบัติงานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น